หลังจากที่พบสารตกค้างในผัก ผลไม้ คุณพ่อ คุณแม่คงอยากทราบว่าจะล้างผัก ผลไม้อย่างไรให้ปลอดภัยกับลูกน้อยที่สุด Amarin Baby & Kids มีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับวิธีการ “ล้างผัก” จากคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล (โรงพยาบาลศิริราช) มาฝากกันค่ะ
ล้างผัก ผลไม้ ให้ปลอดภัย
รศ.ดร.สมพนธ์ วรรณวิมลรักษ์ หัวหน้าโครงการวิจัยผักและผลไม้ที่ปลอดภัยเพื่อครัวโลก ศูนย์วิจัยพัฒนานวัตกรรม กล่าวว่า องค์การอนามัยโลกระบุว่า คนเราต้องรับประทานผัก และผลไม้อย่างน้อง 4 ขีด หรือ 400 กรัม
ถ้ารับประทานครบที่ระบุไว้ ยืนยันได้ว่าช่วยป้องกันโรคหัวใจ โรคมะเร็ง
แต่ผัก ผลไม้ที่เราซื้อมารับประทานอยู่ทุกวันนี้ ไม่ได้ปลอดภัยอย่างที่เราคิด มีการปนเปื้อน
โดยเฉพาะการปนเปื้อนจากสารตกค้างจากยาฆ่าแมลง เนื่องจากเกษตรกรใช้ในการเกษตรกรรม มีข่าวลือว่าผักกระหล่ำปลีมีการปนเปื้อนมาก แต่ก็ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ เมื่อมีทำการวิจัยแล้วพบว่ามีตัวเลขที่น่าวิตก เพราะผักไทยที่พบ พบว่าปนเปื้อนถึงระดับ 90-100% ซึ่งพบในผักทุกชนิดที่มีการปนเปื้อน เช่น ผักคะน้า ผักกะหล่ำปลี ตามตลาดสด หรือซุปเปอร์มาร์เก็ต พบว่าปนเปื้อนทั้งหมด
จากการเก็บข้อมูลจากหลายจังหวัด 100 แห่ง
ในระยะเวลา 8-12 เดือน ยิ่งมีสารชนิดนี้มากเท่าไหร่ โอกาสที่เราจะได้รับอันตราย ย่อมมีมากเท่านั้น
ตัวอย่างผักที่มีสารปนเปื้อน
1.ผักคะน้า พบสารปนเปื้อนมากถึง 12 ชนิด
2.มังคุด พบสารปนเปื้อนมากถึง 20 ชนิด
3.ส้ม พบสารปนเปื้อนมากถึง 21 ชนิด
ราคาไม่ได้รับประกันเลยว่า ผักชนิดนั้นปลอดภัย เพราะจากการทดลอง โดยการเก็บผักจากตลาดสด และซุปเปอร์มาร์เก็ต ที่เขียนว่า “ผักปลอดสารพิษ” “ผักปลอดภัย” “ผักอินทรีย์” กลับพบว่ามีสารพิษในปริมารสูงมาก และมีสารตกค้างมากเท่าๆ กับที่พบในตลาดสด