ควรพักรักษาที่โรงพยาบาลเมื่อใด
1.มีแผลไหม้บริเวณกว้าง
2.เป็นเด็กอายุน้อยกว่า 5 ขวบ
3.ได้รับอุบัติเหตุจากไฟฟ้าแรงสูง
4.มีแผลไหม้ระดับ 3 เป็นวงรอบอวัยวะ เช่น รอบนิ้ว รอบแขนขา รอบลำตัว
5.มีปัญหาสุขภาพ ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น เบาหวาน หรือกินยากดภูมิคุ้มกัน
การดูแลหลังการรักษา
1.หลีกเลี่ยงการสัมผัสฝุ่นผง หรืออะไรก็ตามที่ทำให้ระคายเคือง ห้ามสัมผัสสัตว์ทุกชนิด อาจติดเชื้อได้
2.รับประทานอาหารโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ เพื่อการสร้างเนื้อเยื่อ ให้บาดแผลสมานเร็วขึ้น
3.ไม่ควรเจาะตุ่มพุพอง ทำความสะอาดแผลไหม้ด้วยน้ำเกลือล้างแผล
4.หมั่นทายา และทานยาตามคุณหมอสั่ง ทำแผลทุก 24-48 ชั่วโมง และเปลี่ยนผ้าพันแผล
การป้องกัน
อุบัติเหตุไฟไหม้ น้ำร้อนลวก เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยในชีวิตประจำวัน ควรระมัดระวังและไม่ประมาทขณะใช้ของร้อนหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ในบ้านที่มีเด็กเล็กควรระมักระวัง ไม่วางวัสดุที่มีความร้อนไว้ใกล้มือเด็ก เพราะเด็กอาจเอื้อมถึงได้
เครดิต: สมาชิกแหล่งรวบรวมคุณแม่ตั้งครรภ์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้(mom), โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์, รศ.นพ.พรพรหม เมืองแมน ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
อ่านเพิ่มเติม คลิก!!
น้ำร้อนลวกลูกน้อย อุบัติเหตุที่พ่อแม่ควรระวัง
ปฐมพยาบาลลูกโดนน้ำร้อนลวกหรือของร้อน – easy baby & kids
วิธีช่วยเหลือลูกน้อย เมื่ออยู่ในสถานการณ์เสี่ยงตาย