นวดกดจุดลูกน้อย เพิ่มสูง-แก้ลูกไม่กินข้าว ตามแพทย์จีน - amarinbabyandkids
นวดกดจุดลูกน้อย

นวดกดจุดลูกน้อย เพิ่มสูง-แก้ลูกไม่กินข้าว ตามแพทย์จีน

Alternative Textaccount_circle
event
นวดกดจุดลูกน้อย
นวดกดจุดลูกน้อย

การนวดกดจุดแก้ไขปัญหาลูกน้อยไม่ทานข้าว

ปัญหาลูกน้อยไม่ทานข้าวเป็นปัญหาที่พบบ่อยในเด็ก 1-7 ขวบ สาเหตุหลักมาจากความกังวลของพ่อแม่

  • กลัวลูกได้สารอาหารไม่เพียงพอ เข้าใจว่าเด็กอ้วนคือเด็กแข็งแรงน่ารัก
  • คิดว่าลูกน้ำหนักน้อยเกินไป ทั้งที่น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะเทียบกับเด็กที่อ้วนกว่าในอายุที่เท่ากัน
  • ไม่รู้ว่าเด็กหลัง 1 ขวบขึ้นไปน้ำหนักจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเพียงปีละ 2 กิโลกรัม และสนใจการกินน้อยลง
  • ไม่รู้ว่าลูกควรรับประทานอาหารปริมาณเท่าไหร่ดี ไม่รู้ว่าเด็กแต่ละคนมีความต้องการอาหารแตกต่างกัน และขึ้นอยู่กับอารมณ์ อาการเจ็บป่วย สภาวะอากาศ และสภาพจิตใจอีกด้วย

banner300x250

การแก้ปัญหาที่ถูกต้อง ปกติแล้วร่างกายของเด็กจะมีกลไกที่ทำให้เกิดความหิว เมื่อร่างกายใช้พลังงาน ระดับน้ำตาลในเลือดจะลดลง เป็นสัญญาณกระตุ้นความอิ่ม ความหิว ทำให้หลั่งน้ำย่อยบีบตัว ทำให้ท้องร้อง และเกิดความอยากอาหาร

1.ให้คุณพ่อคุณแม่ลองเช็คน้ำหนัก ส่วนสูงของลูก ถ้าลูกอยู่ในเกณฑ์ปกติ ให้ลูกรับประทานอาหารอย่างพอเพียงตามความต้องการของร่างกายก็เพียงพอแล้ว

2.ไม่ใช้วิธี ดุ ด่า บังคับจิตใจลูกให้รับประทานอาหารมากขึ้น งดขนม ของว่างจุกจิก หรือนมก่อนมื้ออาหารหลัก

3.ฝึกรับประทานอาหารพร้อมๆ กันในครอบครัว งดกิจกรรม หรือดูทีวีระหว่างรับประทานอาหาร สังเกตอาหารรสที่ลูกชอบ เพราะลูกน้อยสามารถแยกรสอาหารได้ตั้งแต่อายุไม่กี่สัปดาห์

นวดกดจุดลูกน้อย

เครดิตภาพ: www.poskhao.com/2016/02/blog-post_18.html

วิธีการนวดกดจุดคือ การนวดทุยหนา สามารถนวดได้ตั้งแต่เด็กอายุ 1-7 ขวบ โดยการนวดครั้งละ 4 ท่า ท่าละ 1-3 นาที (เด็กเล็ก 1-4 ขวบ ควรนวดเบาๆ ท่าละ 30 วินาที) วันละ 1 ครั้ง อาทิตย์ละ 3 วัน อาทิตย์เว้นอาทิตย์ หรืองดกระตุ้นเมื่อไม่แสดงอาการอีก

***หมายเหตุ การนวดในวิดีโอที่จะดูต่อไปนี้ เป็นประสบการณ์ของคุณหมอ และลูกน้อยวัย 3 ขวบ อาจไม่เหมาะกับเด็กทุกวัย หรือทุกคน โปรดใช้วิจารณญาณ หรือปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนปฏิบัติด้วยตัวเอง

(คลิป vdo กดที่รูปเพื่อรับชม) – แชร์ได้ค่ะ"ปัญหาลูกน้อยไม่ทานข้าว" "คุณหมอค่ะ มีวิธีแก้ปัญหาลูกไม่ทานข้าวไหมค่ะ?" ปัญหาลูกไม่ทานข้าวจัดเป็นปัญหาที่พบบ่อยมาก ในเด็กวัย1-7ปี สาเหตุหลักนั้นมาจาก"ความวิตกกังวล"ของผู้ปกครอง เช่น 1)กลัวลูกได้สารอาหารไม่เพียงพอ2)เข้าใจว่าเด็กอ้วนคือเด็กแข็งแรงน่ารัก3)คิดว่าลูกน้ำหนักน้อยเกินไป ทั้งๆที่น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะไปเปรียบเทียบกับเด็กที่อ้วนกว่าในอายุเท่ากัน4)ไม่รู้ว่าเด็กหลัง1ขวบขึ้นไป น้ำหนักเฉลี่ยเพิ่มขึ้นปีละ2กิโลกรัม และเด็กจะสนใจการกินน้อยลง5)ไม่รู้ว่าลูกควรกินอาหารปริมาณเท่าไหร่6)ไม่รู้ว่าเด็กแต่ละคนมีความต้องการอาหารต่างกัน แถมยังขึ้นกับอารมณ์ ความเจ็บป่วย สภาวะอากาศ สภาพจิตใจอีกด้วย..แนวทางแก้ไข้ที่ถูกต้อง:ปกติแล้วร่างกายเด็กจะมีกลไกที่ทำให้เกิดความหิว เกิดขึ้นจากเมื่อร่างกายใช้พลังงาน ระดับน้ำตาลในเลือดจะน้อยลง เป็นสัญญาณที่กระตุ้น "ศูนย์ควบคุมความอิ่ม-ความหิว" ทำให้หลั่งน้ำย่อย ลำไส้บีบตัว ท้องร้อง เกิดความอยากอาหารมากขึ้น1)ให้ผู้ปกครองกลับไป สำรวจเช็คกราฟค่าความสูงการเจริญเติบโต และน้ำหนัก หากลูกอยู่ในเกณฑ์ปกติ ให้ปรับทัศนะของผู้ปกครองเอง ว่าลูกทานอาหารได้อย่างเพียงพอตามความต้องการของร่างกายเขาแล้ว2)ไม่ใช้วิธี ดุ ด่า ว่า บังคับจิตใจลูกให้ทานข้าวมากขึ้น3)งดขนมและของว่างจุกจิก หรือ นม ก่อนมื้ออาหารหลัก3มื้อ4)ฝึกนั่งทานข้าวพร้อมๆกับคนในบ้าน และงดทำกิจกรรม หรือดูทีวี ระหว่างทานข้าว 5)สังเกตอาหารรสที่เด็กชอบ เด็กๆสามารถแยกรสอาหารได้ตั้งแต่อายุไม่กี่สัปดาห์ หมอออมแนะนำว่า ลองปรับเปลี่ยนพฤฒิกรรมเหล่านี้ก่อน จากนั้นจึงค่อยเสริมการนวดทุยหนากระตุ้นความอยากอาหารเด็ก ตามคลิปของหมอและลูกใน VDO ด้านล่างค่ะ *นวดทุยหนาได้ในเด็ก1-7ปี ทำครั้งละ4ท่า ท่าละ1-3นาที (เด็กเล็ก1-4ขวบ ให้ทำเบาๆ ใช้เวลาท่าละ30วินาที) วันละ1ครั้ง อาทิตย์ละ3วัน ทำอาทิตย์เว้นอาทิตย์ หรือ งดกระตุ้นเมื่อไม่แสดงอาการอีกศาสตร์การแพทย์แผนจีน ได้รวมถึงสาขาการนวดทุยหนา – วิดีโอสาธิตการนวดทุยหนากดจุดนี้เป็นประสบการณ์ของแพทย์และบุตรวัย3ปี อาจไม่ได้เหมาะสำหรับเด็กทุกวัยหรือทุกคน โปรดใช้วิจารณณาณหรือปรึกษาแพทย์ประจำตัวของท่านก่อนปฏิบัติด้วยตัวเอง…ด้วยความปรารถนาดีจากเพจหมอออม แพทย์จีนปักกิ่ง 北京中医药大学แหล่งข้อมูลCr.ผศ.นพ.ชาตรี วิฑูรชาติ.ท่านใดสนใจข้อมูลสุขภาพและความงาม ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีนฉบับต้นตำรับมหาวิทยาลัยการแพทย์จีนอันดับ1 กดติดตามได้ที่ลิ้งค์ข้างล่างค่ะ www.facebook.com/thaninthorn.orm.แมนดารินคลินิกฝังเข็มของคุณหมอออมwww.facebook.com/mandarin.clinic.bkk.LINE@ อีกช่องทางพูดคุยสอบถามคุณหมอค่ะhttp://line.me/ti/p/%40mandarinclinic.

โพสต์โดย หมอออม แพทย์จีนปักกิ่ง 北京中医药大学 บน 30 กรกฎาคม 2016

เครดิต: หมอออม แพทย์จีนปักกิ่ง

Save

Save

Save

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up