การรักษา
คุณหมอจะพบว่าทารกอาจสำลักขี้เทาได้เมื่อน้ำคร่ำเดินแล้ว โดยสังเกตจากลักษณะน้ำคร่ำเหมือนมีขี้เทาปน เมื่อทราบว่ามีขี้เทาออกมาแล้ว จะเริ่มช่วยเหลือเมื่อลูกคลอดออกมาด้วยการให้ออกซิเจน และทำการดูดน้ำคร่ำที่ปนเปื้อนขี้เทาที่อาจค้างในปาก และลำคอด้วยสายยาง เพื่อไม่ให้สำลักน้ำคร่ำมากขึ้น ถ้าไม่รุนแรงอาการก็จะดีขึ้น ถ้าติดเชื้อต้องให้ยาปฏิชีวนะ แต่ถ้ามีอาการรุนแรงมากคือมีขี้เทาอุดกั้นจนไม่สามารถหายใจได้ จำเป็นต้องให้เครื่องช่วยหายใจ และดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะเด็กอาจเสียชีวิตได้
เครดิตภาพ: slideshare.net
การป้องกันการสำลักขี้เทา
คุณแม่ควรฝากครรภ์ และตรวจครรภ์ตั้งแต่เนิ่นๆ คุณหมอจะได้ดูแลอย่างใกล้ชิด และตรวจสอบความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น จะได้มีการวางแผนการรักษาเอาไว้ล่วงหน้า เพื่อลดความรุนแรงให้น้อยลง คุณแม่ต้องดูแลสุขภาพให้ดี เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่อาจส่งผลกับลูกได้
เครดิต:ผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิงพิมล ศรีสุภาพ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, แพทย์หญิงชลธิศ นาคา องค์กรแพทย์โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช, ใกล้มิตรชิดหมอ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่