ยาลดไข้เด็ก แตกต่างกันยังไง แบบไหนที่เหมาะกับลูกน้อย

event

ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย คุณพ่อคุณแม่อาจต้องดูแลสุขภาพลูกเป็นพิเศษ เมื่อลูกป่วย การดูแลเบื้องต้นคือเช็ดตัวลูกให้ถูกวิธี และให้ทานพาราเซตามอล เพื่อบรรเทาอาการ โดยทั่วไปขนาดการทาน ยาลดไข้เด็ก คือ 10–15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวเด็ก (กิโลกรัม)

เมื่อไปซื้อยาคุณพ่อคุณแม่ควรปรึกษาเภสัชกร บอกข้อมูลเบื้องต้น เช่น อายุ น้ำหนักของลูกน้อย เพื่อให้เภสัชกรแนะนำขนาดการทานยาพาราเซตามอลที่ถูกต้อง พร้อมกับดูข้อบ่งใช้ที่แนบมาในบรรจุภัณฑ์ของยา ปัจจุบันยาลดไข้เด็กมีปริมาณตัวยาและความแรงที่ต่างกันสำหรับเด็กในแต่ละช่วงอายุ เพื่อความสะดวกในการทานยาของเด็กๆ ในปริมาณที่เหมาะสม เช่น

 

ยาลดไข้เด็ก แบบน้ำ มีหลายยี่ห้อให้คุณพ่อคุณแม่เลือก แต่ละยี่ห้อเป็นอย่างไร ทีมแม่ ABK จึงนำยาลดไข้แต่ละแบรนด์มาเปรียบเทียบให้ดูกันค่ะ โดยอิงจากข้อมูลบนกล่อง และเทยาน้ำออกมา เพื่อสังเกตความแตกต่างของแต่ละยี่ห้อค่ะ

ยาลดไข้เด็ก Tempra

เทมปร้า คิดส์

ยาพาราเซตามอลชนิดน้ำเชื่อมใส มีพาราเซตามอล 120 มก. / 5 มล. ขวดพลาสติกโปร่งแสง พร้อมถ้วยตวง

 

ยาลดไข้เด็ก ซาร่า

ซาร่า

ยาพาราเซตามอลชนิดน้ำแขวนตะกอน มีพาราเซตามอล 120 มก. / 5 มล. ขวดแก้วสีชา พร้อมช้อนตวงยา

 

ยาลดไข้เด็ก พานาดอล

พานาดอล

ยาพาราเซตามอลชนิดน้ำแขวนตะกอน มีพาราเซตามอล 120 มก. / 5 มล. ขวดพลาสติกโปร่งแสง พร้อมถ้วยตวง

 

ยาลดไข้เด็ก ไทลินอล

ไทลินอล สำหรับเด็ก

ยาพาราเซตามอลชนิดน้ำแขวนตะกอน มีพาราเซตามอล 160 มก. / 5 มล. ขวดพลาสติกสีขาวทึบ พร้อมถ้วยตวง

 

โลเทมป์

โลเทมป์ ฟอร์ท

ยาพาราเซตามอลชนิดน้ำแขวนตะกอน มีพาราเซตามอล 250 มก. / 5 มล. ขวดพลาสติกขาวโปร่งแสง พร้อมถ้วยตวง

 

ยาลดไข้เด็ก ถ้วยตวง

ยาลดไข้เด็ก แต่ละยี่ห้อ จะมีอุปกรณ์การตวงยามาด้วยในกล่อง เพื่อความสะดวกในการใช้ยาค่ะ

 

ตารางแสดงการเปรียบเทียบ ยาน้ำลดไข้เด็ก แต่ละยี่ห้อ*

ยาลดไข้เด็ก ยี่ห้อ

จากการเปรียบเทียบจะเห็นได้ว่า ยาน้ำพาราเซตามอล ลดไข้สำหรับเด็ก แต่ละแบรนด์ก็มีลักษณะที่แตกต่างกัน การเลือกรูปแบบยาที่เป็นยาน้ำเชื่อมใส ไม่มีตะกอน ไม่ต้องเขย่า จะทำให้ลูกได้รับยาครบถ้วน ซึ่งหากคุณแม่เลือกยาแบบแขวนตะกอน ต้องเขย่าขวดก่อนให้ลูกทานยาทุกครั้ง เพื่อทำให้ตัวยากระจายตัวก่อน ที่สำคัญ คุณพ่อคุณแม่ควรปรึกษาเภสัชกรทุกครั้งเมื่อไปซื้อยาให้ลูกทาน ด้วยความปรารถนาดีจาก #ทีมแม่ABK ค่ะ

 

หมอแนะนำดูวิธีการเช็ดตัวลูกให้ถูกวิธี คลิก!

ABK Expert หมอแนะนำวิธีเช็ดตัวลูกให้ไข้ลง และวิธีดูแลลูกป่วยเบื้องต้น

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up