“อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย” สาเหตุสำคัญที่ทำให้ เด็กเจ็บคอ เด็กไอ มีเสมหะ
คุณพ่อคุณแม่สังเกตกันไหมว่าในช่วงเปลี่ยนผ่านฤดูจากหน้าฝนเป็นหน้าหนาวแบบนี้ ลูกของเราจะเริ่มเปลี่ยนจากเด็กที่ร่าเริงสดใส ช่างพูด ช่างเจรจา กลายเป็น เด็กเจ็บคอ เด็กไอ มีเสมหะ บางคนมีอาการมากกว่านั้นก็คือ ทั้งจาม และเป็นไข้ ซึ่งอาการต่าง ๆ เหล่านี้เกิดจากการที่อากาศนั้นเปลี่ยนแปลงบ่อย เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว ร่างกายปรับตัวไม่ทัน ประกอบกับอากาศที่เย็นขึ้นและมีลมแรงนั้นก็ยังเอื้ออำนวยให้เชื้อไวรัสอยู่รอดได้ดีและแพร่กระจายได้ไกลกว่าเดิมมากอีกด้วย
เด็กเจ็บคอ เด็กไอ และมีเสมหะเรื้อรัง ส่งผลกระทบมากกว่าที่คิด
ถ้าลูกบ้านไหนเป็นเด็กที่มีภูมิต้านทานต่ำหรือป่วยง่าย มีภาวะที่เกี่ยวกับโรคภูมิแพ้ หรือหอบหืดอยู่แล้ว ก็จะยิ่งได้รับผลกระทบจากอากาศเปลี่ยนแปลงเข้าไปกันใหญ่ เพราะว่าจะมีโอกาสทำให้ลูกของเรามีอาการไอ เจ็บคอ และมีเสมหะเรื้อรัง ซึ่งอาการ “ไอเรื้อรังในเด็ก” ถือว่าค่อนข้างน่าเป็นห่วง เพราะจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตโดยตรง ทั้งเรื่องการเจ็บป่วย เรื่องการไอในช่วงกลางคืนที่จะเบียดเบียนการพักผ่อนทั้งตัวเด็กเองและคุณพ่อคุณแม่ ที่มีความวิตกกังวลเพราะเป็นห่วงลูกว่าร่างกายมีความผิดปกติหรือไม่
วิธีดูแลและป้องกันไม่ให้ลูกป่วย ช่วงอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย
สำหรับวิธีดูแลเด็ก ๆ ในภาวะที่อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยเพื่อไม่ให้เกิดอาการเจ็บป่วย ไอ จาม
หรือมีเสมหะเรื้อรังในเบื้องต้น สามารถทำได้หลายวิธี โดยเริ่มจาก
- หลีกเลี่ยงไม่ให้เจอกับอากาศเย็น เช่น การนอนเปิดพัดลมจ่อโดยตรง
- หากนอนในห้องแอร์ควรปรับอุณหภูมิให้เหมาะสม ที่ประมาณ 25-27 องศาเซลเซียส
- เลี่ยงการดื่มน้ำเย็นและทดแทนด้วยการดื่มน้ำอุณหภูมิปกติ หรือน้ำอุ่น
- งดอาหารที่กระตุ้นให้เกิดอาการไอ เช่น เครื่องดื่มเย็น อาหารมัน อาหารที่มีความกรอบและแห้ง
- งดกิจกรรมที่จะส่งผลให้เกิดการไอ เช่น การพูดเสียงดัง การตะโกน
- กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกาย และพักผ่อนอย่างเหมาะสม
- ดูแลความสะอาดและสภาพแวดล้อมของบ้าน ให้บ้านสะอาดและอากาศถ่ายเทได้สะดวก
วิธีเบาทรรอาการ ไอ เจ็บคอ และมีเสมหะ เมื่อลูกป่วย
แม้ว่าเราจะพยายามดูแลและหาวิธีป้องกันไม่ให้ลูกป่วยในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลงได้ดีแค่ไหน แต่ลูกของเราก็มีโอกาสป่วยได้เช่นกัน เพราะว่ายังมีบางช่วงเวลาที่เราไม่สามารถดูแลลูกได้ด้วยตัวเอง เช่นในช่วงที่ลูกไปโรงเรียน และอาจจะได้รับเชื้อไวรัสมาจากการเล่น การสัมผัสตัวกับเพื่อน ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคยอดฮิตอย่างไข้หวัด หรือโรคที่มีความอันตรายอย่างมือเท้าปาก ดังนั้นเราลองมาดูวิธีบรรเทาอาการเมื่อลูกไอ เจ็บ คอ และมีเสมหะกันเถอะ
- เพิ่มปริมาณการดื่มน้ำหรือนมอุ่น ๆ เพื่อลดการระคายคอ
- ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ เพื่อช่วยในการขับน้ำมูก เสมหะออกมา และลดอาการบวมบริเวณทางเดินหายใจ
(ในกรณีที่เป็นเด็กเล็กอาจใช้วิธีดูดน้ำมูก ด้วยลูกยางดูดน้ำมูกสำหรับเด็ก) - รักษาระดับความชื้นในบ้านให้เหมาะสม
- ปรับระดับหมอนให้สูงขึ้นเล็กน้อย เพื่อช่วยบรรเทาอาการไอ และหายใจได้สะดวกยิ่งขึ้น
- ให้ทานยาแก้ไอ ละลายเสมหะ โดยต้องปรึกษาแพทย์และเภสัชกร
สเปรย์พ่นคอสำหรับเด็ก อีกหนึ่งวิธีบรรเทาอาการเจ็บคอที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน
นอกจากวิธีต่าง ๆ ในข้างต้นแล้ว ในปัจจุบันก็ยังมีการใช้สเปรย์พ่นคอสำหรับเด็กเพื่อช่วยบรรเทาอาการไอ เจ็บคอ ช่วยฆ่าเชื้อไวรัสและแบคทีเรียในช่องปากและลำคออีกด้วย ลองมาดูกันเถอะว่ามีตัวไหนที่่น่าสนใจบ้าง
1. Propoliz Kid Mouth Spray
สเปรย์พ่นคอเด็ก ที่ช่วยให้ชุ่มคอ บรรเทาอาการเจ็บคอ ระคายคอ บรรเทาแผนร้อนในและแผลจากโรคมือเท้าปาก มีสารสกัดจากสแตนดาร์ดไดซ์โพรโพลิส ที่คิดค้นมาเพื่อเด็ก และสารสกัดจากลิโคไรซ์ ซึ่งช่วยฆ่าเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรียในช่องปากและลำคอ ผสมซิงค์ แลคเตท ที่ช่วยสมานแผลในช่องปาก ปราศจากน้ำตาลและแอลกอฮอล์ แต่ก็มีความหอมหวานและทานง่าย เนื่องจากผสมน้ำผึ้ง ผ่านการตรวจสอบโลหะหนัก ปราศจากยาฆ่าแมลงและเชื้อปนเปือน เหมาะสำหรับเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป ไม่เพียงบรรเทาอาการเจ็บคอ ไอ แผลในปาก แต่ยังช่วยสร้างภูมิกันให้เด็ก ๆ อีกด้วย จึงสามารถพ่นได้บ่อยตามต้องการ แม้ไม่มีอาการ
2. I-Kids Mouthspray for Kids
สเปรย์เพื่อช่องปากและลำคอสำหรับเด็ก รสส้ม ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นและสดชื่นในช่องปาก ลดการสะสมของแบคทีเรีย ลดการอักเสบ ช่วยบรรเทาอาการไอและเจ็บคอ ปราศจากแอลกอฮอล์และน้ำตาล เหมาะสำหรับเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป
3. Mckrime Mouth Spray for kids
สเปรย์พ่นช่องปากและลำคอสำหรับเด็ก รสส้ม ที่สามารถช่วยเบาทรรอาการไอและเจ็บคอ สารสกัดจากดอกคาร์โมมายด์และเปปเปอร์มินท์ ที่ช่วยลดอาการอักเสบ ใช้สำหรับพ่นใส่ช่องปากรอบละ 1-2 ครั้ง วันละ 3 รอบ เหมาะสำหรับเด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป
สำหรับวิธีบรรเทาอาการไอ เจ็บคอ และมีเสมหะของเด็ก ขอแนะนำว่าคุณพ่อคุณแม่สามารถทำตามวิธีดังกล่าวในเบื้องต้นเท่านั้น แต่ถ้าหากมีอาการไอเรื้อรังเกิน 3 สัปดาห์ ทางที่ดีควรพาลูกไปหาหมอเพื่อเข้ารับการตรวจอย่างละเอียดและตรงจุด