3. ขาดการกระตุ้นพัฒนาการที่ถูกต้องตามวัย
เช่น รู้ใจเด็กมากเกินไป ไม่มีคนคอยพูดคุยด้วย อยู่กับพี่เลี้ยงต่างด้าว ดูทีวีหรือติดมือถือ-แท็บเล็ต วิธีแก้ไข คือ งดดูทีวี-มือถือ-แท็บเล็ต ให้พูดคุยและทำกิจกรรมร่วมกับเด็กให้มากขึ้น ฝึกอ่านหนังสือนิทานด้วยกันทุกวัน (อ่านต่อ เรากำลังเลี้ยงลูกให้เป็น “ออทิสติกเทียม” ด้วย ทีวี แท็บเล็ต และเร่งเรียน หรือเปล่า?)
4. เป็นบ้านที่มีการพูดหลายภาษา
อาจทำให้เด็กบางคนไม่แน่ใจ เกิดความลังเลในช่วงแรกๆ แต่ภายหลังก็สามารถพูดได้ทั้งหมดทุกภาษา
5. เป็นพันธุกรรม
อาจมีพ่อหรือแม่มีประวัติพูดช้าเช่นเดียวกัน เป็นประเภทม้าตีนปลาย เดี๋ยวพูดได้จะพูดไม่หยุด
6. ภาวะออทิสติก
นอกจากลูกไม่ยอมพูด ก็มักมีความผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ขาดการสบตา ไม่ชอบเล่นกับคนชอบอยู่ในโลกส่วนตัว ชอบทำอะไรซ้ำซากและเป็นการเล่นที่ขาดจินตนาการ แก้ไขโดยการฝึกพูดและฝึกพัฒนาการด้านการสื่อสารกับผู้อื่น
บทความโดย: แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด
ภาพ: Shutterstock