- จัดสภาพแวดล้อมในบ้านให้เกิดความมีระเบียบ ไม่ปล่อยให้บ้านรกรุงรัง
- อย่าทำให้เด็กรู้สึกว่าตนเองมีปมด้อย
- ไม่ควรจับกลุ่มให้เด็กสมาธิสั้นอยู่ใกล้ชิดกับเด็กที่มีปัญหาแบบเดียวกัน เพราะจะทำให้กลายเป็นเด็กที่เกเรก้าวร้าวได้
- ส่งเสริมจุดแข็งข้อดีในตัวเด็ก เพื่อให้เด็กรู้สึกดี และเกิดความภาคภูมิใจในตัวเอง
- จัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์ให้ได้ใช้เวลาว่างอย่างมีประโยชน์ และใช้พลังงานส่วนเกินอย่างเหมาะสม รวมถึงเป็นการฝึกสมาธิไปในตัว เช่น ออกกำลังกาย หรือเล่นดนตรี ตามที่เด็กสนใจ
ช่วยลูกเพิ่มสมาธิได้อย่างไร?
ถ้าเด็กสมาธิสั้น ทำอะไรก็มักไม่สำเร็จ และส่งผลเสียมากมายทั้งต่อตัวเด็กเอง และคนรอบข้าง ดังนั้นการช่วยเหลือเด็กให้มีสมาธิจึงสำคัญมาก แนวทางเพิ่มสมาธิจะทำควบคู่กัน 3 แนวทาง คือ
1. การใช้ยาเพิ่มสมาธิ
- การใช้ยาเพิ่มสมาธิ ในปัจจุบันถือเป็นมาตรฐานการรักษา ยาที่ใช้มีความปลอดภัย และมีผลข้างเคียงน้อย สามารถช่วยให้เด็กมีสมาธิดีขึ้น สงบขึ้น และควบคุมตัวเองได้ดีขึ้น ซึ่งส่งผลให้ การเรียนดีขึ้น ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างดีขึ้น
- ในการฝึกฝนการควบคุมตนเองของเด็ก พ่อแม่ควรจัดกิจวัตรประจำวันของเด็ก ให้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอตามเวลาที่กำหนดไว้ ไม่ว่าจะเป็นเวลาตื่นนอน เวลารับประทานอาหาร อาบน้ำ ไปโรงเรียน ทำการบ้าน หรือเข้านอน
- นอกจากนี้ควรฝึกฝนให้เด็กมีสมาธิจดจ่ออยู่กับงานที่กำลังทำได้ต่อเนื่อง ประมาณ 20 – 30 นาที โดยเน้นให้เด็กนั่งอยู่กับที่ ทำงานจนเสร็จ โดยไม่ลุกเดินไปไหน ซึ่งในช่วงแรกพ่อแม่ควรควบคุมอย่างใกล้ชิด และคอยช่วยเหลือ เพื่อให้เด็กทำได้สำเร็จ
ลูกสมาธิสั้น ไม่ใช่ปัญหาสำคัญ แต่สำคัญที่ว่า จัดการกับสมาธิสั้นได้เหมาะสมหรือไม่มากกว่า
ขอบคุณข้อมูลจาก นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา (จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น)
และ แฟนเพจ เฟสบุ๊ค Babysayhi