เมื่อคุณพ่อคุณแม่ได้ทำทั้ง 3 อย่างครบถ้วน ร่วมไปกับลูกแล้ว ขั้นตอนสำคัญที่จะพัฒนาลูกให้มีพลังแกร่ง รู้เท่าทัน และมีทักษะรู้คิด ร่วมกับจิตสำนึกที่ดี จะต้องลงทำปฏิบัติตามบันได 4 ขั้น นี้ ได้แก่
บันไดขั้นที่ 1 สร้างการเรียนรู้ให้ลูกมีจิตสำนึกที่ดี
พ่อแม่คือคนสำคัญที่ต้องเริ่มต้นสร้างการเรียนรู้ ปลูกฝังและสอนให้ลูกมีจิตสำนึกที่ดี
บันไดขั้นที่ 2 ลงมือปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม ให้เด็กลงมือทำด้วยจิตสำนึกของตนเอง
พ่อแม่ต้องชักชวนลูกให้ลงมือปฏิบัติ คือลงมือทำ สร้างจิตสำนึกที่ดีทั้งต่อตนเองและต่อสังคม โดยพยายามเปิดพื้นที่ปฏิบัติให้ลูกลงมือทำ เช่น เห็นพ่อแม่ทำงานบางอย่างแล้วลูกมีจิตสำนึกที่จะช่วย เปิดโอกาสให้ลูกช่วยโดยไม่ห้าม
บันไดขั้นที่ 3 ร่วมมือกันปฏิบัติ ทำงานร่วมกัน กับชุมชน สังคมที่เด็กอาศัยอยู่
บันไดขั้นนี้หมายถึงการทำงานร่วมกันของทั้งบ้าน ชุมชน และโรงเรียน ในการสร้างจิตสำนึกให้แก่เด็ก ไม่ใช่ให้
บันไดขั้นที่ 4 การปลูกฝังให้เด็กลงมือทำด้วยจิตสำนึกของตนเอง
การปฏิบัติขั้นนี้เกิดจากบ้าน โรงเรียน และชุมชน สร้างจิตสำนึกและลงมือปฏิบัติจนกลายเป็น “วิถีชีวิต” หากปลูกฝังเด็กได้จนถึงขั้นนี้ ต่อให้เด็กเจอวิกฤติปัญหาในชีวิต เขาก็จะยังยืนหยัดมั่นคงว่า จะทำสิ่งที่ดีและถูกต้อง โดยไม่ต้องมีใครมาบังคับ บันไดขั้นนี้ ญี่ปุ่นสามารถสอนคนในชาติได้ในระดับหนึ่งเรื่องระเบียบวินัย ไม่ต้องมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือทหารมาบังคับ เขาก็ลงมือทำตามระเบียบวินัยได้ด้วยตัวเอง
ตัวอย่าง ในขณะที่ต่อแถวเพื่อซื้อขนม แม่ค้าถามเด็กวัยรุ่นที่อยู่หัวแถวว่าจะรับขนมกี่ชุด เด็กตอบว่า เอา 1 ชุด จากนั้นแม่ค้าก็ถามคิวต่อไป เพื่อเตรียมขนมให้รวดเร็วขึ้น ปรากฏว่าครู่เดียว พ่อแม่ของเด็กวัยรุ่นที่อยู่หัวแถววิ่งมาบอกว่า ขอสั่งเพิ่มอีก 2 ชุด แม่ค้าจึงบอกให้เข้าคิวใหม่เพราะคิวยาว แทนที่พ่อแม่จะขอโทษและทำตาม กลับอารมณ์เสีย และพูดว่า ไม่เอาก็ได้ ไม่เห็นอร่อยเลย การกระทำของพ่อแม่นี้เท่ากับเป็นการฆ่าจิตสำนึกของลูกด้วยตัวเอง
ตอนนี้เรากำลังปลูกฝังลูกไปถึงบันไดขั้นไหนแล้ว…
อ่านต่อ วิธีปลูกฝังความอดทนให้ลูก ทำได้ตั้งแต่วัยทารก
ขอขอบคุณข้อมูลจาก รองศาสตราจารย์ นพ. สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
เรื่อง: กองบรรณาธิการนิตยสาร Amarin Baby & Kids
ภาพ: Shutterstock