3. ให้ตัวเลือก
เด็กๆ จะร่วมมือง่ายขึ้น เพราะเขารู้สึกดีที่ได้เลือกและตัดสินใจด้วยตัวเอง เพื่อให้ได้ผลดี ตัวเลือกไม่ควรมากกว่า 3 และควรให้ตัวเลือกที่คุณรับได้ทุกข้อ เป็นอีกหนึ่งวิธีแก้ไขปัญหาที่ลูกเรียนรู้และนำไปใช้ได้เมื่อเขาโต
4. เตือนให้รู้
จะให้ลูกทำอะไร การบอกล่วงหน้าให้ลูกได้มีเวลาเตรียมตัว อะไรๆ จะง่ายขึ้น เพราะเด็กยังไม่คล่องแคล่วและสมองเขาไม่ได้ประมวลผลเร็วเท่าผู้ใหญ่นะ
5. สั้น กระชับ นึกภาพออก จึงทำได้
คำพูดรวมเช่น นั่งดีๆ ยืนดีๆ อย่าทำอีก เปลี่ยนให้ชัดเจนและเด็กนึกภาพออก เขาจึงจะทำตามได้ เช่น นั่งนิ่งๆ ไม่ลุกจากเก้าอี้ ไม่กระโดดลงจากบันไดอีก ฯลฯ
6. ให้คำชม
การชมที่ทรงพลัง ทำให้การสื่อสารบรรลุผล คือคงพฤติกรรมที่เหมาะสม ทำนิสัยน่ารัก คือการชมจากใจ บอกความรู้สึกของคุณ และระบุพฤติกรรมดีที่เห็น เช่น “เห็นลูกกินข้าวเองหมดเลย ชื่นใจจริงๆ” “โอ น่ารักมากๆ ตื่นแล้วพับผ้าห่มด้วย” “วันนี้หยิบการบ้านมาทำเองรู้หน้าที่ เจ๋งไปเลย” ไม่ใช่ชมลูกพร่ำเพรื่อและใช้อยู่แค่ประโยคเดียว อย่าง เก่งมาก ดีมาก สวยมาก
7. ทำโทษ
เป็นวิธีสื่อสารหนึ่ง เพื่อให้เขารู้ขอบเขตว่าอะไรทำได้ ไม่ได้ แค่ไหน อย่างไร การทำโทษจะได้ผลเมื่อบอกกล่าวให้เข้าใจตรงกันก่อน และทำโทษทันทีอย่างสมวัย ตัวคุณรับได้และเอาจริง ไม่ใช่เพียง “ขู่”
เรื่อง : กองบรรณาธิการนิตยสาร Amarin Baby & Kids
ภาพ : Shutterstock