เลี้ยงลูก "เจนอัลฟ่า" ให้ฉลาดและมีความสุข คุณเองก็ทำได้
เจนอัลฟ่า

เลี้ยงลูกเจนฯ อัลฟ่าให้ฉลาดและมีความสุข

Alternative Textaccount_circle
event
เจนอัลฟ่า
เจนอัลฟ่า

“เจนอัลฟ่า” คือคนยุคไหน? เด็กยุคนี้ในวัยเตาะแตะไปจนถึงวัยอนุบาลก็คือเจนฯ อัลฟ่านี่ล่ะค่ะ แล้วเราควรจะเลี้ยงลูกอย่างไรดีให้ฉลาด มีความสุข และรอดพ้นจากภัยร้ายใหม่ๆ ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วซึ่งไม่เหมือนยุคก่อนอีกต่อไป

Q: สวัสดีค่ะคุณหมอ คุณแม่ได้ยินหลายๆ คนพูดถึงเด็กเจนเนอเรชั่นใหม่ว่า “เจนอัลฟ่า” เด็กอยู่ในสังคมกลางอากาศที่ไร้พรมแดนมากขึ้น รวมทั้งข้อมูลข่าวสารก็แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ตามความเร็วของอินเทอร์เน็ต จนส่งผลให้เด็กอยู่กับเทคโนโลยีมากขึ้น ขาดปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่ และคนรอบข้าง (อ่านบทความจากนิตยสารต่างๆ เขาบอกมาอย่างนี้ค่ะ)

คำถาม คือ คุณหมอมีความเห็นกับเรื่องนี้อย่างไร และคุณแม่คุณพ่อรวมทั้งผู้ใหญ่ในครอบครัว ควรทำอย่างไรบ้างคะ และควรรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมอย่างไรบ้างคะ

เบื้องต้น คุณหมอมีความเห็นเกี่ยวกับการจัดเจนเนอเรชั่นต่างๆ ของคนที่เกิดต่างยุคต่างสมัยว่า เป็นการจัดโดยอ้างอิงถึงสภาพแวดล้อมของสังคมขณะนั้น  ซึ่งส่งผลต่อเด็กที่เติบโตมาในสิ่งแวดล้อมและสังคมที่แตกต่างจากสังคมในยุคพ่อแม่หรือปู่ย่าตายายที่เป็นคนเลี้ยงดูเด็ก  ถือว่าเป็นความท้าทายของผู้ใหญ่ที่ต้องเรียนรู้และปรับเปลี่ยนรูปแบบการเลี้ยงดู (บางอย่าง) ไปตามสังคมและสิ่งแวดล้อมในยุคนั้นๆ  และหมอมองว่าความท้าทายในการเลี้ยงดูเด็กเป็นอย่างนี้มาทุกยุคทุกสมัย และก็จะเป็นต่อๆ ไป  เพียงแต่ความท้าทายของสังคมในแต่ละยุคนั้นคืออะไร ซึ่งยุคนี้ คือ สังคมดิจิทัลค่ะ

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสิ่งแวดล้อมทางสังคมจะเปลี่ยน แต่แนวคิดหลักในการอบรมเลี้ยงดูเด็กก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ถ้าจะเปลี่ยนอาจจะเปลี่ยนแค่รายละเอียด

ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักเด็กเจนเนอเรชั่นนี้ “เจนอัลฟ่า” กันก่อนว่า เขามีแนวโน้มจะเป็นอย่างไร 

Dan Schawbel นักเขียนติดอันดับขายดีของ New York Times และ Wall Street journal คอลัมนิสต์ประจำนิตยสาร TIME และ FORBES และผู้ก่อตั้งบริษัทวิจัย Millennial Branding ได้คาดการณ์ 5 คุณลักษณะของคน เจนอัลฟ่า ไว้ในเว็บไซต์ของเขาว่า

  1. เจนนี้กล้าเสี่ยงมากขึ้น เพราะพวกเขาเข้าถึงข้อมูล ผู้คนและทรัพยากรต่างๆ ได้อย่างมากมายตั้งแต่ยังเด็ก ดังนั้นเราอาจได้เห็นคนเจนนี้ตั้งบริษัทตั้งแต่ก่อน 10 ขวบ
  2. มีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีอย่างมาก คิดไม่ออกว่าโลกที่ไม่มีโซเชียลเน็ตเวิร์กเป็นอย่างไร และมีแนวโน้มว่าจะใช้ผ่านโทรศัพท์มือถือมากกว่าคอมพิวเตอร์และแทบเล็ต
  3. ทุกอย่างต้องผ่านออนไลน์ แต่สื่อสารกับผู้คนน้อยลง ส่งผลต่อทักษะการสื่อสารและทักษะสังคม
  4. มีแนวโน้มถูกพ่อแม่รุ่นเจนวายหรือเจนเอ๊กซ์ช่วงปลายเอาอกเอาใจมาก เนื่องจากพ่อแม่รุ่นนี้มักมีลูกช้า แต่ในสังคมไทย เด็กเจนนี้อาจถูกเลี้ยงดูด้วยปู่ย่าตายายซึ่งอยู่ในช่วง “เบบี้บูมเมอร์” หรือเจนเอ๊กซ์ช่วงต้น ที่อาจทั้งตามใจหลานและรู้ไม่เท่าทันเทคโนโลยี
  5. เป็นอิสระและพึ่งตัวเองได้ดีกว่าคนรุ่นก่อน เพราะมีการศึกษาที่มากกว่ารุ่นที่ผ่านมา และถูกเตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับความท้าทายระดับโลก เช่น ปัญหาโลกร้อน ปัญหาก่อการร้าย เป็นต้น นอกจากนี้ช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวยจะเด่นชัดมากขึ้นอีก

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up