เด็กกับผู้ใหญ่ มีความแตกต่างเรื่องบุคลิกภาพ ผู้ใหญ่มักจะดูนิ่งกว่าเด็ก มีความคิด และนิสัยที่ชัดเจน สามารถแยกแยะความถูกผิดได้ในระดับหนึ่ง ส่วนแด็กจะมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ความคิดอยู่ทุกวัน การที่ให้ลูกดูทีวีนานๆ อาจนำ ภัยจากทีวี มาฆ่าสมองลูกน้อยได้โดยไม่รู้ตัว
นพ. กิจจา ฤดีขจร กล่าวว่า อาการของโรคสมาธิสั้น และออทิสติก ในเด็กเกิดจากปัจจัยของการพัฒนาสมอง และบุคลิกภาพของเด็กเอง ซึ่งขึ้นอยู่กับ 2 อย่าง คือ ปัจจัยภายใน มีผลมาจากพันธุกรรม และปัจจัยภายนอก มาจากการเลี้ยงดู สภาพแวดล้อม ครอบครัว สังคม เพื่อน และโรงเรียน
ในประเทศไทยมีเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น และออทิสติกอยู่ประมาณ 5-10% ซึ่งมีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์ การเลี้ยงดู 30-40% การดูโทรทัศน์ ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กเป็นโรคสมาธิสั้น แสดงผลเร็ว ชัดเจน และรุนแรงมากขึ้น
โทรทัศน์เป็นตัวกระตุ้นให้แสดงอาการของโรคสมาธิสั้น เพียงงดไม่ให้ลูกน้อยดูทีวี อาการที่อยู่ไม่นิ่ง ไม่มีสมาธิ หุนหันพลันแล่น ก็จะดีขึ้นภายใน 2-3 เดือน และหายไปในที่สุด โดยไม่ต้องใช้การรักษาอย่างอื่นร่วมด้วย
ส่วนโรคออทิสติก ถึงแม้จะมีหลายสาเหตุ แค่ความเครียดของคุณแม่ขณะตั้งครรภ์ และคุณพ่อที่มีอายุมากๆ ก็เป็น 1 ในสาเหตุของโรคนี้ได้ ยิ่งถ้ามีอาการของโรคสมาธิสั้นร่วมด้วย ก็จะยิ่งเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น เพราะโรคออทิสติก เป็นความผิดปกติของสมองด้านการสื่อสาร ทำให้เด็กไม่ยอมสื่อสาร อาจรับฟังบ้าง แต่ไม่สามารถสื่อสารได้อย่างเต็มศักยภาพ ทำให้การพูดบกพร่อง ไม่สบตา ไม่เล่นกับเพื่อน ไม่โต้ตอบ ไม่ปฏิสัมพันธ์
นพ. กิจจา ฤดีขจร กล่าวว่า ถ้าให้เด็กดูทีวี โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ แม้แต่รายการเด็กก็ควรเริ่มกับเด็กตั้งแต่ 2 ขวบขึ้นไป เพราะสมองของลูกน้อยจะทำงานเป็นวงจรสั้นๆ เพราะถูกกระตุ้นอย่างต่อเนื่องโดยภาพบนจอที่เปลี่ยนไปทุก 2-3 วินาที การเปลี่ยนแปลงนี้ดึงดูดความสนใจให้เด็กนั่งนิ่งๆ อยู่หน้าจอ สมองของเด็กจะได้รับการกระตุ้นผิดวิธี ทำให้เด็กยิ่งซน อยู่ไม่นิ่งมากขึ้นเมื่อไม่ได้ดูทีวี
การมีสมาธินั้น เด็กต้องพัฒนาขึ้นมาเอง เช่น ระหว่างอ่านหนังสือ ทำกิจกรรมอย่างใจจดจ่อ และเข้าใจ เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะขาดสมาธิที่สร้างขึ้นเองเหล่านี้
ผลกระทบของโรคสมาธิสั้น เริ่มแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการที่ช้ากว่าปกติ เช่น อายุ 2 ขวบแล้วยังพูดไม่ได้ ซึ่งโดยปกติเด็กอายุ 1 ขวบ จะเริ่มพูดได้เป็นคำๆ 1 ขวบครึ่งจะสามารถผสมคำได้เป็นประโยคสั้นๆ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
เกือบ 100% ของเด็กสมาธิสั้นมีปัญหาทางภาษา โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ ที่ยังไม่มีปฏิกิริยากับพ่อแม่ ไม่สามารถจำภาพ เสียง หรือเลียนแบบได้ เพราะการที่เด็กสื่อสารด้วยคำพูดต้องใช้สมาธิ และสมองหลายส่วน อาศัยปากในการควบคุมการออกเสียง เมื่อพูดออกไปแล้วต้องได้ยินเสียงที่เปล่งออกมา เช่น “พ่อ” ออกเสียงเป็น “ป้อ” และปรับเสียงให้เป็น “พ่อ” ในที่สุด เมื่อปรับเสียงแล้ว ก็ต้องแยกด้วยว่าคนไหนพ่อ หรือแม่ ควรเรียกใครว่าอย่างไร
โดยปกติแล้วเด็กอายุ 1 ขวบ จะสามารถอยู่นิ่งๆ ได้อย่างน้อย 1 นาที และเข้าใจอารมณ์ของพ่อแม่จากคำสั่ง และถ้าอายุ 3 ขวบแล้ว จะอยู่นิ่งๆ ได้ 3 นาทีเป็นอย่างน้อย
โรคสมาธิสั้น นอกจากจะส่งผลต่อพัฒนาการด้านการสื่อสารแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ และการเสริมสร้างทักษะ ความฉลาด หรือไอคิวด้วย เพราะเมื่อเด็กสนใจในสิ่งหนึ่งได้ไม่นาน อยู่ไม่สุข นั่งไม่นิ่ง เด็กจะขาดความสนใจในการเรียนรู้อย่างจดจ่อ ส่งผลต่อความสุขสงบของคนรอบข้าง ชอบทำอะไรรุนแรง ทำลายข้าวของ ก้าวร้าว ขาดทักษะในการฝึกความอดทน ทำให้เพื่อนไม่ชอบเล่นด้วย ผู้ใหญ่ที่พบเห็นก็ไม่เอ็นดู ทำให้เด็กเข้าสังคมไม่ได้ เรียนรู้ได้ล่าช้า ยิ่งถ้าคุณพ่อ คุณแม่ปล่อยให้ลูกน้อยดูโทรทัศน์ต่อไป พัฒนาการด้านต่างๆ ก็จะยิ่งถดถอย
ลูกเป็นอย่างไร สะท้อนการเลี้ยงดูของพ่อแม่
การดูโทรทัศน์สร้างความผิดเพี้ยนให้กับวงจรสมองของลูกน้อย เนื้อหาของรายการยังกระตุ้น และหล่อหลอมพฤติกรรมที่ผิดเพี้ยนให้ลูกน้อย โดยเฉพาะลูกในวัยอนุบาล และประถม ซึ่งเป็นช่วงวัยที่ชอบเลียนแบบ และต้องการเป็นผู้ใหญ่ ถ้าพ่อแม่จัดสภาพแวดล้อมที่ดี ปลูกฝังความคิดที่ดี ปล่อยให้เนื้อหาในรายการโทรทัศน์ปลูกฝังค่านิยมผิดๆ ลูกก็จะเจริญเติบโตมาเป็นคนรักสบาย บริโภคนิยม และไม่ทุ่มเทกับการทำงาน
ถึงแม้ว่าเนื้อหาของรายการโทรทัศน์ในบางรายการ จะถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการให้ลูกน้อย อย่างไรก็ตาม เด็กเล็กก็ยังไม่ควรดูเกินวันละ 1-2 ชั่วโมง และคุณพ่อ คุณแม่ก็ควรเลือกรายการที่เหมาะสมกับลูกน้อย ลูกน้อยจะยังคงมีความคิดสร้างสรรค์ อยู่ในระเบียบวินัย ควบคุมไม่ให้ลูกน้อยมีอาการของโรคสมาธิสั้นได้
เครดิต: http://luksostory.blogspot.com/2012/08/blog-post_4749.html
อ่านเพิ่มเติม คลิก!!
ลูกเป็นออทิสติกเทียม เพราะดูทีวีมากเกินไป
หมอเตือน!! ดูทีวีทำร้ายลูกร้ายแรง สร้างพฤติกรรมผิดปกติ
จากแม่ถึงแม่: หยุดทีวี หยุดแท็บเลต ต้นเหตุลูกพูดช้า
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่