ฝนนี้ระวัง! "มือเท้าปาก" ระบาดในเด็กเล็ก - amarinbabyandkids
มือเท้าปาก ลูกไม่สบาย

หนาวนี้ต้อง ระวังโรค “มือเท้าปาก” อาจเกิดขึ้นได้!

Alternative Textaccount_circle
event
มือเท้าปาก ลูกไม่สบาย
มือเท้าปาก ลูกไม่สบาย

EV 71 : น่ากลัวเพราะ “ภาวะแทรกซ้อน”

เชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 หรือ EV 71 ที่เคยเป็นข่าวใหญ่เพราะเด็กที่ติดเชื้อนี้เสียชีวิตนั้น หากเด็กที่ติดเชื้อมีเพียงอาการของโรคมือเท้าปากจะไม่อันตรายมาก แต่ผู้ติดเชื้อส่วนหนึ่งมีอาการแทรกซ้อน คือ ภาวะก้านสมองอักเสบ ซึ่งทำให้อัตราการเสียชีวิตสูงขึ้น ในประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากมือเท้าปากไม่มาก เฉลี่ยราวปีละ 1-5 คน

สาเหตุที่เสียชีวิตคือการดำเนินอาการของก้านสมองอักเสบนั้นมีความรุนแรงอยู่แล้ว แต่บางคนอาจมีอาการไม่มากนัก แพทย์จึงให้การรักษาแบบประคับประคองและสามารถหายได้ เนื่องจากโรคนี้ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ ฉะนั้นกลุ่มที่มีอาการรุนแรงมากจึงเสียชีวิตได้ อาการก้านสมองอักเสบมักเกิดขึ้นตั้งแต่วันแรกๆ ของการเจ็บป่วย เมื่อลูกมีไข้ อาการจะดำเนินไปอย่างรวดเร็ว บางรายมีอาการสั่นๆ เดินเซ ยืนเซ หากอาการรุนแรงมากอาจจะมีอาการซึม ชัก หายใจหอบ หรือหมดสติ ในกรณีนี้ให้รีบพาไปโรงพยาบาล

มือเท้าปาก ลูกไม่สบาย
ภาพ: Shutterstock

การวินิจฉัยและรักษาโรค มือเท้าปาก

เด็กบางคนมีอาการไม่ชัดเจนมาก เช่น มีแค่แผลในปาก แทบไม่มีผื่นที่มือและเท้า หรือมีผื่นที่ตามตัวด้วย หรือมีแผลลามจากในปากมาถึงรอบปาก แต่แพทย์จะอาศัยการสังเกตลักษณะและการกระจายของผื่น ก็จะให้การวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องตรวจเพิ่มเติม แต่บางกรณีที่มีผื่นมาก คล้ายกับอีสุกอีใส เชื้อเริม หรือเชื้อไวรัสอื่น อาจตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาเชื้อไวรัสในกลุ่มเอนเทอโรไวรัส แต่การตรวจเหล่านี้ต้องใช้เวลาและมีราคาแพง

การรักษาจะเป็นการประคับประคอง ไม่มียาใดได้รับการพิสูจน์ว่ารักษาโรคมือเท้าปากได้อย่างชัดเจน โดยทั่วไปจะให้ยาลดไข้ เช็ดตัวลดไข้ ถ้าเด็กมีอาการทางระบบประสาทก็จะต้องมานอนโรงพยาบาล แพทย์อาจจะให้ยา IVIG ซึ่งอาจช่วยทำให้อาการของคนไข้ดีขึ้น

หากอาการไม่รุนแรง “ดูแล” ลูกน้อยอยู่บ้านได้

หากลูกยังพอรับประทานอาหารได้บ้าง ก็สามารถรักษาตามอาการที่บ้านได้ ให้เช็ดตัว กินยาลดไข้ พยายามให้เขากินเท่าที่กินได้ แต่เขามักกินยากขึ้นเพราะเจ็บปาก ทำให้ร่างกายขาดทั้งน้ำและพลังงานจากอาหาร แต่ร่างกายคนเราทนต่อการขาดอาหารได้มากกว่าน้ำ จึงควรระวังอาการขาดน้ำ เนื่องจากจะทำให้เด็กมีอาการรุนแรงขึ้นและเร็วขึ้น กุมารแพทย์มักแนะนำให้กินอาหารที่เป็นน้ำๆ เย็นๆ เพราะเขาจะกินได้ดีขึ้น เช่น น้ำ น้ำหวาน ไอศกรีม อนุโลมให้เด็กกินมากๆ ได้ในช่วงนี้ เพราะเด็กจะไม่ค่อยยอมกินอาหารที่ต้องเคี้ยว เพราะแข็งและกลืนได้ลำบาก

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

อ่านต่อ “อาการที่ควรพาลูกไปพบแพทย์ และการป้องกันโรคมือเท้าปาก” คลิกหน้า 3

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up