“สุขภาพมีความสำคัญไม่แพ้การเรียนและการส่งเสริมพัฒนาการเด็กในด้านอื่นๆ เพราะร่างกายเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้เด็กมีความพร้อมสำหรับการเรียนรู้สิ่งต่างๆ คุณพ่อคุณแม่จึงควรจัดสรรเวลาให้ลูกได้ออกกำลังกาย และให้ความสำคัญกับอาหารการกินของลูกด้วยนะคะ” คุณหมออนุตรา โพธิกำจร กล่าวเปิดประเด็นเพื่อแนะนำ อาหารตามวัย และเทคนิคการเลือกออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัยของลูกน้อยทุกครอบครัว
อาหารตามวัย แรกเกิด – 6 เดือน : นมแม่เท่านั้น สำคัญที่สุด!
หากคุณแม่ไม่มีน้ำนมหรือน้ำนมไม่เพียงพอ สามารถเสริมด้วยนมผสมสำหรับเด็กแรกเกิดได้ตามความเหมาะสม
อาหารตามวัย 6– 9 เดือน : สตาร์ทอาหารเสริม 1 มื้อ
ลูกน้อยควรได้ลองกินอาหารเสริมวันละ 1 มื้อ เพื่อให้เขาเรียนรู้ว่ารสชาติและเนื้อสัมผัสที่หลากหลาย อาหารเสริมจึงเป็นอะไรก็ได้ที่มีประโยชน์ บดละเอียด และเคี้ยวกลืนง่าย เช่น ผักบดผลไม้ขูด น้ำต้มผัก ฯลฯ และควรให้เด็กกินอาหารทีละชนิดซ้ำๆ 4-5 วัน จึงจะเริ่มกินอาหารชนิดใหม่ เพื่อให้ง่ายต่อการสังเกตหากเด็กแพ้อาหาร
- 12 เมนู อาหารเด็ก 6 เดือน กับสูตรอร่อยเพื่อลูกวัยเริ่มกิน!
- 15 สูตรอร่อย อาหารเด็ก 7 เดือน เน้นพัฒนาสมองโดยเฉพาะ!
- 14 สูตร เมนูอาหารทารก 8-9 เดือน พร้อมวิธีทำสุดง่าย!
อาหารตามวัย 9 – 12 เดือน : อาหาร 2 มื้อ+นม 1 มื้อ
ในวัย 9 – 12 เดือนนี้ เด็กสามารถรับประทานอาหารหยาบได้แล้ว โดยวัยนี้คุณพ่อคุณแม่สามารถจัดมื้ออาหารให้ครบ 5 หมู่ได้แล้ว ให้รับประทานอาหาร 2 มื้อ แต่ก็ควรต้มให้นิ่มและหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อป้องกันการสำลักอาหารค่ะ และต้องมีนมอีก 1 มื้อเป็นอย่างน้อย
- แจกสูตร! 10 เมนูอาหารเด็ก 10 เดือน ลูก10เดือนกินอะไรได้บ้าง?
- รวม 60 สูตร+วิธีทำ เมนูอาหารเด็ก ตั้งแต่ 6 เดือน – 1 ขวบ
- แจก 14 เมนูอาหารเด็ก 11 เดือน ทำง่าย..ได้สารอาหารครบในสูตรเดียว
อาหารตามวัย 1 ขวบขึ้นไป : 5 หมู่ 3 มื้อ เพิ่มพลังให้ร่างกาย
เด็กตั้งแต่ 1 ขวบขึ้นไป คุณหมอยืนยันว่าต่างต้องการอาหาร 5 หมู่ 3 มื้อ เหมือนกัน เพียงแต่เพิ่มปริมาณตามความต้องการของร่างกายที่เติบโตขึ้นเท่านั้น ส่วนนมจากที่เคยเป็นอาหารหลักก็กลายมาเป็นอาหารเสริมแทนโดยดื่มแทรกในช่วงสาย บ่าย และก่อนนอน เพื่อเสริมแคลเซียมให้ร่างกาย
ส่วนเด็กตั้งแต่ 2 ขวบขึ้นไปควรเลือกดื่มนมรสจืดสูตรพร่องมันเนยเนื่องจากนมพร่องมันเนยมีคุณค่าทางอาหารเทียบเท่านมสูตรปกติ แตกต่างกันเพียงปริมาณไขมันอิ่มตัวเท่านั้น นมพร่องมันเนยจึงดีต่อสุขภาพมากกว่า ในกรณีเด็กน้อยที่ร่างกายไม่สามารถย่อยน้ำตาลในนมวัวได้ ทำให้ท้องเสียทุกครั้งที่ดื่มนม ก็สามารถเลือกรับประทานโยเกิร์ตรสจืดทดแทนได้ค่ะ
อ่านเรื่อง ““อาหารตามวัย” กินอย่างไรให้ลูกแข็งแรง” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่