อย่างไรก็ตามเทคนิคตามใจลูก ฝึกลูกให้คิดเป็น แบบนี้จะทรงประสิทธิภาพมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับเคล็ดลับต่อไปนี้
1. เตือนเพื่อชวนคิด
หากสังเกตเห็นว่า ลูกเริ่มติดกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งนานเกินไป เราสามารถเตือนเพื่อชวนลูกให้เริ่มคิดวิธีบริหารเวลาที่เหลือได้ เช่น เหลือเวลาอีก 30 นาทีเราจะออกจากบ้านแล้วนะคะ หนูคิดว่าเสร็จทันไหมคะ ต้องการให้แม่ช่วยอะไรไหม แทนการเตือนเพื่อชวนทะเลาะ เช่นจะเสร็จหรือยัง เห็นนั่งเล่นนานแล้ว เหลือเวลาอีกแค่ 30 นาทีนะ จะทานข้าวเตรียมกระเป๋าทันไหม!
2. เป็นคนช่วยเหลือ
ในกรณีที่ลูกงอแง โยเย และไม่ค่อยให้ความร่วมมือ เช่น ไม่ยอมเก็บของเล่น แต่ก็ไม่ยอมไปอาบน้ำ เราสามารถบอกได้ว่าลูกอยู่ในอารมณ์ที่ไม่พร้อม เราเลยจะเป็นคนช่วยพาเขาทำเอง แทนการเป็นคนช่วยซ้ำเติม เช่น เก็บของเล่นเดี๋ยวนี้ แล้วไปอาบน้ำเร็วๆ เลยนะ! ซึ่งจะยิ่งซ้ำเติมอารมณ์ให้ลูกโยเยเข้าไปใหญ่
3. คำถามนำคิด
ในกรณีที่ลูกไม่ได้ทำหน้าที่ตามที่บอกเอาไว้ ให้ถามลูกว่า ลูกคิดเอาไว้ว่าจะทำเมื่อไหร่ แทนการใช้คำถามที่นำมาซึ่งการแก้ตัว เช่น ทำไมถึงยังไม่ทำ หรือ ทำไมไม่ยอมทำ
(อ่านเพิ่มเติม คำถามที่ควรถาม หลังลูกกลับจากโรงเรียน)
4. ชม ชม ชม
เมื่อเห็นลูกทำหน้าที่เสร็จแล้ว เราต้องชื่นชม และให้ความสำคัญกับความพยายามและความรับผิดชอบของลูก เพื่อลูกจะได้มองเห็นความสามารถของตัวเอง และเกิดความภาคภูมิใจ เช่น แม่ขอบคุณมาก ที่ลูกพยายามควบคุมความอยากเล่นไว้ก่อน แล้วทำการบ้านจนเสร็จ ลูกแม่เรียงลำดับความสำคัญได้ยอดเยี่ยม เป็นนักบริหารเวลาตัวยงเลยนะเนี่ย แทนการ ติ ติ ติ หรือให้ความสนใจแค่ตอนที่ลูกทำไม่ดีเท่านั้น
5. รับผิดชอบผลที่ตามมา
บางอย่างที่ลูกไม่ทำ แล้วเป็นปัญหาของลูกเอง เราต้องปล่อยให้เขาได้รับผลที่ตามมาจากการตัดสินใจของเขา เช่น หากเหลือเวลากินข้าวอีกแค่ 5 นาที เพราะมัวแต่เล่น ก็ต้องให้ลูกกินแค่ 5 นาที พอถึงกำหนดเวลา ก็ต้องพาขึ้นรถไปโรงเรียนเลย เพื่อให้เขารู้ว่า หากบริหารเวลาไม่ดีและไม่ควบคุมตัวเอง ผลจะเป็นอย่างไร
(อ่านเพิ่มเติม “ลูกควบคุมตัวเอง” ได้ ต้องฝึกให้สมองได้ “คิด”)
การปลูกฝังพฤติกรรมที่เหมาะสมจนเป็นนิสัย เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาในการฝึกฝน แค่การตามบอกตามเตือนลูก จึงยังไม่พอ แต่จำเป็นต้องอาศัยความรักและความเข้าใจจากพ่อแม่ด้วย เมื่อลูกปรารถนาแรงใจจากเรา แล้วเราจะไปขัดใจทำไม รีบตามใจ ให้แรงใจเขาดีกว่า…จริงไหมคะ?
ขอเชิญคุณแม่ตั้งครรภ์ และมีลูกวัย 0-6 ปี ร่วมฟังเสวนาฟรี! “เลี้ยงลูกเชิงบวก กระตุ้นทักษะสมอง พิชิตความสำเร็จ” โดย ผศ.ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร ในวันที่ 31 ตุลาคม 2563 สมัครด่วนจำนวนจำกัด!! อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม และสำรองที่นั่งล่วงหน้า ได้ที่ https://bit.ly/2Sek03w
ข้อมูลอ้างอิงจาก
- Thanasetkorn, P.**, Chumchua, V. Suttho, J., & Chutabhakdikul, N. (2015). The preliminary research study on the impact of the 101s: A guide to positive discipline parent training on parenting practices and preschooler’s executive function. ASIA-PACIFIC Journal of Research in Early Childhood Education, 9(1), pp. 65-89.
- Jutamard Suttho*, Vasunun Chumchua, Nuanchan Jutapakdeekul, Panadda Thanasetkorn**. The impact of the 101s: A Guide to positive discipline parent training on parenting practices and preschooler’s executive function. The 2nd ASEAN Plus Three Graduate Research Congress (AGRC). 2014;255.
เรื่อง : ผศ.ดร. ปนัดดา ธนเศรษฐกร อาจารย์สาขาพัฒนาการมนุษย์ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาพ : Shutterstock
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
บทความที่น่าสนใจอื่นๆ
8 วิธี สร้างวินัยเชิงบวก ง่ายๆ ป้องกันลูกดื้อ เริ่มได้ตั้งแต่ 1 ขวบ
วิธีบอกรักลูก ฉบับง่าย! แม้ไม่มีคำว่า “รัก” แต่ลูกรับรู้ได้!!