ในนมแม่จะมี พรีไบโอติก ซึ่งเมื่อเข้าสู่ร่างกายทารก จะเป็นอาหารของแบคทีเรียชนิดที่ดี ช่วยทำให้แบคทีเรียที่ดีเพิ่มจำนวนขึ้น เป็นการสร้างสมดุลในลำไส้ ทำให้ระบบการย่อยอาหารดีขึ้น สร้างภูมิต้านทานในลำไส้ และ ลดปัญหาการแพ้อาหาร
พรีไบโอติก (Prebiotic) เป็นใยอาหารที่ร่างกายไม่สามารถย่อย และไม่ถูกดูดซึมในระบบทางเดินอาหาร ทั้งในส่วนของกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก แต่พรีไบโอติกนี้จะถูกย่อยด้วยแบคทีเรียภายในลำไส้ใหญ่ โดยจะกระตุ้นการทำงาน และส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ทำให้จุลินทรีย์สุขภาพเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนเพิ่มมากขึ้น การหมักย่อยพรีไบโอติกของจุลินทรีย์สุขภาพจะทำให้เกิดกรดไขมันสายสั้น ซึ่งมีฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ก่อโรค ทำให้จุลินทรีย์ก่อโรคลดน้อยลงหรือตายไป มีผลทำให้การติดเชื้อในลำไส้ลดน้อยลง ลดการเกิดท้องเสียและท้องผูก ทำให้สุขภาพลำไส้ดี กรดไขมันสายสั้นที่เกิดขึ้นนี้ยังทำให้เซลล์บุผิวลำไส้แข็งแรงขึ้นอีกด้วย
ความสำคัญของสาร พรีไบโอติก
พรีไบโอติก ชนิด Oligosaccharide เช่น Inulin และ Oligofructose มีประโยชน์ต่อร่างกายมาก โดยจะกระตุ้นการทำงาน และส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์สุขภาพ อย่างเช่น แล็กโทบาซิลลัส (LACTOBACILLUS) และไบฟิโด แบคทีเรีย (BIFIDOBACTERIA) จึงช่วยปรับสมดุลของระบบทางเดินอาหาร ลดการอักเสบบริเวณลำไส้ ทำให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้อย่างเป็นปกติ ที่สำคัญช่วยเพิ่มการดูดซึมแร่ธาตุต่าง ๆ และช่วยเสริมสร้างการพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายของเด็กได้เป็นอย่างดี
ชนิดของพรีไบโอติกในนมแม่ คือ โอลิโกแซคคาไรด์ (Oligosaccharide) ที่เป็นส่วนประกอบของน้ำนมที่มีปริมาณสูงเป็นอันดับ 3 รองจากน้ำตาลแลคโตส และไขมัน เพราะเหตุนี้ลูกน้อยจึงควรได้รับนมแม่อย่างน้อยที่สุด 6 เดือน และในนมแพะเอง ก็มีพรีไบโอติก ชนิด Oligosaccharide เช่น Inulin และ Oligofructose อยู่ประมาณ 250 – 300 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งมากกว่านมวัว 4-5 เท่า และเป็นแบบเดียวกับนมแม่จึงช่วยป้องกันการติดเชื้อ การอักเสบในทางเดินอาหาร รวมถึงช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย และลดปัญหาท้องผูกได้อีกด้วย
พรีไบโอติกส์ (Prebiotics) สำคัญต่อลูกน้อยอย่างไร
พรีไบโอติกส์มีประโยชน์ต่อการเสริมสร้างภูมิต้านทานลูกน้อย โดยมีผลพิสูจน์ทางการแพทย์ที่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ด้านภูมิต้านทานที่หนักแน่นคือ
- เพิ่มจำนวนจุลินทรีย์สุขภาพในลำไส้
- ลดการเจริญเติบโตของแบคทีเรียก่อโรคในลำไส้
- ส่งเสริมเยื่อบุเมือกของลำไส้ให้แข็งแรงขึ้น
- ลดอุบัติการณ์ของการติดเชื้อ
ซึ่งนอกจากจะมีอยู่ในนมแม่แล้ว พรีไบโอติกส์ (Prebiotics) ยังมีอยู่ในพืชผักด้วย เช่น หัวหอม กระเทียม หน่อไม้ฝรั่ง (Asparagus) หัวชิคอรี่ (Chicory) อาร์ติโชค (Artichoke) กล้วย มะเขือเทศ ข้าวสาลี ฯลฯ อีกด้วย
จึงสรุปได้ว่า “พรีไบโอติกส์” เป็นสารอาหารที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายของลูกน้อยแล้ว จะเป็นอาหารของแบคทีเรียชนิดดี จึงช่วยทำให้แบคทีเรียที่ดีเพิ่มจำนวนขึ้น ช่วยในการสร้างสมดุลในลำไส้ ทำให้ระบบการย่อยอาหารดีขึ้น ลดอาการท้องผูก สร้างภูมิต้านทานในลำไส้ ที่จะช่วยป้องการการติดเชื้อในทางเดินอาหาร และลดปัญหาการแพ้อาหาร ทำให้ลูกน้อยมีพัฒนาการที่ดี ไม่ค่อยงอแง คุณพ่อคุณแม่จึงเลี้ยงลูกน้อยได้อย่างง่าย ๆ สบาย ๆ มากขึ้น
และแม้ว่าคุณแม่มีความตั้งใจและพยายามอย่างมาก ที่จะเลี้ยงลูกน้อยด้วยนมแม่ แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะทำได้ เพราะคุณแม่บางคนเกิดปัญหาในเรื่องของน้ำนมไม่เพียงพอ การมองหานมที่มีสารอาหารใกล้เคียงนมแม่มากที่สุด จึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับที่ควรวางแผนเตรียมไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ
“นมแพะ” จึงเป็นอีกทางเลือกที่คุณแม่ไว้วางใจได้ นั่นเพราะในนมแพะมีระบบการสร้างน้ำนมแบบเดียวกับนมแม่ นั่นคือ “ระบบอะโพรไคน์” ทำให้มีสารอารที่ดีมีประโยชน์มากมาย ซึ่งนอกจากนมแพะจะมีคุณค่าพรีไบโอติกส์สูงแล้ว ทั้งยังอุดมไปด้วย CPP (Casein Phosphopeptides) CPP คือ โปรตีนนุ่มในนมแพะมีลักษณะที่นุ่ม ย่อยง่าย ช่วยในการดูดซึมเกลือแร่ต่าง ๆ ที่สำคัญต่อร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น แคลเซียม เหล็ก สังกะสี แมกนีเซียม และโปรตีนในนมแพะยังเป็นโปรตีนคุณภาพดี ที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีแอลฟาเอสวันต่ำ มีเบต้าเคซีนสูง ทำให้นมแพะถูกย่อยและดูดซึมง่าย และเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน มีสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ ทั้งในนมแพะยังช่วยลดความเสี่ยงการแพ้ในเด็กเล็กที่ดื่มนมแพะอีกด้วย เนื่องจากนมแพะย่อยและดูดซึมสารอาหารได้ง่ายและรวดเร็วกว่านมวัว ทั้งยังมีนิวคลีโอไทด์ตามธรรมชาติ 5 ชนิดที่คล้ายกับนมแม่ ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ครบถ้วน