2.จมน้ำ
สมาคมกุมารแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกาเคยออกประกาศเตือนภัยว่า ใครมีลูกหลานอยู่ในวัย 1 – 2 ขวบจะต้องระวัง เรื่องการจมน้ำตายให้มาก ในเด็กไทยของเราเองมีสถิติที่น่ากลัวมิใช่น้อย อัตราการตายจากการจมน้ำในเด็ก 1 – 2 ขวบอยู่ที่ประมาณ 13 – 14 คนต่อ 100,000 คน โดยเด็กวัย 1 – 4 ขวบมีตัวเลขจมน้ำเสียชีวิตสูงกว่าเด็กญี่ปุ่น 3 เท่า และสูงกว่าเด็กสวีเดนอยู่ถึง 7 เท่า ที่น่าตกใจกว่านั้นก็คือ จุดที่เด็กๆ ของบ้านเราจมน้ำเสียชีวิตก็คือ แหล่งน้ำภายในบ้านหรือใกล้ๆ บ้าน เช่น ถังน้ำหรือกะละมังที่ปริ่มน้ำ โอ่งน้ำที่ไม่ปิดฝาหรือไม่มีฝาปิด บ่อน้ำที่ไม่มีรั้วกั้น รวมถึง ส้วมชักโครกที่เปิดฝาไว้ เช่นตัวอย่าง 2 เรื่องนี้
…แม่ใจสลาย ลูก 1 ขวบจมถังน้ำดับอนาถ! เนื้อข่าวมีอยู่ว่า เด็กวัยขวบเศษอยู่บ้านตามลำพังโดยแม่และป้าต่างออกไปขายของซึ่งอยู่ห่างออกไปไม่เกิน 10 เมตร เมื่อแวบกลับมาดูลูกก็พบว่าทั้งหัวและตัวของลูกทิ่มลงไปในถังน้ำที่สูงราว 40 เซนติเมตร และมีน้ำอยู่ครึ่งถัง!
…เมื่อคุณแม่ท่านหนึ่งมัวง่วนอยู่กับการทำงานบ้าน จนรู้ตัวอีกทีว่าลูกหายไป ก็มาพบลูกสาววัย 8 เดือน นอนคว่ำหน้าลงไปในกะละมังที่รองน้ำไว้ ลูกน้อยเนื้อตัว ซีดเซียว คุณแม่พยายามปฐมพยาบาลโดยการแบกพาดบ่า แล้วเขย่าๆ (ซึ่งเป็นวิธีที่ผิด) เมื่อเห็นว่าลูกไม่ฟื้นจึงรีบ ส่งไปโรงพยาบาล เด็กเข้ารักษาตัวในห้องไอซียู อีก 7 วัน ต่อมาเด็กน้อยก็เสียชีวิตด้วยอาการติดเชื้อที่ปอด
“ในเด็กไทยของเราเองมีสถิติที่น่ากลัวมิใช่น้อย อัตราการตายจากการจมน้ำในเด็ก 1 – 2 ขวบอยู่ที่ประมาณ 3 – 14 คนต่อ 100,000 คน โดยเด็กวัย 1 – 4 ขวบมีตัวเลขจมน้ำเสียชีวิตสูงกว่าเด็กญี่ปุ่น 3 เท่า และสูงกว่าเด็กสวีเดนอยู่ถึง 7 เท่า”
1.อย่าปล่อยให้ลูกคลาดสายตาเด็ดขาด โดยเฉพาะเด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ขวบยิ่งต้องดูแลใกล้ชิด ไม่ควรวางใจว่า เด็กจะหลบหลีกอันตรายต่างๆ ที่อยู่รอบตัวได้แล้ว อย่าปล่อยให้เด็กอยู่ในน้ำหรือ อยู่ใกล้แหล่งน้ำเพียงลำพัง ไม่ว่าจะเป็นอ่างน้ำในบ้านหรือบ่อน้ำสระน้ำนอกบ้าน แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ เท่าใดก็ตาม ดังนั้นถ้าคุณแม่มีธุระ เช่น ไปรับโทรศัพท์ มีคนมาเยี่ยม ไปดูทีวี ก็ให้อุ้มลูก ออกไปด้วยทุกครั้ง
2.ทำบ้านให้ปลอดภัยเสมอ ควรหมั่นสำรวจทั้งในและนอกบ้าน อยู่เสมอๆ ว่าจุดใดคือจุดเสี่ยง เมื่อพบแล้วก็ต้องรีบจัดการให้เรียบร้อย เช่น ถ้ารองน้ำไว้ในถัง ในตุ่ม ในโอ่ง ต้องปิดฝาไว้ตลอดเวลา น้ำในถังและกะละมังหากไม่ได้ใช้ให้เททิ้งและคว่ำ กะละมังและถังไว้ด้วย หากในบริเวณนั้นมีสระว่ายน้ำหรือมีบ่อให้ทำรั้วกั้นเพื่อไม่ให้เด็กๆ เข้าไปเล่นโดยไม่มีผู้ใหญ่ดูแล
3.สอนลูกวัย 5 ขวบขึ้นไปให้เรียนรู้ความปลอดภัยทางน้ำ ได้แก่ การพาไปเรียนว่ายน้ำ ฝึกทักษะการลอยตัว และว่ายน้ำเป็น รวมทั้งรู้ถึงอันตรายของน้ำ โดยเรียนว่ายน้ำกับคุณครูผู้มีความชำนาญด้านการว่ายน้ำ และไม่เพียงแค่พอให้ลูกว่ายน้ำได้เท่านั้น แต่ควรมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำด้วย นั่นคือ สอนให้รู้จักแหล่งน้ำ จุดเสี่ยงที่ลงเล่นไม่ได้ รู้จักการลอยตัวได้อย่างน้อย 3 นาที ว่ายน้ำได้อย่างน้อยประมาณ 15 เมตร เพื่อเอาชีวิตรอดยามเกิดเหตุฉุกเฉิน และสุดท้ายต้องมีพฤติกรรมการใช้ชูชีพเสมอ เมื่อต้องเดินทางทางน้ำ ส่วนทักษะในการช่วยเหลือผู้อื่น (ที่จมน้ำ) นั้นก็สามารถฝึกฝนต่อไปได้เมื่อลูกเติบโตขึ้น
4.ส่วนลูกที่อายุน้อยกว่า 5 ขวบ หากพอจะฝึกฝนการรู้จักช่วยเหลือตัวเองให้โผล่พ้นน้ำขึ้นมาได้เมื่อตกน้ำ และพอจะประคับประคองตนเองได้เพื่อให้ผู้พบเห็นช่วยได้ทัน ก็สามารถลองฝึกในสถาบันที่ได้มาตรฐานและมั่นใจได้
5.จูงมือเด็กๆ ไปสำรวจจุดเสี่ยงด้วยกัน พร้อมกับให้คำแนะนำ และคำห้ามปรามในเรื่องของความปลอดภัย เช่น พาไปสระว่ายน้ำแล้วเดินไปดู หรือสัมผัสถึงความลื่นของขอบสระที่ไม่ควรวิ่งเล่นในบริเวณนี้เด็ดขาด แล้วแนะนำอีกว่า ก่อนลงว่ายน้ำจะต้องทำการวอร์มอัพ หรือบริหารร่างกายก่อนลงสระเพื่อให้ร่างกาย ได้ปรับสภาพความพร้อมก่อนจะออกกำลังกาย มิฉะนั้นอาจเกิดปัญหากล้ามเนื้อ ได้รับบาดเจ็บ กล้ามเนื้อเกร็ง หรือตะคริว กินระหว่างกำลังว่ายน้ำจนเป็นอันตรายได้
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่