- ชนิดและปริมาณของยาหรือสารเคมีที่ได้รับ คุณแม่ท้องควรใช้ยาในขนาดที่ต่ำที่สุดที่ให้ผลในการรักษาในระหว่างการตั้งครรภ์ และใช้ในระยะเวลาสั้นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาหลายชนิดพร้อมกันหรือการใช้ยาสูตรผสมในการรักษาโรคหรืออาการต่างๆ
- ปัจจัยทางด้านพันธุกรรม
- ภาวะของคุณแม่ท้อง เช่น อายุ ภาวะโภชนาการ หรือโรคประจำตัว
- เลือกวิธีการรักษาโดยไม่ใช้ยาเป็นอันดับแรก เมื่อไม่ได้ผลจึงจะพิจารณาใช้ยาโดยควบคู่ไปกับการรักษาโดยไม่ใช้ยาเพื่อให้มีการใช้ยาน้อยที่สุด และเลือกใช้ยาเท่าที่จำเป็นที่มีข้อมูลความปลอดภัยต่อลูกในท้องมากที่สุด
- การใช้ยาทุกชนิด* สำหรับแม่ท้องควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์และเภสัชกรอย่างใกล้ชิด
หมายเหตุ : สำหรับว่าที่คุณแม่ที่เผลอกินยาสตรีขับเลือดไปโดยไม่รู้ว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์อยู่นั้น หากไม่ได้รับประทานในปริมาณมาก ก็อาจจะไม่มีผลอะไรกับลูกในครรภ์ แต่ถ้ากังวลก็สามารถไปให้คุณหมอสูติเพื่อตรวจเช็กดูความแข็งแรงสมบูรณ์ของลูกในครรภ์ได้ เพราะหากมีอะไรผิดพลาดคุณหมอก็จะให้ยุติการตั้งครรภ์
และต่อไปนี้คือรายชื่อ ยาที่คนท้องห้ามกิน ห้ามใช้ โดยจะเป็นชื่อสามัญทางยา ที่ห้ามใช้ในหญิงมีครรภ์ เนื่องจากอาจทำให้เป็นอันตรายต่อแม่ท้องเองและลูกน้อยในครรภ์ หรือทำให้ทารกเกิดความพิการโดยกำเนิดได้
(คลิกที่ภาพ..เพื่อขยายดูภาพขนาดใหญ่)
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : www.skh.moph.go.th
ยาที่คนคนกินได้
ส่วนใหญ่แล้วยาที่ใช้ได้กับแม่ท้องจะเป็นยาสามัญประจำบ้านที่มักมีอยู่ในตู้ยาประจำบ้าน ซึ่งถ้าเจ็บป่วยไม่รุนแรงก็สามารถนำมาใช้เพื่อบรรเทาอาการในเบื้องต้นได้ โดยองค์การอาหารและยาได้แบ่งระดับของยาเป็น A, B, C, D และ X เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยากับกลุ่มคุณแม่ตั้งครรภ์ ไว้ดังนี้
ระดับA จากการศึกษาในคนพบว่า ไม่มีอันตรายต่อทารกในครรภ์√
ระดับ B จากการศึกษาในสัตว์ทดลอง ไม่พบว่ามีอันตรายต่อลูกสัตว์ในครรภ์ แต่ยังไม่มีข้อมูลการศึกษาในคน หรือมีข้อมูลจากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า… มีผลกระทบต่อลูกในครรภ์ของสัตว์ แต่จากการศึกษาในคนพบว่า ไม่มีอันตรายต่อทารกในครรภ์แต่อย่างใด
ระดับ C จากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า มีผลกระทบต่อลูกสัตว์ในครรภ์ แต่ยังไม่มีข้อมูลจากการศึกษาในคน หรือยังไม่มีข้อมูลการศึกษาทั้งในคนและในสัตว์ทดลอง
ระดับ D จากการศึกษาในคนพบว่า มีผลกระทบต่อทารกในครรภ์ แต่มีประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ยา จึงยังเป็นที่ยอมรับได้อยู่
ระดับX จากการศึกษาในคนพบว่ามีอันตรายต่อทารกในครรภ์
ซึ่งรายชื่อยาที่มีการใช้บำบัดอาการเจ็บป่วยของคุณแม่ท้องที่มีการใช้อยู่บ้างตามอาการของโรคที่พบได้บ่อย มีดังต่อไปนี้…
(คลิกที่ภาพ..เพื่อขยายดูภาพขนาดใหญ่)
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : 122.154.49.134/knhosdrug/druganc.pdf
อย่างไรก็ดี เมื่อทราบแล้วว่า ยาที่คนท้องกินไม่ได้ หรือ ยาที่คนท้องกินได้ ใช้ได้ มีชื่อตัวยาใดบ้าง แต่สำหรับการรับประทานยาบำรุงครรภ์ ที่คุณหมอจ่ายให้นั้นมีคุณแม่ท้องหลายคนคิดว่าจะทำให้ตัวเองอ้วน บ้างก็กลัวว่าทารกในครรภ์จะอ้วนเกินไป ทำให้คลอดลูกได้ลำบาก ก็เลยไม่ยอมกินยาบำรุงตามที่หมอสั่ง ซึ่งเรื่องนี้เป็นความเข้าใจผิดอย่างมาก เพราะยาบำรุงครรภ์ที่หมอจ่ายมานั้นจะประกอบด้วยวิตามินรวมหรือวิตามินบีรวม ธาตุเหล็ก แคลเซียม ไอโอดีน รวมทั้งแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับคุณแม่ท้อง เมื่อกินเข้าไปแล้วอาจทำให้เรอออกมามีกลิ่นบ้าง และทำให้อุจจาระออกมาเป็นสีดำ แต่ก็ไม่ต้องตกใจ เพราะไม่มีอันตรายแต่อย่างใด
อีกทั้งยาบำรุงเหล่านี้ก็ไม่ทำให้คุณแม่อ้วนขึ้นด้วย (ขึ้นอยู่กับอาหารที่รับประทานเข้าไปมากกว่า) แต่จะทำให้ร่างกายของคุณแม่แข็งแรงมีความทนทานต่อการคลอดลูก ร่างกายจะเตรียมเลือดไว้ให้เพียงพอเผื่อตกเลือด ดังนั้น ถ้าต้องการให้คุณแม่และลูกในครรภ์แข็งแรง คลอดลูกได้ง่าย คุณแม่ก็ควรจะกินยาบำรุงที่หมอให้มาอย่างสม่ำเสมอด้วยนะคะ
อ่านต่อบทความอ่านน่าสนใจ คลิก :
- สมุนไพรไทย บำรุงครรภ์ และบำรุงน้ำนม ตัวไหนที่คุณแม่ทานได้!
- ยาที่แม่ท้องต้องระวังเพื่อความปลอดภัยของคุณแม่ลูกในครรภ์
- สภากาชาดไทยโพสต์เตือน! ไม่อยากให้ลูกพิการตั้งแต่ในครรภ์..แม่ท้องอย่าขาดโฟลิก
- แม่ท้องดูแลตัวเองง่ายๆ ยามเจ็บป่วย
- จ่ายยาผิด เรื่องที่คุณแม่ท้องต้องระวัง
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : www.bangkokhealth.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่