ความผิดปกติของน้ำคร่ำ
จากข้อมูลของ อ.พญ. สุชยา ลือวรรณ สรุปว่า น้ำคร่ำถูกสร้างมาจากคุณแม่ และลูกน้อยในครรภ์ ทำหน้าที่ให้ลูกน้อยเคลื่อนไหวได้สะดวก ป้องกันการกระทบกระแทก รักษาอุณหภูมิ เป็นแหล่งอาหาร และสร้างแรงดันน้ำในโพรงน้ำคร่ำ ซึ่งมีส่วนช่วยขยายปากมดลูกเมื่อถึงเวลาที่คุณแม่เจ็บครรภ์คลอด
ปริมาณน้ำคร่ำตามปกติ คือ
- 6 สัปดาห์ มีน้ำคร่ำ 8 มล.
- 12 สัปดาห์ มีน้ำคร่ำ 50-80 มล.
- 16 สัปดาห์ มีน้ำคร่ำ 200 มล.
- 20 สัปดาห์ มีน้ำคร่ำ 400 มล.
- 36-38 สัปดาห์ มีน้ำคร่ำ 1,000 มล.
- 40 สัปดาห์ มีน้ำคร่ำน้อยกว่า 1,000 มล.
- 42 สัปดาห์ ปริมาณน้ำคร่ำจะลดลงเรื่อยๆ อาจเหลือเพียง 200-300 มล.
การวัดปริมาณน้ำคร่ำ นิยมวัดด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อให้ทราบว่ามีน้ำคร่ำปกติหรือไม่ ถ้าปริมาณน้ำคร่ำผิดปกติไม่ว่ามากหรือน้อย ก็จะมีผลต่อการตั้งครรภ์ที่ไม่ดี ซึ่งถ้าคุณแม่มีจำนวนน้ำคร่ำมากจะเรียกว่า “ครรภ์แฝดน้ำ”
ครรภ์แฝดน้ำคืออะไร?
ครรภ์แฝดน้ำ หรือครรภ์มานน้ำ คือภาวะของการตั้งครรภ์ที่มีน้ำคร่ำมากผิดปกติ เกิน 95% ของแต่ละอายุครรภ์ คือมากกว่า 2,000 มล. ตอนคลอดครบกำหนด ซึ่งจำนวนน้ำคร่ำที่มากจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วภายใน 2-3 วัน อาการนี้พบประมาณ 1% ของการคลอด ส่วนใหญ่จะเพิ่มขึ้น 2-3 ลิตร ถ้ามากกว่า 3 ลิตรจะพบ 1:1,000 ของการคลอด ซึ่งพบได้น้อย ทำให้ลูกน้อยมีโอกาสเป็นเบาหวาน และพิการคือไม่มีกะโหลก หรือหลอดอาหารตีบตัน และเม็ดเลือดแตก
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่