2.ลูกน้อยอยู่ในแนวขวาง
กรณีนี้หนักหนาสาหัสกว่าลูกไม่กลับหัว เพราะเมื่อลูกอยู่ในแนวขวาง ลูกน้อยจะใช้ไหล่เป็นส่วนนำในการคลอดออกมา ซึ่งไหล่ มีขนาดใหญ่กว่าศีรษะ หรือก้น ลูกน้อยจึงไม่สามารถคลอดออกมาได้ ในสมัยนี้ต้องใช้วิธีการผ่าตัดทางหน้าท้อง แต่ในสมัยก่อนยังไม่มีการผ่าตัด การคลอดจึงอันตรายมากจากภาวะแทรกซ้อน โดยสูติแพทย์จะใช้เครื่องมือ เช่น กรรไกร หรือคีมตัดทารก ซึ่งส่วนใหญ่จะเสียชีวิตไปแล้ว และดึงออกมาทางช่องคลอด เรียกว่า หัตถการทำลายเด็ก
ในสมัยนี้การผ่าตัดทางหน้าท้อง มีความปลอดภัยสูงมาก จึงไม่มีสูติแพทย์คนไหนใช้หัตถการทำลายเด็กแล้ว เพราะทารกทุกคนจะเสียชีวิต และเป็นอันตรายต่อช่องคลอดของคุณแม่สูง เพราะอาจทำให้ฉีกขาด และเสียเลือดได้ ซึ่งถ้ารอโดยไม่ทำอะไรเลย ก็เสี่ยงภาวะมดลูกแตก ทำให้คุณแม่ตกเลือดในช่องคลอด และเสียชีวิตในเวลาไม่นาน เนื่องจากเกิดภาวะช็อค
คุณอุทัย ไชยานนท์ ได้เขียนถึงการตายของแม่นากเอาไว้ในหนังสือ ดังนี้ “ทารกนอนขวาง ไม่เอาหัวหรือเท้าออกมา แต่ขวางทั้งลำตัว แม่นากเบ่งแล้วเบ่งอีก แต่ลูกก็ไม่ยอมออก เป็นอยู่อย่างนั้น 3 วัน และในวันที่ 3 แม่นากรวบรวมกำลังเบ่งครั้งสุดท้าย เบ่งอย่างสุดกำลัง จนขาดใจตายไปพร้อมกับทารก” เมื่อพิจารณาดูแล้ว มดลูกของแม่นาก น่าจะแตกในวันที่ 3 ของการเบ่ง ทำให้เสียเลือด และเสียชีวิตไปพร้อมกับลูกในที่สุด
ในกรณีนี้หากหมอตำแยรู้จักการคัดท้อง หรือโกยท้อง ก็อาจจะทำให้ส่วนศีรษะ หรือส่วนก้นนำออกมาได้ ซึ่งทางการแพทย์ปัจจุบันเรียกว่า การหมุนกลับให้ส่วนนำเป็นศีรษะทางหน้าท้อง ซึ่งทำให้มีโอกาสคลอดเป็นปกติได้
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่