การรักษาตากุ้งยิง
1.อาการระยะแรก ไม่มีตุ่มนูน แค่อักเสบ แดง หรือเพิ่งเริ่มขึ้นตุ่มฝีใหม่ๆ ยังไม่กลัดหนอง
- งดใช้เครื่องสำอางบริเวณรอบดวงตาทุกชนิด งดใส่คอนแทคเลนส์ ห้ามบีบหรือเค้นเอาหนองออก เพราะจะทำให้อักเสบมากขึ้น ถ้าหนองแตกเองให้ล้างด้วยน้ำต้มสุก ไม่ขับรถเพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ ควรพักสายตาเป็นระยะ
- เช็ดตาให้สะอาดด้วยน้ำอุ่นวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น เช็ดจากหัวตาไปหางตา รักษาความสะอาดบนใบหน้าอยู่เสมอ
- ประคบตาด้วยน้ำอุ่นจัดๆ โดยใช้ผ้าสะอาดห่อปลายด้ามช้อน ชุบน้ำอุ่นจัดๆ กดบริเวณหัวฝี และนวดเบาๆ วันละ 4 ครั้ง ครั้งละ 20-30 นาที จะช่วยทำให้เลือดมาเลี้ยงมากขึ้น ช่วยต่อสู้กับเชื้อโรค ทำให้ไขมันที่อุดตันต่อมเปิดออก ทำให้หนองไหลออกมาเอง และค่อยๆ ดีขึ้น
- หลังจากประคบตาทุกครั้ง ให้ใช้ยาป้ายตา หรือหยอดยาปฏิชีวนะ เช่น ยาป้ายตาเทอรามัยซิน หรือยาหยอดตาอิริโทรมัยซิน (ควรปรึกษาเภสัชกรก่อนเสมอ) ถ้าอาการไม่ลดลง ควรพบแพทย์
- ถ้ามีอาการปวด ให้รับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล ถ้าหนังตาบวมแดง หรือมีต่อมน้ำเหลืองที่หน้า หูโต ให้รับประทานยาไดคล็อกซาซิลลิน หรืออิริโทรมัยซิน
- โดยทั่วไปถ้าไม่ได้ใช้ยาจะหายภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่ถ้าไม่ดีขึ้นให้ใช้ยาตามคำแนะนำของเภสัชกร ถ้ายังไม่ดีขึ้นให้รีบไปพบแพทย์
- ถ้ามีอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์ ได้แก่ อาการแย่ลง หรือไม่ดีขึ้นใน 1-2 สัปดาห์ มีก้อนขนาดใหญ่มาก มีเลือดออก มีตุ่มน้ำที่เปลือกตา มีแผลตกสะเก็ด ตาแดงทั่วไปหมด สายตาผิดปกติ แพ้แสงแดด กลับมาเป็นซ้ำหลังจากรักษาหายดีแล้ว
2.อาการตุ่มฝีเป่งชัดเจน ให้รีบพบแพทย์ เพื่อสะกิดแผล หรือผ่าเพื่อระบายหนองออก และรับประทานยา
- ห้ามขยี้ตาโดยเด็ดขาด ปิดตาไว้ให้แน่น เพื่อป้องกันเลือดออก และช่วยลดอาการบวม 2-3 ชั่วโมง
- เมื่อเปิดตาแล้วให้เริ่มใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง ถ้ามีอาการปวด ให้รับประทานยาแก้ปวด
- ใช้สำลีชุบน้ำสะอาดบิดให้หมาด แล้วปิดตาครั้งละ 15 นาที ถ้าเกิดรอยเขียวคล้ำหลังจากผ่า ให้ประคบน้ำแข็ง
3.อาการเป็นๆ หายๆ อาจมีภาวะซ่อนเร้น เช่น เบาหวาน สายตาผิดปกติ เป็นต้น ควรตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัด และหมั่นทำความสะอาดตาบ่อยๆ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
การป้องกันตากุ้งยิง
1.รักษาความสะอาดร่างกาย และเสื้อผ้าอยู่เสมอ โดยเฉพาะใบหน้า ดวงตา มือ ระวังอย่าให้เส้นยมแยงตา
2.ถ้ามีแนวโน้มติดเชื้อได้ง่าย ให้ล้างเปลือกตาวันละ 1 ครั้ง หรือประคบน้ำอุ่นทุกๆ 2 วัน
3.ถ้าใช้เครื่องสำอาง ควรเช็ดทำความสะอาดให้หมดจดก่อนนอนทุกครั้ง ไม่ใช้เครื่องสำอางร่วมกับผู้อื่น
4.เลิกนิสัยชอบขยี้ตา ไม่ใช่มือขยี้ตาบ่อยๆ หรือไม่ใช้ผ้าเช็ดหน้าที่ไม่สะอาดเช็ดตา
5.หลีกเลี่ยงฝุ่น ลม แสงแดดจ้า ควันบุหรี่ ถ้าจำเป็นให้ใช้แว่นกันแดด หรือหมวก ป้องกันเชื้อโรคสัมผัสตา
6.ใช้สายตาให้พอดี อย่าฝืนใช้สายตามากเกินไป เพราะจะทำให้ปวดกระบอกตา เมื่อยล้า แสบเคืองตาได้
7.รักษาสุขภาพทั่วไปให้แข็งแรง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์
8.ดูแลร่างกายให้ได้รับวิตามินเออย่างเพียงพอ รับประทานอาหารที่มีเบต้าแคโรทีนสูง เช่น ไข่แดง เครื่องใน
9.ควบคุมโรคประจำตัว หรือโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ไซนัสอักเสบ ฟันผุ จะช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ดี
10.ถ้ามีประวัติเป็นกุ้งยิงบ่อยๆ ให้งดใช้เครื่องสำอาง หมั่นทำความสะอาดโคนขนตา พบแพทย์หาสาเหตุ
11.ควรรักษาทันทีเมื่อเริ่มเป็น ด้วยการประคบน้ำอุ่นจัดๆ ใช้ยาปฏิชีวนะชนิดป้าย หรือหยอดตา
12.ถ้ามีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ภูมิคุ้มกันต่ำ ควรรีบพบแพทย์เพื่อรักษาให้เหมาะสม ไม่ควรรักษาเอง
เครดิต: Kritsana Hongsong, MedThai
อ่านเพิ่มเติม คลิก!!
ลูกติดเชื้อในกระแสเลือด เพราะแม่ล้างมือไม่สะอาด
สบู่ไข่ไดโนเสาร์ ทำให้ลูกน้อยรักการล้างมือ
ชวนเด็กๆ มา “ล้างมือ” ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่กัน!
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่