3.ยาคุมกำเนิดกับมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
จากงานวิจัยพบว่า คนกินยาคุมกำเนิด เป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกน้อยกว่าคนทั่วไป
4.ยาคุมกำเนิดกับมะเร็งปากมดลูก
นายแพทย์พูนศักดิ์ สุชนวณิช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสูติ-นรีเวช โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ประชาชื่น ได้ให้ความรู้เอาไว้ว่า ภายในช่องคลอดจะมีความเป็นกรดอ่อนๆ เพื่อรับประทานยาคุมกำเนิดเข้าไป ฮอร์โมนจะเป็นด่างอ่อนๆ บางครั้งอาจมีการติดเชื้อ อักเสบได้ง่าย คุณแม่ที่รับประทานยาคุมไปนานๆ อาจมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูกสูง ยาคุมกำเนิดมีหลักฐานบ่งชี้ว่าทำให้มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น แต่ปัจจัยเสี่ยงที่เด่นและชัดเจนกว่า คือการติดเชื้อไวรัส HPV
นายแพทย์พูนศักดิ์ สุชนวณิช ชี้แจงว่า ยาคุมกำเนิดถูกออกแบบมาให้คุมในระยะเวลาสั้น 1-3 ปี การกินยาคุมนานๆ อาจทำให้มีการออกฤทธิ์ที่ตับ เพราะตับต้องกรองสารอาหารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร หรือสารพิษ คุณแม่จึงควรกินยาคุมกำเนิดในระยะเวลาสั้นๆ
จากงานวิจัยหลายรายการพบว่า ยาคุมกำเนิด ยิ่งใช้นาน ยิ่งมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งตับมากขึ้น สำหรับผู้หญิงผิวขาว และผิวดำ แต่ไม่เพิ่มความเสี่ยงในผู้หญิงเอเชีย และอัฟริกา ซึ่งมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งตับสูงอยู่แล้ว
โดยปกติ ยาคุมกำเนิดมีผลชั่วคราว ไม่ควรกินติดต่อกันเกิน 5 ปี ถ้ามีความจำเป็นก็ไม่ควรเกิน 10 ปี และถ้าต้องการคุมกำเนิดถาวรควรเลือกการทำหมัน หรือใส่ห่วงคุมกำเนิดดีกว่า
กินยาคุมแล้วอารมณ์ทางเพศลดลง?
นายแพทย์พูนศักดิ์ สุชนวณิช กล่าวว่า จากการศึกษา และเก็บตัวอย่าง พบว่า อารมณ์ทางเพศเป็นความรู้สึก ซึ่งมีผลมาจากพื้นฐานทางครอบครัว หรือคู่สมรส ไม่เกี่ยวกับยาคุมแต่อย่างใด
เครดิต: นิตยสารชีวจิต, ผู้จัดการออนไลน์, นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
อ่านเพิ่มเติม คลิก!!
ยาคุมกำเนิด กับยาชนิดอื่น กินร่วมกันแล้วไม่ได้ผล
กินยาคุม ทำไมยังท้องได้
อึ้ง!! เด็กซื้อยาคุมกำเนิด กับผลข้างเคียงที่ตามมาในอนาคต
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่