แจก ตารางจดบันทึกลูกดิ้น พร้อมวิธีนับลูกดิ้น - Amarin Baby & Kids
ตารางจดบันทึกลูกดิ้น

แจก ตารางจดบันทึกลูกดิ้น พร้อมวิธีนับลูกดิ้น เพื่อความปลอดภัยของลูกในท้อง

event
ตารางจดบันทึกลูกดิ้น
ตารางจดบันทึกลูกดิ้น

วิธีนับลูกดิ้น

  • จดบันทึกครั้งละ 1 ชั่วโมง หลังอาหาร 3 มื้อ คือ เช้า กลางวัน และช่วงเย็น
  • เมื่อเริ่ม นับลูกดิ้น ให้ลงบันทึก วันที่ / เดือน / พ.ศ. แล้วลงเวลาที่เริ่มนับไว้ด้วย
  • โดยการเริ่มนับการดิ้นของลูกในครรภ์ จะหมายถึง การถีบ การเตะกระทุ้ง  โก่งตัว หมุนตัว แต่ถ้าเป็นการตอดต่อเนื่องยาวๆ / สะอึกไม่นับว่าเป็นการดิ้น
  • และให้เริ่มนับภายใน 1 ชั่วโมง ซึ่งหลังจากรับประทานอาหารต้องนับได้ 4 ครั้ง หากดิ้นไม่ถึง 4 ครั้ง ให้นับเพิ่มอีก 1 ชั่วโมง
  • กรณีที่นับเพิ่มเป็น 2 ชั่วโมงแล้ว ยังไม่ครบ 4 ครั้ง ให้รีบพบแพทย์ทันทีอย่ารอนับในมื้อถัดไป เพราะนั้นหมายความว่าลูกน้อยในครรภ์มีภาวะขาดออกซิเจน
  • ถ้านับรวมกันทั้งเช้า กลางวัน เย็น แล้วน้อยกว่า 10 ครั้งให้รีบพบแพทย์ทันที
  • กรณีที่ครบ 1 ชั่วโมงแล้ว หากลูกทารกยังดิ้นต่ออีกไม่ต้องนำมารวมในตาราง

 

ตัวอย่างบันทึกลูกดิ้น ที่ “ปกติ”

ตารางจดบันทึกลูกดิ้น
ภาพตัวอย่าง ตารางจดบันทึกลูกดิ้น ซึ่ง บันทึกนี้ แปลว่า ลูกดิ้นเป็นปกติ

 

แบบฟอร์มการนับลูกดิ้น ตารางจดบันทึกลูกดิ้น

ตารางจดบันทึกลูกดิ้น
แบบฟอร์มการนับลูกดิ้น ตารางจดบันทึกลูกดิ้น

คลิกที่นี่! เพื่อดาวน์โหลด ตารางบันทึกลูกดิ้น

 

ทั้งนี้ การบันทึกลูกดิ้นในสมุดสีชมพู หรือ สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก ที่ได้ตอนฝากครรภ์ ก็มีตารางจดบันทึกลูกดิ้น ให้คุณแม่ใช้ได้เหมือนกัน หรือเพื่อทันเข้ากับคุณแม่ยุค 4.0 ก็มี แอพพลิเคชั่นนับลูกดิ้น ที่คุณแม่สามารถดาวน์โหลดลงโทรศัพท์มือถือไว้เพื่อ นับการดิ้นของลูก ก็จะสะดวกได้อีกทางหนึ่ง

ตารางจดบันทึกลูกดิ้น

 

ระบบ Android คลิกดาวน์โหลดแอพ ที่นี่ >> Kickme – Baby Kicks Counter

ตารางจดบันทึกลูกดิ้น

 

ระบบ iOS คลิกดาวน์โหลดแอพ ที่นี่ >> การนับจำนวนการดิ้นของทารก

 

และจาก ตารางจดบันทึกลูกดิ้น ถ้าหากครบ 12 ชั่วโมง แล้วลูกยังดิ้นไม่ครบ 10 ครั้ง ให้คุณแม่รีบไปพบคุณหมอ โดยคุณหมออาจจะใช้เครื่องฟังเสียง ฟังเสียงหัวใจหรือตรวจอัลตราซาวนด์ หรือใช้เครื่องตรวจสภาพของลูกน้อยในครรภ์ เพื่อดูว่าผิดปกติหรือไม่ต่อไป

 

อย่างไรก็ดี การดิ้นของลูก ในครรภ์เป็นสิ่งสำคัญที่บ่งบอกว่า ลูกน้อยมีชีวิตปกติดี ในทางตรงกันข้าม ถ้าลูกไม่ดิ้นหรือดิ้นน้อยลง อาจเป็นสัญญาณว่าลูกน้อยในครรภ์อาจกำลังตกอยู่ในอันตราย โดยเฉพาะเมื่อใกล้ครบกำหนดคลอด  ถ้าลูกดิ้นน้อยหรือดิ้นห่างลงไปเรื่อยๆ หรือหยุดดิ้น ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับลูก ซึ่งบางทีอาจร้ายแรงมากจนลูกเสียชีวิตได้ ซึ่งถ้าไม่มีเวลาแต่คุณแม่อยากทราบว่าลูกดิ้นเป็นปกติหรือไม่ ก็ควรสังเกตและนับจำนวนครั้งที่ลูกดิ้นต่อวันแบบคร่าวๆ ได้

อ่านต่อบทความน่าสนใจอื่นๆ คลิก :


ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : www.sikarin.com , topicstock.pantip.com

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up