การป้องกันโรคธาลัสซีเมีย
เนื่องจาก โรคธาลัสซีเมีย เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ดังนั้น วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ ควรปรึกษาแพทย์เมื่อต้องการมีลูก เพื่อตรวจคัดกรองว่าคู่สามี ภรรยามีพาหะธาลัสซีเมียหรือไม่ นอกจากนี้ ผู้ป่วยธาลัสซีเมียสามารถควบคุมอาการของโรคไม่ให้รุนแรงและใช้ชีวิตได้ตามปกติ โดยต้องปฏิบัติตามคำแนะนำ และแผนการรักษาของแพทย์อย่างเคร่งครัด และใช้ชีวิตให้ถูกสุขลักษณะค่ะ การตรวจเพื่อป้องกันลูกน้อยไม่ให้เกิดโรคธาลัสซีเมียทั้งอัลฟ่า และเบต้าจากพ่อแม่ที่เป็นพาหะ ได้แก่
1.ตรวจหาพาหะธาลัสซีเมียก่อนตั้งครรภ์
2.ตรวจยีนธาลัสซีเมียตัวอ่อนก่อนฝังตัว โดยเลือกตัวอ่อนปกติ หรือพาหะ ย้ายเข้าโพรงมดลูกเพื่อให้ตั้งครรภ์ต่อไป
3.ตรวจก่อนคลอด โดยดูดน้ำคร่ำนำเซลล์ทารกมรครรภ์ไปตรวจวินิจฉัยยีนธาลัสซีเมีย เมื่ออายุครรภ์ 17-18 สัปดาห์
การรักษาโรคธาลัสซีเมีย
- รักษาโดยวิธีการเปลี่ยนถ่ายเลือดและขับธาตุเหล็กที่มากเกินไปในเลือด ก็คือการให้เลือดกับผู้ป่วย เพื่อเพิ่มระดับฮีโมโกลบินให้สูงกว่า 6 – 7 กรัม/เดซิลิตร เป็นเวลา 21 – 23 สัปดาห์ เพื่อให้ระดับฮีโมโกลบิน ได้สูงใกล้เคียงคนปกติ (12 กรัม/เดซิลิตร) และเพื่อให้ลำไส้ ได้ดูดซึมธาตุเหล็กให้เป็นปกติอีกทั้งยังป้องกันตับและม้ามโต และต้องให้ยาขับธาตุเหล็กกับผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ แต่วิธีนี้จะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง และยังเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนอื่นๆ อีกด้วย
- รักษาด้วยการกระตุ้นให้ร่างกาย สร้างฮีโมโกลบินเอฟให้มีปริมาณที่มากขึ้นเพื่อให้เม็ดเลือดแดงมีอายุที่ยืนยาวขึ้น แล้วระดับฮีโมโกลบินก็จะสูงขึ้นไปด้วย โดยมียา 3 ตัว ที่กระตุ้นการสร้างฮีโมโกลบิน ได้แก่ Hydroxyurea, Butyrate และ Erythropoietin
- การรักษาภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากผู้ป่วยโรคนี้ จะมีอาการของโรคแทรกซ้อนมาก ซึ่งอาจต้องให้ยาปฏิชีวนะ, โรคเบาหวาน, โรคตับแข็ง, โรคต่อมไทรอยด์, กระดูกหัก, นิ่วน้ำดี, ภาวะหัวใจวาย, การกดทับประสาทไขสันหลัง
- ตัดม้ามทิ้งปกติแล้วม้ามมีหน้าที่ ในการผลิตเม็ดเลือดแดง และกำจัดเม็ดเลือดแดงที่ฝ่อทิ้ง แต่ในคนที่เป็นธาลัสซีเมีย จะมีเม็ดเลือดแดงที่เสียค่อนข้างเยอะ ทำให้ม้ามทำงานหนักมากเกินไป จนส่งผลให้ท้องบวมเป่ง และทำให้ม้ามทำงานผิดรูปแบบ คือ กำจัดเม็ดเลือดออกมากเกินไป ดังนั้นแพทย์อาจต้องตัดสินใจ ตัดม้ามของผู้ป่วยทิ้ง เพื่อลดการทำลายเม็ดเลือด และลดอาการอึดอัดของผู้ป่วย แต่การตัดม้ามทิ้งนั้น ก็มีผลเสียค่อนข้างมาก เพราะจะทำให้เกิดภาวะติดเชื้อได้ง่าย เช่น เชื้อนิวโมคอกคัสได้ แต่ก็สามารถแก้ไขได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อได้เช่นกัน
- รักษาโดยวิธีปลูกถ่ายไขกระดูกทำได้โดยการนำสเต็มเซลล์ที่ปกติ มาทดแทนสเต็มเซลล์ที่เป็นธาลัสซีเมีย แต่จะต้องหากระดูกไขสันหลังที่เข้ากันได้กับผู้ป่วย หรือสเต็มเซลล์จากสายสะดือของญาติในตระกูลเดียวกัน ซึ่งวิธีนี้มีค่ารักษาที่ค่อนข้างสูง