ประเภทของ ปรอทวัดไข้มีกี่แบบ !?
1. ปรอทแก้ว หรือ ปรอทวัดไข้แบบธรรมดา
การวัดไข้ทางรักแร้ = อายุที่เหมาะสม เหมาะสำหรับเด็กแรกเกิดและเด็กเล็ก
วิธีวัด: ก่อนการวัดไข้ควรมีการตรวจดูภายในช่องปากว่าไม่มีสิ่งใดตกค้างอยู่ เช่น ลูกอม หมากฝรั่งหรือขนม รวมไปถึงหลีกเลี่ยงการวัดไข้ทันทีหลังการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่ม แต่ควรรอเวลาอย่างน้อย 20-30 นาที เพราะอาจมีผลต่ออุณหภูมิที่วัดได้ และควรตรวจสภาพของปรอทก่อนการใช้ทุกครั้งว่าแถบสารปรอทอยู่ต่ำกว่าตัวเลข 36 องศาเซลเซียสหรือไม่ ถ้าอยู่สูงกว่าควรสะบัดให้สารปรอทลดลงมาก่อนใช้วัดไข้
จากนั้นเอาปลายกระเปาะของปรอทให้ลูกหนีบไว้อยู่กึ่งกลางรักแร้และไม่เลยออกไปด้านหลัง ควรรออย่างน้อย 4 นาที ให้แถบสารปรอทหยุดนิ่ง แล้วอ่านค่าที่วัดได้ โดยค่าอุณหภูมิปกติทางรักแร้จะต่ำกว่าการวัดทางช่องปากประมาณ 0.6 องศาเซลเซียส
ส่วนการวัดไข้ทางช่องปาก ด้วย ปรอทแก้ว วิธีนี้เหมาะสำหรับ เด็กอายุ 5 ขวบ ขึ้นไป หรือผู้ใหญ่ หากใช้ปรอทวัดไข้แบบแก้ว ควรหลีกเลี่ยงการใช้กับเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบ เพราะมีความเสี่ยงที่เด็กอาจกัดโดนปรอทแตก
ข้อดี/ข้อเสีย: เด็กบางคนอาจจะยังอมปรอทไม่เป็น อาจจะกัดแตกได้ ห้ามใช้ในกรณีที่เด็กไม่ยอมร่วมมือ และ/หรือ ในเด็กที่มีโอกาสชักจากไข้สูง เพราะอาจเกิดการชัก ขณะที่อมปรอทอยู่ในปากทำให้เกิดอันตรายได้ บางครั้งอ่านผลยากถ้าไม่ชำนาญ
2. ปรอทวัดทางก้น
อายุที่เหมาะสม สำหรับลูกน้อยวัยแรกเกิด ถึง 4 ขวบ *แต่ควรทำอย่างระมัดระวังหรือมีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแล เพราะมีความเสี่ยงในการเกิดอาการบาดเจ็บ
วิธีวัด: ก่อนวัดไข้ ให้คุณพ่อคุณแม่ตรวจสภาพของปรอทก่อนว่าอยู่ในสภาพปกติพร้อมที่จะใช้งานได้ ให้หล่อลื่นปลายของปรอท ที่มีกระเปาะปรอทอยู่ด้วยวาสลิน หรือเควาย เจลลี่เพื่อหล่อลื่น จากนั้นจับให้ลูกอยู่ในท่านอน (คว่ำ, หงาย หรือ ตะแคง) ค่อยๆ สอดใส่ปรอทเข้าทางรูก้น ลึกประมาณ 1.25-2.5 เซนติเมตร ขั้นตอนนี้ควรระมัดระวังไม่สอดเทอร์โมมิเตอร์เข้าไปลึกจนเกินไป และให้เวลาประมาณ 2 นาที ก่อนดึงออกมาอ่าน
ข้อดี/ข้อเสีย: ราคาไม่แพงให้ค่าที่มีความแม่นยำสูง โดยเฉพาะในทารกแรกเกิดแตกหักง่าย และบางครั้งอ่านผลยาก ถ้าไม่ชำนาญ เด็กโต จะไม่ค่อยชอบให้เหน็บก้น
3. เครื่องวัดอุณหภูมิแบบดิจิตอล
อายุที่เหมาะสม ใช้ได้ทั้งเด็กเล็ก และ เด็กโต
วิธีวัด: เหมือนกับปรอทวัดแบบทั่วไป โดยการนำเครื่องวัดอุณหภูมิแบบดิจิตอล หรือเทอร์โมมิเตอร์วัดไข้สอดเข้าไปที่ปาก (อมใต้ลิ้น) หรือรักแร้ โดยให้ปลายเทอร์โมมิเตอร์อยู่กึ่งกลางรักแร้และไม่เลยออกไปด้านหลัง จากนั้นหนีบเทอร์โมมิเตอร์ไว้สักพัก แล้วรอจนสัญญาณเสียงดังขึ้น จากนั้นอ่านค่าที่วัดได้ โดยค่าอุณหภูมิปกติทางรักแร้จะต่ำกว่าการวัดทางช่องปากประมาณ 0.6 องศาเซลเซียส
ข้อดี/ข้อเสีย: สะดวกตรงที่จะมีเสียงเตือน เมื่อถึงกำหนดเวลาอ่าน และอ่านได้ง่ายเพราะเป็นตัวเลขขึ้นเลย แต่จะมีราคาแพงกว่าปรอทวัดไข้แบบธรรมดา อีกทั้งความแม่นยำในการวัดอาจด้อยกว่าปรอทแก้วเล็กน้อย และอาจเสียได้ง่าย ซึ่งมีข้อควรระวังด้วย คือ ห้ามนำไปล้างน้ำหรือทำตกกระแทก เพราะอาจทำให้พังได้
4. แถบเทปวัดไข้
อายุที่เหมาะสม เป็นวิธีการวัดที่เหมาะกับเด็กทุกวัย เพราะเป็นวิธีที่ง่าย สะดวกและวัดไข้ได้อย่างรวดเร็ว
วิธีใช้: ก่อนการวัดไข้ควรมีการทำความสะอาดผิวบริเวณหน้าผากลูกให้เรียบร้อย จากนั้นนำเอาแผ่นแปะทาบตรงกลางหน้าผาก จากนั้นกดเบา ๆ ทิ้งไว้ประมาณ 15 วินาที ตัวเลขจะค่อยๆ ปรากฏชัดขึ้น คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถอ่านค่าอุณหภูมิได้เลยหลังจากที่ตัวเลขหยุดการเคลื่อนไหวแล้ว
ข้อดี/ข้อเสีย: ให้ความสะดวกในการวัดไม่ต้องคอยให้เด็กร่วมมือ แต่ค่าที่ได้จะมีความคลาดเคลื่อนได้มาก ทั้งสูงกว่า หรือต่ำกว่าที่เป็นจริง
5. เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรดที่ใช้วัดทางหู/หน้าผาก
อายุที่เหมาะสม สำหรับลูกน้อยวัย 3 ขวบ ขึ้นไป
วิธีวัด: ทำได้สะดวก เพราะใส่ที่รูหู โดยดึงใบหู ให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม (ดึงขึ้น และเบน ไปทางด้านหลังเล็กน้อย) ควรทำการวัดซ้ำ อย่างน้อยหนึ่งหรือสองครั้ง และหาเป็นค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิ
ข้อดี/ข้อเสีย: ใช้เวลาสั้นมากในการอ่าน และ มีความไวต่ออุณหภูมิของแก้วหู ได้ดีมาก เพราะใช้เทคโนโลยี ในการตรวจหาความร้อนโดย อินฟราเรด ค่าจะคลาดเคลื่อนมากถ้าใช้กับเด็กเล็ก เพราะรูหูมีขนาดเล็ก หรือเด็กที่มีขี้หูเยอะ
ทั้งนี้ในปัจจุบันมีอินฟาเรดเทอร์โมมิเตอร์ที่จะมีแสงสีฟ้าไว้วัดไข้ลูกน้อย เพียงกดปุ่มและจ่อไว้ที่หน้าผากก็จะอ่านค่าได้แม่นยำ อีกทั้งสามารถวัดไข้ลูกขณะนอนหลับโดยไม่ทำให้ตื่นด้วย
สรุปจากข้อสงสัยที่ว่า ปรอทวัดไข้มีกี่แบบ คือมีอยู่ด้วยกัน 4 แบบ ซึ่ง ปรอทวัดไข้แบบธรรมดา หรือแบบแก้วนั้นจะมีราคาไม่แพง มีความถูกต้องแม่นยำดี ส่วนเครื่องวัดอุณหภูมิชนิดอื่นๆ (ยกเว้นแบบ แถบเทป) ก็มีความถูกต้องแม่นยำสูง และสะดวกมากเช่นกัน แต่จะมีราคาแพงกว่า และ ต้องทำการฝึกฝนวิธีใช้ และการอ่านค่าบ้างเล็กน้อย
ซึ่งปัจจุบันทั่วโลกกำลังรณรงค์เรื่องสารปรอทเป็นพิษในสิ่งแวดล้อม จึงมีมาตรการในการลดการใช้ปรอทในกรณีต่างๆ และลดการผลิตปรอทแก้วลง ทำให้เครื่องอุปกรณ์วัดอุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดในการวัดไข้คือ เครื่องวัดอุณหภูมิแบบดิจิตอล หรือแบบอินฟราเรดที่ใช้วัดทางหู หรือทางหน้าผาก นั่นเอง
อ่านต่อบทความดีๆ น่าสนใจ คลิก :
- เพจดังยืนยัน! “ลูกตัวร้อน” อาบน้ำลดไข้ ได้ผลจริง!
- 5 ผลไม้ลดไข้ ช่วยบรรเทาอาการไข้สูงให้ดีขึ้น
- เตือน! ยาลดไข้ ใช้ผิดวิธีอันตรายถึงชีวิตลูก
- วิธีลดไข้ลูก! ตามแบบฉบับของชาวเยอรมัน
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง เรื่อง วิธีเลือกชนิดของปรอทวัดไข้ จาก นพ.ประสงค์ พฤกษานานนท์ เว็บไซต์คลินิกเด็ก.คอม www.clinicdek.com และ www.pobpad.com , www.promotivecare.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่