โรคตาขี้เกียจ ในเด็ก (Lazy eye) คืออะไร? รักษาอย่างไร? - amarinbabyandkids
โรคตาขี้เกียจ

โรคตาขี้เกียจในเด็ก (Lazy eye) คืออะไร?

Alternative Textaccount_circle
event
โรคตาขี้เกียจ
โรคตาขี้เกียจ

สำหรับภาวะสายตา สั้น ยาว เอียง นั้นพบบ่อยในวัย 6-18 ปี และจะมีการเปลี่ยนแปลงทุกปี เนื่องจากหลายปัจจัย เช่น ร่างกายที่เติบโตขึ้น กรรมพันธุ์ สิ่งแวดล้อม และการใช้งาน การแก้ไขสายตาด้วยการใส่แว่นตานั้น ช่วยให้เด็กมีระดับการมองเห็นได้ดีขึ้น แต่อาจมีความจำเป็นมากสำหรับเด็กที่มีภาวะสายตาขี้เกียจ หรือป้องกันภาวะตาขี้เกียจที่อาจเกิดขึ้นได้

การมองเห็นที่ดีส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของลูกน้อย ถ้าไม่รีบแก้ปัญหา อาจส่งผลให้มีอาการต่างๆ เช่น ปวดตา ปวดศีรษะ มีส่วนเกี่ยวข้องกับค่าสายตา การดูแลลูกน้อยเพื่อป้องกันโรคร้ายทางตาจึงเป็นสิ่งสำคัญ

วิธีการรักษาโรคตาขี้เกียจ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เมื่อตรวจพบว่าลูกเป็นโรคตาขี้เกียจให้รีบรักษาตั้งแต่อายุยังน้อย เพราะยิ่งรักษาเร็วยิ่งหายเร็ว แต่ถ้ารักษาช้า อาจรักษาไม่หาย

1.สวมแว่นตา หรือใส่คอนแทคเลนส์ วิธีนี้ช่วยให้ตาข้างที่ผิดปกติได้รับการกระตุ้นการมองเห็นให้ใช้งานมากยิ่งขึ้น

2.ผ่าตัด ถ้าลูกมีความผิดปกติ เช่น ต้อกระจก หนังตาตก การผ่าตัดเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด ช่วยให้มองเห็นชัดเจนยิ่งขึ้น แต่ก็ต้องกระตุ้นดวงตาข้างที่มีปัญหาร่วมด้วย เพื่อให้ใช้งานได้ปกติมากที่สุด

3.กระตุ้นการใช้งานข้างที่เป็นด้วยตัวเอง เช่น ปิดตาข้างที่ดี ใช้เพียงตาขี้เกียจในการมอง หรือใช้ยาหยอดตาที่ทำให้ตาข้างปกติมัวชั่วคราว จะทำให้ลูกใช้ตาข้างที่เป็นตาขี้เกียจมากขึ้น ถ้าลูกโตขึ้นมาหน่อยก็สามารถใช้วิธีบริหารดวงตาด้วยการปิดตาข้างหนึ่งแล้วมองด้วยตาข้างที่มีปัญหาเป็นประจำ

โรคตาขี้เกียจในเด็ก

อ่านต่อ” ออกู๊ด ลูกพ่อเปิ้ลนาคร ป่วยเป็นโรคตาขี้เกียจ” คลิกหน้า 4

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up