6 สมุนไพรลดความดัน ที่หาได้ง่าย ทานง่าย และยังได้ผลดีอีกด้วย
1. กระเทียม
เจ้าสมุนไพรที่มีกลิ่นฉุน นิยมนำมาเป็นส่วนประกอบในอาหารชนิดต่าง ๆ เพื่อเพิ่มรสชาติให้มีความอร่อยยิ่งขึ้น นอกจากความอร่อยแล้ว ยังเป็น สมุนไพรลดความดัน ได้ดี โดยมีงานวิจัยกล่าวว่า กระเทียมสามารถลดความดันโลหิตตัวบนได้ถึง 12 มิลลิเมตรปรอท และลดความดันตัวล่างได้ 9 มิลลิเมตรปรอท สารอัลลิซินในกระเทียม ช่วยเพิ่มการสร้างไนตริกออกไซด์ ซึ่งมีผลขยายหลอดเลือด ทำให้ความดันลดลง ด้วยทานกระเทียมเพียงวันละ 1-2 กลีบ ติดต่อกันเป็นเวลา 12-23 สัปดาห์ กระเทียมที่ทานควรเป็นหัวกระเทียมแก่ เพราะหากเป็นกระเทียมที่ยังอ่อนอยู่หรือกระเทียมที่ผ่านการปรุงสุกแล้ว จะได้สรรพคุณไม่เทียบเท่ากับหัวกระเทียมแก่
2. ขิง
สมุนไพรโบราณที่นำมาใช้ในการรักษาโรคมามากกว่า 5,000 ปี ซึ่งไม่เพียงช่วยย่อยอาหาร แต่ยังช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดและยังเป็น สมุนไพรลดความดัน อีกด้วย ขิง มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือด ซึ่งมีกลไกการออกฤทธิ์คล้ายคลึงกับยาในกลุ่ม calcium channel blocker นอกจากนี้ขิงยังมีผลลดการอักเสบ ลดไขมันในเลือด ได้อีกด้วย เนื่องจากขิงเป็นพืชที่มีฤทธิ์ร้อน หากรับประทานมากไปอาจจะทำให้เกิดร้อนใน และแผลในกระเพาะอาหารได้ นอกจากนี้ ผู้ที่มีนิ่วในถุงน้ำดีและรับประทานยาละลายลิ่มเลือดควรปรึกษาแพทย์และระมัดระวังในการใช้ด้วยค่ะมีผลลดความดันโลหิต
3. กระเจี๊ยบแดง
ดอกไม้สีแดงเข้มที่มีความหอม และรสหวานอมเปรี้ยว ที่เรามักนิยมนำมาต้มเพื่อนำน้ำมาดื่มนี้ ถูกศึกษาและวิจัยจนพบว่าเป็น สมุนไพรลดความดัน ได้ เนื่องจากในกระเจี้ยบแดงมีสารแอนโธไซยานิน ซึ่งเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วก็จะไปช่วยเสริมสร้างให้หลอดเลือดแข็งแรง นอกจากนี้ กระเจี๊ยบแดง ยังมีสรรพคุณในการบำรุงไตและหัวใจ ขับปัสสาวะ ขับยูริค และลดการอักเสบของระบบทางเดินปัสสาวะภายหลังการผ่าตัดในไตได้
วิธีรับประทานกระเจี้ยบก็ไม่ยาก เพียงนำกลีบเลี้ยงของดอกกระเจี๊ยบไปตากแห้งแล้วนำมาบดชงดื่มวันละ 3 ครั้ง เป็นประจำทุกวันก็จะทำให้ความดันโลหิตลดลงได้ค่ะ นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่าการดื่มชากระเจี๊ยบวันละ 2 – 3 ครั้ง สามารถลดความดันโลหิตตัวบนลงตั้งแต่ร้อยละ 7.2 ถึง 13 เลยทีเดียว
4. ขึ้นฉ่าย
ขึ้นฉ่าย เป็น สมุนไพรลดความดัน ที่ชาวเอเชียนำมาใช้เป็นยาลดความดันโลหิตต่อเนื่องกันมายาวนานกว่าว่า 2,000 ปี โดยชาวจีนและเวียดนามเชื่อว่าการรับประทานขึ้นฉ่ายวันละ 4 ต้น จะทำให้ความดันโลหิตเป็นปกติ หรืออาจใช้ขึ้นฉ่ายสด (ไม่เอาราก) ล้างให้สะอาด คั้นเอาแต่น้ำ เติมน้ำผึ้งหรือน้ำเชื่อมจำนวนเท่ากัน ดื่มครั้งละ 40 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง (อุ่นก่อนดื่ม) ทดลองในผู้ป่วย 16 ราย ได้ผล 14 ราย ไม่ได้ผล 2 ราย โดยทั่วไปความดันโลหิตเริ่มลดลง หลังจากกินยาแล้วหนึ่งวัน มีบางรายที่ความดันเริ่มลดลงหลังจากกินยาไปแล้ว 4 วัน ผู้ป่วยจะรู้สึกเองว่าอาการดีขึ้น นอนหลับดี ปริมาณปัสสาวะมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิจัยพบว่าขึ้นช่ายมีฤทธิ์ในการคุมกำเนิด ยับยั้งมะเร็ง ลดคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ได้อีกด้วย
5. ใบบัวบก
น้ำใบบกช่วยแก้อาการช้ำในได้ แต่ในใบบัวบกไม่ได้มีสรรพคุณเพียงแค่นี้ ใบบัวบกยังมีคุณประโยชน์อีกมากมาย โดยเฉพาะเป็น สมุนไพรลดความดัน โดยกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้แนะนำว่าการดื่มน้ำใบบัวบกเป็นประจำทุกวันทำให้ความดันโลหิตลดลงได้ และยังช่วยทำให้เลือดในหลอดเลือดดำและเส้นเลือดฝอยไหลเวียนได้ดีขึ้น ช่วยขยายหลอดเลือด และช่วยคลายเครียดได้อีกด้วย วิธีรับประทานก็ไม่ยาก เพียงนำบัวบกทั้งต้นมาคั้นเอาแต่น้ำดื่ม โดยอาจจะเติมน้ำตาลเล็กน้อยหรือจะผสมกับน้ำใบเตยเพื่อลดรสชาติเหม็นเขียวก็ได้
6. มะรุม
นับเป็นอาหารสุขภาพที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมากที่สุด โดยจากประสบการณ์การใช้ของชาวบ้านทั้งในไทยและต่างประเทศ และการศึกษาทางเภสัชวิทยา พบว่า ส่วนของใบและรากของมะรุม มีฤทธิ์ในการลดความดันโลหิตได้ สำหรับตำรับยาแก้ความดันโลหิตสูง เช่น นำรากมาต้มกินเป็นซุป นำยอดมาต้มกิน ใช้ยอดมะรุมสด โดยจะเป็นยอดอ่อนหรือยอดแก่ก็ได้ นำมาโขลกคั้นเอาน้ำ (ถ้าไม่มีน้ำให้เติมน้ำลงไปพอให้เหลวข้น) ผสมน้ำผึ้งพอหวาน กินวันละ 2 ครั้ง ครั้งละครึ่งแก้ว หากต้องการทานมะรุมติดต่อกันนานๆ อาจต้องคอยตรวจเช็คค่าการทำงานของตับ เนื่องจากอาจมีผลทำให้เอนซ์ไซม์ตับเพิ่มขึ้นได้ในบางราย และระวังการใช้ร่วมกับยาที่มีผลลดอัตราการเต้นของหัวใจ เนื่องจากมะรุมมีผลทำให้หัวใจเต้นช้าลงเช่นกัน และสตรีมีครรภ์ ควรระมัดระวังในการทานมะรุม สมุนไพรลดความดัน นี้
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่