5. ชวนลูกนอนดูโทรทัศน์
หากไม่ได้วิ่งเล่นสนุกสนานรุนแรง จากชวนลูกนอนดูโทรทัศน์เฉยๆ ก็เป็นการทำลายสมองลูกได้เช่นกัน จากงานวิจัยของประเทศสหรัฐอเมริกา เปรียบเทียบเด็กที่ดูโทรทัศน์วันละ 1 ชั่วโมง กับเด็กที่ไม่ได้ดูเลย เมื่อผ่านไป 1 ปี พบว่า พัฒนาการเด็กที่ดูโทรทัศน์ต่ำกว่าเด็กที่ไม่ได้ดูอย่างชัดเจน
และมีคำแนะนำว่า ถ้าจะให้ลูกดู ควรดูหลังอายุ 6 ขวบไปแล้ว เพราะโทรทัศน์มีทั้งภาพ และเสียงที่ไปกระตุ้นสมองกลายเป็นเด็กสมาธิสั้น เพราะเด็กใช้ประสาทสัมผัสเพียง 2 ส่วน คือ ตากับหู จึงขัดแย้งในกระบวนการเรียนรู้ของเด็กเล็กที่ต้องเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 6 นั่นเอง ทำให้สมองส่วนอื่น ๆ ไม่ถูกใช้งาน ถือว่าเป็นการทำลายสมองเป็นอย่างมาก
√ บทความแนะนำน่าอ่าน : 11 วายร้าย!! ทำลายสมองลูก
√ บทความแนะนำน่าอ่าน : ภัยจากทีวี อย่าปล่อยให้ลูกน้อยเป็นเด็กสมาธิสั้น และออทิสติก
6. จับลูกนั่งตักขณะขับรถ
คุณพ่อคุรแม่อาจคิดว่าลูกชอบนั่งหน้ารถ เพราะเมื่อลูกได้นั่งข้างหน้า ก็จะจ้องถนนตาแป๋ว ซึ่งแท้จริงแล้วการทำแบบนี้ถือเป็นเรื่องที่อันตรายเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากเกิดอุบัติเหตุชนกระแทกขึ้นมากะทันหัน ลูกน้อยของคุณก็มีโอกาสลอยพุ่งทะลุกระจกออกไปนอกรถได้ เนื่องจากไม่ได้รัดเข็มขัดนิรภัย หรือหากรถนั้นไม่มีถุงลมนิรภัย ลูกน้อยก็จะกลายเป็นถุงลมนิรภัยชั้นดีรับแรงกระแทรกแทนคุณพ่อคุณแม่ หรือหากรถนั้นมีถุงลมนิรภัย ก็ไม่พ้นอันตรายเพราะจะโดนถุงลมที่ระเบิดขึ้นมาอัดเข้าเต็มหน้าเต็มตัว
และเมื่อถุงนิรภัยมันระเบิดเพื่อให้ถุงพองออกในยามที่เกิดอุบัติเหตุ การจุดระเบิดของถุงลมต้องอยู่ห่างคนโดยสารหรือคนขับประมาณ 25 เซนติเมตร หากอยู่ใกล้กว่านั้นแรงพองตัวของมันจะมีผลอันตรายต่อผู้อยู่ใกล้ได้ จึงควรใช้ที่นั่งนิรภัย (คาร์ซีท) สำหรับเด็กในการนั่งรถจะดีกว่า
√ บทความแนะนำน่าอ่าน : เด็กทารกจำเป็นต้องใช้คาร์ซีท จริงหรือ?
7. ลืมทิ้งลูกไว้ในอ่างอาบน้ำ หรือในรถยนต์
มีคุณแม่คุณพ่อหลายบ้านชอบอาบน้ำกับลูกเป็นประจำ แถมชอบชวนลูกเล่นโน่นนี่ จนเจ้าหนูหัวเราะเอิ๊กอ๊ากตีน้ำป๋อมแป๋มอย่างเบิกบาน นี่คือความประทับใจที่ทั้งพ่อและลูกจะยิ้มอย่างมีความสุขเสมอ ทุกครั้งที่ระลึกถึง แต่มันอาจกลายเป็นความขมขื่นที่ฝังใจ
หากคุณพ่อคุณแม่เป็น ขี้ลืมอย่างไม่น่าเชื่อ เช่น แว่บไปรับโทรศัพท์ หรือเดินไปรับแขกที่กำลังกดออดอยู่หน้าบ้าน โดยทิ้งลูกอยู่ในอ่างน้ำตามลำพัง ข้อที่จะพลาดไม่ได้ก็คือ หากจะต้องไปทำธุระอะไรก็ตามระหว่างอาบน้ำให้ลูกก็คือ จะต้องเช็ดตัวลูกให้แห้ง แล้วอุ้มเขาออกมาจากอ่างน้ำ และพาไปทำธุระนั้น ๆ ด้วย ห้ามปล่อยให้ลูกอยู่ตามลำพังอย่างเด็ดขาด
ทั้งนี้หากเด็กขาดอากาศหายใจ และช่วยไม่ทันภายใน 4 นาที ก็เสี่ยงอย่างยิ่งกับการเสียชีวิต ไม่ใช่เฉพาะกรณีจมน้ำเท่านั้น หลาย ๆ จุดในบ้านก็จะต้องไม่ปล่อยให้เด็กอยู่คนเดียวอย่างเด็ดขาด เช่น ใกล้บันได เตาไฟ กระติกน้ำร้อน กะละมัง ระเบียงห้อง หรือ หน้าต่าง เป็นต้น
√ บทความแนะนำน่าอ่าน : อันตราย ในบ้าน 12 สิ่งสำหรับลูกวัยใกล้ 3 ขวบ
√ บทความแนะนำน่าอ่าน : 10 อันตราย ช่วงปิดเทอม ที่พ่อแม่ต้องระวังลูก!
การสร้างความรักและความอบอุ่นในครอบครัวจะเป็นเสมือนภูมิคุ้มกันป้องกันปัญหาในครอบครัว และจะเป็นพื้นฐานที่ดีสำหรับการสร้างความมั่นคงให้กับสังคมในที่สุด ซึ่งในเมื่อลูก ๆ โชคดีแล้วที่มีคุณพ่อและคุณแม่ที่แสนใจดี เล่นด้วยได้อย่างสนุกสนาน และจะประทับใจ นั้นก็เป็นความทรงจำที่แสนงดงามของทั้งพ่อแม่และลูกตลอดไป ขอเพียงคุณพ่อคุณแม่ต้องคำนึงถึง “ความปลอดภัยไว้ก่อน” ทุกครั้งที่เล่นกับลูกนะคะ
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!