หมอแจงแล้ว! ชาไข่มุก ไม่ทำให้ลำไส้อุดตัน แต่ทำให้เป็นเบาหวาน! - Amarin Baby & Kids
ชาไข่มุก

หมอแจงแล้ว! ชาไข่มุก ไม่ทำให้ลำไส้อุดตัน แต่ทำให้เป็นเบาหวาน!

Alternative Textaccount_circle
event
ชาไข่มุก
ชาไข่มุก

จากข่าวเด็กหญิงวัย 14 ปีที่ประเทศจีน ต้องถูกหามส่งโรงพยาบาลเพราะลำไส้อุดตันจากการแอบกิน ชาไข่มุก นั้น จากการตรวจสอบพบว่าเป็นข่าวปลอม!

หมอแจงแล้ว! ชาไข่มุก ไม่ทำให้ลำไส้อุดตัน แต่ทำให้เป็นเบาหวาน!

ข่าวปลอม? ลูกแอดมิทเพราะ ชาไข่มุก

จากข่าวเด็กหญิงชาวจีนวัย 14 ปี ถูกพาตัวส่งเข้ารักษาอาการที่ห้องฉุกเฉิน เพราะมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง และมีปัญหาเกี่ยวกับการกินและการขับถ่าย (อ่าน ลูกปวดท้อง อย่านิ่งนอนใจ! 4 โรคร้ายที่อาจแอบแฝง) แพทย์จึงได้ทำซีทีสแกน ก็ต้องพบกับสิ่งที่น่าแปลกใจเพราะภายในช่องท้องทั้งในกระเพาะ ลำไส้ และทวารหนักของเด็กหญิงเต็มไปด้วยเม็ดไข่มุกจากชานมไม่ไม่ย่อยอยู่ทั่วไปหมด แพทย์จึงแจงว่าเม็ดไข่มุกทำมาจากแป้งมันสำปะหลัง ซึ่งย่อยยาก นอกจากนี้ผู้ผลิตบางเจ้ายังเติมสารเพิ่มความข้นหนืดใส่ลงไปในการผลิตไข่มุก เพื่อให้เคี้ยวได้นานมากขึ้น แต่ยิ่งเป็นอันตรายมากขึ้น และส่งผลกระทบต่อระบบการย่อยอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากบริโภคเข้าไปในปริมาณที่มาก

ข่าวดังกล่าว สร้างความกังวลใจให้กับผู้ที่ชื่นชอบทานชานมไข่มุกเป็นอย่างมาก จนภายหลังเพจ Drama-Addict, เพจ Jessada Denduangboripant, และเพจความรู้สนุกๆแบบหมอแมว  ได้ออกมาแจงว่าข่าวดังกล่าวน่าจะเป็นการปั่นข่าวจนเกินจริง และจากที่ตรวจสอบข่าวดังกล่าว พบว่าไม่มีสื่อหลักของจีนนำเสนอ มีแต่พวกเว็บท้องถิ่นเล็ก ๆ นอกจากนี้ อาจารย์เจษฎา ยังได้อธิบายถึงกระบวนการย่อยเม็ดไข่มุก ดังนี้

 จากข่าวที่แพทย์แจ้งว่าเม็ดไข่มุกทำมาจากแป้งสำปะหลัง ซึ่งย่อยยาก นั้นไม่เป็นความจริง จริงๆ แล้ว เม็ดไข่มุกนั้น ทำจากแป้งมันสำปะหลัง กวนผสมกับน้ำเชื่อมของน้ำตาลทรายแดง ปรุงแต่งกลิ่นสี แล้วปั้นเป็นเม็ด ก่อนที่จะไปต้มอีกครั้ง (นึกภาพแบบการทำเม็ดบัวลอย) จึงเป็นอาหารที่ย่อยได้ไม่ยากอะไร เพราะร่างกายของคนเราสามารถย่อยแป้งและน้ำตาลได้โดยง่าย

โดยปรกติแล้ว เมื่อเรากินเม็ดไข่มุกซึ่งมีส่วนผสมหลักเป็นแป้งและน้ำตาลเช่นนี้ ปากของเราจะช่วยเคี้ยวให้เม็ดแป้งกลายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แล้วเอนไซม์อะไมเลสในน้ำลาย (salivary amylase) จะคลุกเคล้าผสมกับอาหาร และทำการย่อยแป้ง ไปตลอดเส้นทางที่ก้อนอาหารเคลื่อนที่ผ่านหลอดอาหารลงไปจนถึงกระเพาะ ซึ่งแม้ว่าน้ำย่อยที่เป็นกรดรุนแรงของกระเพาะเรา จะหยุดการทำงานของเอนไซม์อะไมเลสไปบ้าง แต่อะไมเลสที่ซึมอยู่ในก้อนอาหารนั้นแล้วก็จะทำงานย่อยแป้งต่อไป

จากนั้น เมื่ออาหารที่ย่อยที่กระเพาะส่วนนึงแล้ว เคลื่อนที่ต่อไปที่ลำไส้เล็ก กระบวนการย่อยแป้งก็จะทำงานอย่างเต็มที่ในบริเวณลำไส้เล็กนี้ โดยผนังลำไส้เล็กจะปล่อยเอนไซม์เด็กซตรินเนส (dextrinase) และกลูโคอะไมเลส (glucoamylase) มาย่อยแป้งและโพลีซัคคาไรด์ (polysaccharide) ให้กลายเป็นโอลิโกซัคคาไรด์ (oligosaccharide) จากนั้นเอนไซม์อะไมเลสจากตับอ่อน (pancreatic amylase) และเอนไซม์อื่นๆ จากตับอ่อน (pancreas) จะย่อยโอลิโกซัคคาไรด์ต่อไป จนสุดท้ายได้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ก่อนที่ลำไส้เล็กจะดูดซึมไปใช้งานในร่างกาย

ดังนั้น การที่ข่าวเรื่อง “เด็กหญิง 14 ปี มีเม็ดไข่มุกเต็มลำไส้ ไปจนถึงทวารหนัก” นั้น ก็คงเป็นไปไม่ได้แล้ว เพราะถึงแม้ว่าเธอจะกลืนเม็ดไข่มุกเข้าไปเยอะๆ โดยไม่เคี้ยวเลย แล้วมันก็ผ่านกระเพาะอาหารไปได้ ยังไงเสีย เม็ดแป้งน้ำตาลพวกนี้ ก็ต้องโดนย่อยจนเกลี้ยงหมดที่ลำไส้เล็กแล้ว ไม่หลงเหลือมาเป็นเม็ดๆ ที่ลำไส้ใหญ่ หรือจนถึงลำไส้ตรงเพื่อออกทวารหนัก

ชานมไข่มุก
เม็ดไข่มุกทำจากแป้งมันสำปะหลัง ซึ่งมีราคาถูกและย่อยง่าย

นอกจากนี้ เพจ ความรู้สนุก ๆ แบบหมอแมว ยังแจงเพิ่มเติมอีกว่ารูปภาพซีทีสแกนที่อยู่ในข่าวนั้น ซึ่งจะเห็นว่าเมื่อเปรียบเทียบกับรูปเอ็กซเรย์ช่องท้องทั่วไป ก็คือแนวของลำไส้ใหญ่ ส่วนก้อนกลม ๆ ที่มีเต็มท้องไปหมดนั้น น่าจะเป็นแค่ก้อนของกากอาหารที่ค้างอยู่ในลำไส้หรืออุจจาระค้างอยู่ในลำไส้นั่นเอง หากได้ทานยาถ่าย อาการก็จะดีขึ้น

และสำหรับข่าวที่ว่าเม็ดไข่มุกทำจากยางรถยนต์และรองเท้านั้น ก็เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก เนื่องจากแป้งมันสำปะหลังมีราคาถูกกว่ายางรถยนต์และรองเท้า จึงเป็นไปไม่ได้ที่ผู้ผลิตจะใช้สิ่งอื่นที่ไม่ใช่ของกินแถมยังมีราคาแพงกว่ามาทำแน่นอน

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อ อันตรายที่แท้จริงจากการดื่ม “ชาไข่มุก”

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up