สำหรับแม่ ๆ ที่ต้องการ แก้ไขใบสูติบัตร ถอนชื่อพ่อออกจากใบเกิด เปลี่ยนชื่อพ่อในใบสูติบัตร อยากรู้ว่าทำได้ไหม? ต้องทำอย่างไร? อ่านได้ที่นี่
แก้ไขใบสูติบัตร ถอนชื่อพ่อออกจากใบเกิด ทำได้ไหม?
การเปลี่ยนแปลงชื่อพ่อในสูติบัตร การถอนชื่อพ่อออกจากใบเกิด ทำได้ไหม?
ใบเกิดหรือสูติบัตร ในกรณีที่ได้ระบุชื่อพ่อไว้แล้ว ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือถอนชื่อออกได้ เพราะการแจ้งข้อมูลในการทำสูติบัตร ต้องถือเป็นการแจ้งตามข้อเท็จจริงเท่านั้น เนื่องจากสถานะทางครอบครัวเกิดขึ้นจากกฎหมาย ทุกคนต้องมีบิดา มารได้ ไม่อาจถอนความเป็นบิดา มารดาที่แท้จริงได้นั่นเอง
กรณีแจ้งเกิดบุตร โดยใส่ชื่อผู้อื่นเป็นบิดาลงในสูติบัตร
กฎหมายบอกว่า…การแจ้งเกิดบุตร โดยใส่ชื่อผู้อื่นเป็นบิดาลงในสูติบัตรของเด็ก ไม่ว่าจะด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือความตั้งใจของมารดา และผู้สมรู้ร่วมคิดในขณะนั้น หรือไม่ก็ตาม หากมีการตรวจพบในภายหลัง หรือบิดาตัวจริงกลับมาทวงสิทธิขอรับรองบุตร จะเกิดเรื่องยุ่งยากต่อไปนี้
เริ่มจากผู้แจ้งอาจจะถูกดำเนินคดีตามฐานความผิด ผู้ใด ทำ ใช้หรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จหรือกระทำการเพื่อให้ตนเอง หรือผู้อื่นมีชื่อ หรือมีรายการอย่างใดอย่างหนึ่งในทะเบียนบ้าน หรือเอกสารการ ทะเบียนราษฎรอื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ ๖ เดือนถึง ๓ ปี หรือปรับตั้งแต่ ๒๐,๐๐๐ บาท ถึง ๑๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตาม พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร มาตรา ๕๐ พ.ศ. ๒๕๓๔ (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๕๑)
จากนั้นจึงเข้ากระบวนการสอบสวนของนายทะเบียนแต่ละท้องถิ่นเพื่อทำให้เชื่อว่าบิดาคนใดเป็นตัวจริง เพื่อยกเลิกสูติบัตรตามมาตรา ๑๐ พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔ (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๕๑) และให้ผู้แจ้งดำเนินการแจ้งเกิดใหม่ต่อไป ซึ่งกรณีนี้คงต้องลงลึกถึงผลตรวจดีเอ็นเอแน่นอน
สำหรับมารดาที่แอบอ้างนำชื่อฝ่ายชายที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันไปใส่ในสูติบัตร ฝ่ายชายที่ถูกแอบอ้างสามารถฟ้องร้องเพิกถอนและเรียกร้องเอาค่าเสียหายได้โดยต้องผ่านการพิสูจน์ทางดีเอ็นเอ ซึ่งหากตรวจแล้วไม่ตรงกันแน่นอนว่าไม่จำเป็นต้องรับรองบุตรและบุตรก็ไม่สามารถขอแบ่งมรดกได้
ทั้งนี้ในประเด็นที่ว่ามีการนำชื่อญาติ พี่น้อง เพื่อนฝูงมาใส่เป็นบิดาก็จะเกิดปัญหาตามมาเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น หากบิดาตัวปลอมคนดังกล่าวไปก่อเรื่องเป็นหนี้เป็นสินแล้วเกิดการเสียชีวิตไปก่อน เจ้าหนี้ก็จะฟ้องร้องบังคับให้ทายาทชำระแทนได้ หรือหากบิดาตัวปลอมคนที่ว่าขับรถไปประสบอุบัติเหตุจนตัวเองตายแล้วมีคู่กรณีตายด้วย ทางญาติของคู่กรณีก็สามารถเรียกร้องค่าสินไหมจากการกระทำของบิดาโดยทายาทก็ต้องรับผิดชอบไปด้วย
กรณีไม่ระบุชื่อบิดาตั้งแต่แจ้งเกิด และบิดาต้องการรับรองบุตรในภายหลัง
หากบิดามีความประสงค์ที่จะกลับมา รับรองบุตรตัวเองในภายหลัง ทางนายทะเบียนท้องที่ที่รับแจ้งจะทำการสอบสวนตามขั้นตอนเพื่อดำเนินการเพิ่มเติมในใบสูติบัตรให้ ซึ่งมีความจำเป็นต้องพาผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน หรือญาติพี่น้องมาช่วยยืนยันหรือรับรองกันจึงจะเพิ่มเติมให้ได้ ขั้นตอนจะวุ่นวายพอสมควร หากมีการยืนยันกันแล้วยังไม่น่าเชื่อถือก็อาจต้องลงลึกถึงการพิจารณาผลตรวจดีเอ็นเอเพื่อยืนยันความสัมพันธ์ของพ่อกับลูกด้วยเช่นกัน แต่ก็มีวิธีที่ง่ายกว่านั้นคือการจดทะเบียนสมรสกับมารดาของเด็กในภายหลังด้วยเช่นกัน
ข้อดีของการไม่ระบุชื่อบิดาตั้งแต่แจ้งเกิด
- การไม่ระบุชื่อบิดา คุณแม่มีสิทธิในการปกครองเด็กแต่เพียงผู้เดียว
- เมื่อลูกโตขึ้น จะไม่ยุ่งยากในการยื่นเอกสาร เช่น การเข้าเรียน การทำพาสปอร์ต การทำงาน การรับราชการ หรือการเป็นทหาร ไม่ต้องตามตัวพ่อให้วุ่นวาย
อ่านต่อ เปลี่ยนชื่อลูก ที่ไหน ใช้เอกสารอะไรบ้าง?
แม่ควรรู้! ทำอย่างไรเมื่อ สูติบัตรลูกหาย
กรณีแจ้งเกิดโดยระบุชื่อบิดาตามความเป็นจริง แต่ต้องการถอนชื่อออกในภายหลัง
ไม่สามารถทำได้ เพราะการหย่าขาด การแยกกันอยู่ การสิ้นสุดความเป็นสามีภรรยา ไม่สามารถทำให้สถานภาพการเป็นบิดาและบุตรขาดจากกันได้
กรณีหย่าขาดกับสามีเก่า ต้องการใส่ชื่อสามีใหม่เป็นพ่อของเด็ก
คำแนะนำจากสำนักงานทนายความ ทนายคลายทุกข์
- การหย่าขาดจากกันไม่เป็นเหตุให้สิ้นสุดการเป็นพ่อ จึงไม่อาจยื่นคำร้องขอให้ถอนชื่ออดีตสามี ผู้ซึ่งบิดาเป็นตามความเป็นจริงออกจากสูติบัตรของบุตรต่อนายทะเบียน เพื่อขอเปลี่ยนเป็นชื่อสามีคนใหม่ต่อนายทะเบียนไม่อาจกระทำได้ เพราะไม่มีกฎหมายให้สิทธิไว้
- สามีใหม่ควรดำเนินการจดทะเบียนรับบุตรเป็นบุตรบุญธรรมโดยได้รับความยินยอมจากมารดาต่อไปตามมาตรา 1598/21, 1598/27
การตรวจหาดีเอ็นเอตามคำสั่งศาล
การตรวจหาดีเอ็นเอตามคำสั่งศาลหรือการร้องขอจากหน่วยราชการต้องผ่านการ รับรองจากองค์กรอันเป็นที่ยอมรับ หากคู่กรณีประสงค์ดำเนินการพิสูจน์กันเองก็ได้แต่ต้องได้รับความยินยอมทั้ง ๒ ฝ่าย กรณีบุตรบรรลุนิติภาวะแล้วตัวบุตรต้องยินยอมด้วย หน่วยงานราชการที่รับตรวจ ได้แก่
- สถาบันนิติเวชวิทยา
- สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- คณะแพทยศาสตร์ของโรงพยาบาลรัฐบาลอีกหลายแห่ง
ขั้นตอนการตรวจตามหลักสากลที่ปฏิบัติกัน มีดังนี้
- การเจาะเลือดและใช้เครื่องมือขูดเนื้อเยื่อบริเวณกระพุ้งแก้มของผู้รับการตรวจ
- จากนั้นผู้ทำหน้าที่ตรวจก็จะนำตัวอย่างดีเอ็นไปเข้ากระบวนการทางเคมีตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ ใช้น้ำยาสกัด วัดปริมาณ เพิ่มปริมาณ อ่านวิเคราะห์ค่าที่ออกมาตามกราฟ จะทราบผลการตรวจยืนยันได้ภายใน ๑ สัปดาห์
นอกจากกระบวนการฟ้องร้องไม่ว่ากรณีใด ๆ อันเกี่ยวข้องกับการขอใส่ชื่อหรือแก้ไขชื่อบิดาตามความเป็นจริงในสูติบัตรนั้น ล้วนมีความยุ่งยากมากมายหลายขั้นตอน บวกกับค่าใช้จ่ายที่ต้องมีเพิ่มขึ้นจากกรรมวิธีขอตรวจดีเอ็นเอยืนยันความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ดังนั้น จึงควรแจ้งเกิดตามข้อเท็จจริง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาภายหลังค่ะ
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
แจ้งเกิดลูก ไม่มีพ่อ ไม่ระบุชื่อพ่อได้ไหม? อนาคตจะมีปัญหาหรือไม่?
แจ้งเกิดลูก ไม่มีพ่อ ไม่ระบุชื่อพ่อได้ไหม? อนาคตจะมีปัญหาหรือไม่?
อยากมีลูกแต่ไม่มีสามี! วิจัยเผย อนาคตหญิงท้องได้ ไม่ง้อผู้ชาย
อยากมีลูกแต่ไม่มีสามี! วิจัยเผย อนาคตหญิงท้องได้ ไม่ง้อผู้ชาย
วิธีแก้กรรม 14 เรื่อง “ครอบครัว ความรัก และลูก” ไม่น่าเชื่อแต่จริง!!
วิธีแก้กรรม 14 เรื่อง “ครอบครัว ความรัก และลูก” ไม่น่าเชื่อแต่จริง!!
สิทธิการเลี้ยงดูบุตร เมื่อไม่ได้จดทะเบียน
ขอบคุณข้อมูลจาก : เพจกฎหมายเพื่อชาวบ้าน และข่าวสาร, www.decha.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่