ค่าใช้จ่ายเลี้ยงลูก มีลูก 1 คน ต้องเตรียมเงินเท่าไหร่? ค่าใช้จ่ายสำหรับลูก ตั้งแต่แรกเกิด – ป.ตรี กว่าลูกจะโต..พ่อแม่ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง มาดูกัน!
รู้หรือยัง? ค่าใช้จ่ายเลี้ยงลูก 1 คน ต้องใช้เงินเท่าไหร่?
“มีลูกหนึ่งคน จนไปสิบปี” เชื่อว่าหลายคนอาจเคยได้ยินคำกล่าวนี้ ซึ่งคู่รักบางคู่ถึงกลับผวา และคิดว่าขออยู่ด้วยกันแบบไม่มีลูกดีกว่า เพราะแม้ว่าการตั้งครรภ์มีลูกน้อยเป็นโซ่ทองคล้องใจจะเป็นเรื่องน่ายินดี แต่ก็มีหลายบ้านที่ต้องปวดหัวกับตัวเลขในบัญชีที่ติดลบ หรือสถานะการเงินที่ไม่มั่นคง เพราะไม่ได้เตรียมเงินส่วนนี้ไว้ล่วงหน้า ดังนั้นเพื่อไม่ให้คำกล่าวข้างต้นเป็นจริง หรือน่าหวาดกลัว ทีมแม่ ABK มีข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับ ค่าใช้จ่ายเลี้ยงลูก มีลูก 1 คน ต้องเตรียมเงินเท่าไหร่? ตั้งแต่การตั้งครรภ์ ไปจนคลอดและส่งลูกเรยนจบปริญญาตรี พ่อแม่จะต้องออมเงินกันไว้ใช้กันที่บาท และจะวางแผนการเงินอย่างไร ตามมาดูกันเลยค่ะ
ค่าใช้จ่ายฝากครรภ์ ค่าใช้จ่ายเตรียมคลอด
ค่าใช้จ่ายเลี้ยงลูก อันดับแรกเมื่อคุณเห็น 2 ขีดแดงขึ้นบนที่ตรวจครรภ์เมื่อไร ก็ให้เตรียมตัวเสียเงินได้เลย เพราะเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ คุณแม่ทุกคนจำเป็นต้องไปหาคุณหมอและฝากครรภ์โดยเร็วที่สุด
สำหรับค่าฝากครรภ์ มีเรตราคาแตกต่างกันไป ถ้าเป็นโรงพยาบาลรัฐบาลก็จะถูกกว่า แต่ไม่สะดวกสบาย เพราะต้องตื่นแต่เช้าไปรอคิว ส่วนเอกชนนั้นราคาก็สูงขึ้นตามความสะดวกสบายเช่นกัน รวมถึงคลินิกพิเศษด้วย นอกจากนี้บางคนอาจมีค่าใช้จ่ายที่มากกว่าปกติ เพราะมีปัจจัยเรื่องสุขภาพหรือภาวะแทรกซ้อนที่ต้องได้รับการตรวจมากเป็นพิเศษ
เมื่อคุณแม่ฝากครรภ์ คุณหมอจะนัดตรวจครรภ์โดยเฉลี่ยประมาณ 9 – 12 ครั้ง (บางคนอาจมากหรือน้อยกว่า ขึ้นอยู่กับสุขภาพของแม่และลูก) ซึ่งแต่ละครั้งก็มีค่าตรวจของแพทย์ ค่าอัลตร้าซาวด์ ค่าวัคซีน ค่าตรวจเลือด เจาะน้ำคร่ำ ตรวจพิเศษอื่น ๆ เป็นต้น
โรงพยาบาลรัฐบาล
- ค่าฝากครรภ์ครั้งแรก (รวมค่าตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ค่าแพทย์ฯลฯ) ประมาณ 1,500 บาท
- ค่าตรวจครรภ์ ครั้งละประมาณ 80 – 300 บาท
- ค่ายาตลอดการตั้งครรภ์ ประมาณ 1,000 บาท
- ค่าอัลตร้าซาวด์ ราคา ครั้งละประมาณ 500 บาท
- ค่าวัคซีน ประมาณ 200 บาท
*หมายเหตุ ราคาข้างต้นเป็นราคาโดยประมาณเท่านั้น และยังไม่รวม ค่าใช้จ่ายพิเศษอื่น ๆ กรณีที่คุณแม่มีภาวะเสี่ยงต่างๆ
โรงพยาบาลเอกชน
ส่วนมากจะเป็นแพ็คเกจเหมาจ่าย โดยครอบคลุมการตรวจทั้งหมด และแบ่งชำระเป็นงวด ซึ่งขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละโรงพยาบาล บางแห่งรวมการฝากครรภ์ไว้กับแพ็คเกจคลอดด้วยก็มีส่วนค่าใช้จ่ายนั้นเริ่มต้นที่ 20,000 – 50,000++ บาท
*หมายเหตุ ราคาข้างต้นเป็นราคาโดยประมาณเท่านั้น และยังไม่รวมค่าใช้จ่ายพิเศษอื่น ๆ กรณีที่คุณแม่มีภาวะเสี่ยงต่างๆ ค่าคลอด
- สิทธิประกันสังคม กรณีคลอดบุตร ทั้งหมดที่แม่ท้องควรรู้!
- วิธี เช็คสิทธิ์ประกันสังคม ง่ายๆ แต่ละมาตรา 33 39 40 ต่างกันอย่างไร?
สำหรับค่าคลอด ราคาแตกต่างกันไปตามลักษณะโรงพยาบาล ซึ่งแน่นอนว่าโรงพยาบาลรัฐบาลราคาย่อมถูกกว่าเอกชน รวมไปถึงรูปแบบการคลอดด้วย หากคลอดธรรมชาติราคาก็จะถูกกว่าการผ่าตัดคลอด เพราะการผ่าคลอดมีขั้นตอนที่ยุ่งยากกว่า อีกทั้งคุณแม่ต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลนานกว่า ค่าใช้จ่ายจึงเพิ่มเป็นเงาตามตัว
สำหรับโรงพยาบาลรัฐบาล
-
- ค่าคลอดประมาณ 5,000 – 10,000 บาท
- กรณีคลอดธรรมชาติ หากผ่าคลอดราคาจะอยู่ที่ประมาณ 15,000 – 25,000 บาท ราคานี้รวมค่าห้องแล้ว โดยราคาห้องมีตั้งแต่ 500 – 3,000 บาท สำหรับจำนวนวันที่นอนโรงพยาบาล หากคลอดธรรมชาติจะนอนโรงพยาบาลประมาณ 2 – 3 วัน หากผ่าคลอดประมาณ 4 – 5 วัน
ส่วนโรงพยาบาลเอกชน
-
- กรณีคลอดธรรมชาติราคาประมาณ 30,000 – 50,000 บาท
- กรณีผ่าตัดคลอดราคาประมาณ 60,000 – 100,000 บาท (ส่วนมากจะรวมค่าห้องแล้วในแพ็คเกจ) หากคลอดธรรมชาติจะนอนโรงพยาบาลประมาณ 2 – 3 วัน หากผ่าคลอดประมาณ 4 – 5 วันเช่นกัน
- สิทธิประกันสังคม กรณีคลอดบุตร ทั้งหมดที่แม่ท้องควรรู้!
- วิธี เช็คสิทธิ์ประกันสังคม ง่ายๆ แต่ละมาตรา 33 39 40 ต่างกันอย่างไร?
ค่าใช้จ่ายเลี้ยงลูก หลังคลอด
หลังจากคลอดแล้ว จะมี ค่าใช้จ่ายเลี้ยงลูก หรือ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามมาอีกมากมาย ทั้งค่าเสื้อผ้าลูก รวมถึงค่าข้าวของเครื่องใช้ของเด็กและผู้ใหญ่อีกจุกจิกจิปาถะ ซึ่งหลายคนมักจะลืมเผื่อเงินไว้ ทำให้ช็อตกันได้ง่าย ๆ ยิ่งคุณแม่ต้องลาคลอดหยุดงานไป 3 เดือน รายได้ยิ่งหดหายกันไปใหญ่ หรือบางครอบครัวลูกมีปัญหาสุขภาพ ไม่สามารถกินนมแม่ได้ต้องใช้นมพิเศษอีกแต่ถึงแม้รายได้ประจำของคุณแม่จะหายไป แต่คุณแม่ที่เป็นผู้ประกันตนของประกันสังคมจะได้รับค่าชดเชยจากการหยุดงานร้อยละ 50 เป็นเวลา 90 วัน (ฐานเงินเดือนสูงสุดไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท) นอกจากนี้ยังได้ เงินค่าสงเคราะห์บุตรอีกเดือนละ 600 บาทต่อบุตรหนึ่งคนไปจนลูกอายุ 6 ขวบเลย
แต่มีข้อแม้ว่าต้องส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 12 เดือนภายในระยะเวลา 36 เดือนก่อนบุตรคลอดและใช้สิทธิค่าสงเคราะห์บุตรได้ไม่เกิน 3 คน ซึ่งหากใครลืมใช้สิทธิ ทางสำนักประกันสังคมก็จะโอนเงินค่าสงเคราะห์บุตรย้อนหลังให้รวมไม่เกิน 1 ปี
ทั้งนี้เมื่อผ่านพ้นระยะตั้งครรภ์ จนกระทั่งคลอดมาแล้ว เมื่อลูกโตขึ้น ก็มีอีกหนึ่งเรื่อง ค่าใช้จ่ายเลี้ยงลูก ตามมา นั่นก็คือเรื่องการเรียนการศึกษาของลูก ซึ่งพ่อแม่ทุกคนก็อยากมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้ลูก ด้วยคาดหวังว่าการศึกษาที่ดีจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของลูกได้ในอนาคต
สำหรับเรื่องนี้ คุณปริพรรห์ ปริยอุดมทรัพย์ นักวางแผนการลงทุน ได้แจกแจงค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ไว้ในนิตยสาร Amarin Baby & Kids เพื่อที่คุณพ่อคุณแม่จะได้ตั้งรับถูกและเข้าใจตรงกัน โดยได้ทำการรวบรวมข้อมูลจากสถาบันการศึกษาหลายแห่ง แบ่งเป็นโรงเรียนรัฐบาล เอกชน(สองภาษา) และโรงเรียนนานาชาติ ซึ่งเมื่อคำนวณหาราคากลาง แยกเป็นค่าใช้จ่าย ปัจจุบันและค่าใช้จ่ายที่ถูกปรับค่าด้วยอัตราเงินเฟ้อ 3 เปอร์เซ็นต์ต่อปี โดยสมมุติว่าวันนี้ลูกมีอายุ 1 ปี ค่าใช้จ่ายเลี้ยงลูก เรื่องการศึกษา จึงได้ออกมาตามตารางด้านล่างนี้
และถ้าคุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกได้มีประสบการณ์ และเพิ่มทักษะทางภาษาผ่านโครงการ AFS, EF, Work & Travel หรือแม้กระทั่งไปเรียนซัมเมอร์ (4 สัปดาห์ในประเทศอังกฤษ) ในช่วงปิดเทอม ประเมินค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นไว้ดังนี้ (ไม่ได้นำเงินเฟ้อมาคำนวณด้วยเนื่องจากมีปัจจัยเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนมาเกี่ยวข้อง)
ในส่วนของ ค่าเรียนพิเศษ ค่าอาหาร และค่าอุปกรณ์เสริมพัฒนาการต่าง ๆ นั้น แบ่งออกได้ดังนี้
- โรงเรียนกวดวิชาในระดับปานกลางและระดับสูง (เริ่มต้นตั้งแต่อนุบาล – ม.6) มีค่าเรียนเฉลี่ยต่อปี 7,000 และ 20,000 บาท ตามลำดับ
- โรงเรียนกวดวิชาระดับสูงมาก (เริ่มต้นตั้งแต่อนุบาล – ปริญญาตรีชั้นปีที่ 4) มีค่าเรียนเฉลี่ยปีละ 60,000 บาท
ส่วนค่าใช้จ่ายพวกอุปกรณ์เสริมพัฒนาการและอื่น ๆ ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ค่อนข้างหลากหลายและประเมินยาก แต่คุณพ่อคุณแม่สามารถดูรายละเอียดด้านล่างเพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนได้
*หมายเหตุ ข้อมูล ค่าใช้จ่ายเลี้ยงลูก ในการศึกษาข้างต้น: สำหรับเอกชน / นานาชาติ ใช้ข้อมูลเฉลี่ยจากสถาบันการศึกษาชั้นนำ ส่วนรัฐบาลจะประมาณการรวมค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการเรียน (รวมส่วนของนโยบายเรียนฟรีไปด้วย) การปรับค่าด้วยอัตราเงินเฟ้อ: ใช้อัตรา 3 เปอร์เซ็นต์ต่อปี โดยมีสมมุติฐานว่าวันนี้ ลูกมีอายุ 1 ปี เก็บข้อมูลเมื่อเดือนพฤษภาคม 2559
สรุป ค่าใช้จ่ายเลี้ยงลูก จากอนุบาล – ปริญญาตรีต้องมีค่าใช้จ่ายเท่าไร
เด็กไทยเริ่มเข้าเรียนหนังสือโดยเฉลี่ยตั้งแต่อายุ 3 – 23 ปี ระยะเวลาเรียน คือ
- อนุบาล 3 ปี
- ประถมศึกษา 6 ปี
- มัธยมศึกษา 6 ปี
- ปริญญาตรี 4 ปี
ดังนั้น เด็ก 1 คนจึงใช้ระยะเวลาเรียนทั้งสิ้น 19 ปี (ยังไม่นับการเรียนเตรียมอนุบาล ปริญญาโท และปริญญาเอก)
รวม ค่าใช้จ่ายเลี้ยงลูก สำหรับการศึกษาเล่าเรียนต่อเด็ก 1 คน ตั้งแต่อนุบาลถึงปริญญาตรี ทั้งสิ้น
- หากเรียนโรงเรียนรัฐบาล 240,000 – 360,000 บาท
- หากเรียนโรงเรียนเอกชน 1,200,000 – 1,800,000 บาท
- หากเรียนโรงเรียนนานาชาติ 4,300,000 – 6,500,000 บาท
- หากเรียนโรงเรียนต่างประเทศ 10,000,000 – 15,000,000 บาท
(ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอื่น ๆ เช่น ค่าเรียนพิเศษ ค่าเรียนเสริมทักษะค่าอุปกรณ์ และอื่น ๆ)
อย่างไรก็ตามสำหรับเรื่อง ค่าใช้จ่ายเลี้ยงลูก หากจะมีลูกสัก 1 คน ค่าใช้จ่ายตั้งแต่ตั้งครรภ์จนถึงคลอดนั้นต้องมีในบัญชีอย่างน้อยเท่าไร รวมถึงค่าใช้จ่ายแฝงที่เราอาจลืมคิดไป เช่น ค่ารถ ค่าน้ำมันจากบ้านมาโรงพยาบาลค่าข้าวของเครื่องใช้สำหรับการตั้งครรภ์และหลังคลอด เป็นต้น และค่าการศึกษาที่ดีของลูกน้อยที่ไม่ควรมองข้าม ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดคือ คุณพ่อคุณแม่ควรวางแผนการเงินและลงมือออมเสียตั้งแต่วันแรกที่แต่งงานนะคะ เพราะการมีลูก 1 คน นอกจากให้ความรักความอบอุ่นแล้ว คุณพ่อคุณแม่ต้องใช้เงินเลี้ยงดูเขาตั้งแต่วันแรกที่อยู่ในท้องไปจนเขาเรียนจบเลยละค่ะ ดังนั้นเพื่อไม่ให้ครอบครัวมีปัญหา อย่าลืมวางแผนการเงินกันด้วยนะคะ ด้วยความปรารถนาดีจากทีมแม่ ABK
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิกที่ภาพด้านล่างได้เลยค่า ⇓
ภรรยาอยู่บ้านเลี้ยงลูก ไม่ต้องใช้เงิน จริงเหรอ? แค่มีข้าวให้กินก็พอเหรอ แม่ๆ คิดว่าไง
6 เทคนิคการเลี้ยงลูก ให้ได้ดี เป็นที่ภาคภูมิใจของพ่อแม่! (ฉบับฮาร์วาร์ด)
รวม ตารางการเลี้ยงลูก ครบทั้งการกิน-นอน และพัฒนาการเติบโตของร่างกาย