4 คาถาเลี้ยงลูกไม่ให้เป็น โรคซึมเศร้า โดย พ่อเอก - Page 2 of 2 - Amarin Baby & Kids
โรคซึมเศร้า

4 คาถาเลี้ยงลูกไม่ให้เป็น โรคซึมเศร้า โดย พ่อเอก

Alternative Textaccount_circle
event
โรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้า

2. ความเข้าใจ

คำพูดของคุณย่าเจ้าปูนปั้นที่ผมมักนำมากล่าวถึงเสมอคือ ‘เด็กเขาพูดรู้เรื่อง เราน่ะเข้าใจเขาหรือเปล่า’ ทุกครั้งที่รู้สึกว่าลูกดื้อ ผมนึกถึงสิ่งที่คุณแม่ผมพูดเสมอและพยายามใช้เวลาพูดทำความเข้าใจกับเขา ตะล่อมถาม เพื่อให้เข้าใจสิ่งที่เขาคิด ยกตัวอย่าง มีครั้งหนึ่งปุ่มเครื่องซักผ้าถูกเจ้าปูนปั้นไปปรับโดยเราไม่ได้สังเกต มาสงสัยเอาเมื่อปั่นไม่เสร็จสักที จึงได้ไปดูหน้าเครื่อง แล้วเราก็เรียกปูนปั้นถามว่า ‘ไปกดเครื่องซักผ้าใช่มั้ยครับ’ ปูนปั้นตอบกลับมาหน้าจ๋อยว่า ‘เปล่าครับ’ แต่เรารู้ว่าปูนปั้นทำ เพราะเราอยู่กันเพียง 4 คนพ่อแม่ลูก แวบแรกกำลังจะโกรธว่า ทำไมปูนปั้นโกหก แต่สติเล็กๆ ทำให้เราเลือกที่จะตั้งคำถามใหม่ และปรับอารมณ์ให้อ่อนโยน ‘ปูนปั้นไปเล่นเครื่องซักผ้าใช่มั้ยครับ’ เมื่อเราไม่ดุ ใบหน้าเขาคลายกังวลลง และตอบว่า ‘ใช่ครับ’ เราถามต่อว่า ‘แล้วทำไมทีแรกปูนปั้นตอบว่าเปล่าครับ’ ปูนปั้นตอบกลับมาว่า ‘ปูนปั้นไม่ได้กดอะไรเลยครับ ปูนปั้นหมุนอันนี้’ เห็นมั้ยครับว่าเด็กเขาคุยรู้เรื่อง การพูดคุยกันแบบนุ่มนวล แทนที่จะดุลูกเสียงดัง ตะคอก หรือ สั่ง ช่วยลดความกังวลของลูก ทำให้ช่องว่างไม่เกิด และ ลูกจะกล้าพูดคุย เล่าปัญหาต่างๆ ให้เราฟัง เมื่อเขารู้ว่าเราพร้อมจะเข้าใจเขา เขาก็พร้อมที่จะสื่อสารกับเรา และความเศร้าจะเกิดได้อย่างไร

3. อ้อมกอดและบอกรัก

สองสิ่งนี้คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้กับลูกได้ฟุ่มเฟือยเท่าที่คุณต้องการ เพราะจะทำให้ลูกรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย และสร้างความมั่นใจ แม้กระทั่งทุกครั้งปรับความเข้าใจกันเสร็จ เราจะจบด้วยการกอดกันเสมอ ซึ่งนี่คือวัคซีนชั้นดีที่ปกป้องลูกจากอาการซึมเศร้า ถ้าคุณได้กอดลูก บอกรักลูกบ่อยๆ สิ่งที่เขาทำตอบกลับมา จะทำให้เราอยากจะทุ่มเทเวลาให้เขา ซึ่งนั่นจะทำให้สามารถทำ 2 ข้อข้างบนได้ดี ทุกคืนก่อนจะหลับตานอน ปูนปั้นจะสลึมสลือหันมาโอบคอปะป๊าแล้วพูดว่า ‘Papa krub, I love you so much. I love you all the time’ ใจไม่อ่อนก็ให้รู้ไป

เลี้ยงลูกไม่ให้เป็น โรคซึมเศร้า
อ้อมกอดของพ่อแม่คือยาวิเศษ ป้องกันโรคซึมเศร้า

4. ความสัมพันธ์ของพ่อและแม่

เรื่องนี้ก็มีความสำคัญไม่น้อย ครอบครัวที่ทะเลาะกันรุนแรง พ่อแม่ทะเลาะกันบ่อยให้ลูกเห็น จะส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของลูก ทำให้ขาดความเชื่อมั่น ขาดที่พึ่ง และอาจจะไม่เชื่อในสถาบันครอบครัว เด็กก็จะเก็บตัว เก็บกด ในที่สุดก็จะนำไปสู่โรคซึมเศร้า ดังนั้นหากมีข้อขัดแย้งจริงๆ ก็พยายามหลีกเลี่ยงไม่ทะเลาะกันต่อหน้าลูก

จำไว้ 2 ประโยคหลักใช้เตือนตัวเอง  1) อย่าให้ช่องว่างกว้างกว่าอ้อมกอด และ 2) เด็กเขาพูดรู้เรื่อง เราน่ะเข้าใจเขาหรือเปล่า


>>แวะไปดู รอยยิ้มหวานฉ่ำ ที่มีแจกฟรีทุกวันได้ที่เฟซบุ๊ค

หมุนรอบลูก – พี่ปูนปั้น กับ น้องปั้นแป้ง นะครับ<<

ปูนปั้น ปั้นแป้ง พ่อเอก
ปูนปั้น ปั้นแป้ง พ่อเอก เพจหมุนรอบลูก

บทความน่าสนใจอื่นๆ

แชร์ประสบการณ์ ฝึกวินัยการกินให้ลูก กินข้าวตรงเวลา

“สุภาษิตสอนพ่อแม่” รับมือ ลูกต่อต้าน โดย พ่อเอก

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up