8. ฝึกภาษา
การฝึกภาษา ไม่ว่าภาษาใดๆ มีประโยชน์เป็นอย่างมาก เพราะทำให้เด็กสามารถติดต่อสื่อสารได้ นำไปใช้ในการทำงานได้ในอนาคต และถือเป็นการเรียนรู้วัฒนธรรมจากประเทศนั้นๆเพิ่มเติมอีกด้วย การดูภาพยนตร์ซาวน์แทรค หรือการร้องเพลงสากล ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาภาษาได้ครับ หรือบางครอบครัวจะส่งลูกหลานไปเรียนภาษาที่ต่างประเทศช่วงปิดเทอม ก็ถือเป็นประสบการณ์ที่ดีต่อเด็กๆในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมอีกด้วย
9. จดบันทึก
การเขียนไดอารี่ การจดบันทึกจะช่วยพัฒนาการเขียน ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็น การจดบันทึกจะช่วยพัฒนาความคิดในการวางแผน การรู้จักตนเอง รวมทั้งเป็นการช่วยระบายความคับข้องใจ ความเครียด ช่วยทำให้เด็กมีสุขภาพจิตที่ดี
10. เกมส์ฝึกสมอง
ต่อเลโก้ เล่นหมากรุก หมากฮอส หรือแม้แต่เกมส์ในมือถือที่ต้องใช้ความคิดและการวางแผน ก็ล้วนแล้วแต่ช่วยพัฒนาสมองทั้งสิ้น ผลการวิจัยยังพบว่า การใช้เกมส์เป็นตัวฝึกสมองจะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการดีกว่าอ่านตำราเรียนอย่างเดียวอีกด้วย
กิจกรรมที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นกิจกรรมที่จะช่วยสร้างให้เด็กได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ช่วยพัฒนาความคิด สร้างสรรค์จินตนาการ และพัฒนาสมอง แต่ที่สำคัญที่สุดคือทุกกิจกรรมนั้นต้องให้เด็กๆมีความสนุกสนาน ไม่ใช่ยัดเยียดความรู้ บังคับ หรือให้เด็กต้องคร่ำเคร่งมากเกินไป เพราะกิจกรรมในช่วงปิดเทอมควรเป็นกิจกรรมที่ทั้งมีความสนุกและเกิดประโยชน์กับเด็กอย่างคุ้มค่าในเวลาเดียวกัน
วิธีการบริหารจัดการลูกเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในช่วงปิดเทอม
แต่อย่างไรก็ดี การที่เด็กมีอิสระมากไปในช่วงปิดเทอมยังอาจทำให้เด็กเริ่มชินกับการทำอะไรช้าๆ ไปเรื่อยๆ ทำให้ปรับตัวไม่ทันในช่วงเปิดเทอม เด็กหลายคนเริ่มขาดความสนใจในการเรียนจนกระทั่งถึงเปิดเทอมก็ยังติดพฤติกรรมเดิมๆ เหมือนช่วงปิดเทอมอยู่สักระยะหนึ่ง รวมถึงการนอนตื่นสาย หากไม่มีการเตือนให้รีบกลับมาสู่การเรียนหรือกฎเกณฑ์อย่างแท้จริงอาจเกิด ปัญหาตามมาได้ และสำหรับวิธีการบริหารจัดการลูกเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในช่วงปิดเทอม น.พ.กัมปนาทให้คำแนะนำกับพ่อแม่ ดังนี้…
1. พ่อแม่ควรชี้แจงให้ลูกทราบว่า การปิดเทอม แม้จะเป็นช่วงเวลาแห่งการพักผ่อนแต่ยังเป็นช่วงเวลาที่ควรมีการเผื่อสำหรับ การเรียนในภาคเรียนต่อไปบ้าง อย่างน้อยสักร้อยละ 20-30 ที่ควรจะเผื่อไว้เสมอ จะได้เป็นสิ่งที่คอยกระตุ้นเตือนให้ตระหนักถึงภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของ เด็กที่ยังคงต้องมีอย่างต่อเนื่อง
2. ลูกควรรับทราบว่าร่างกายของคนเรา โดยเฉพาะสมอง จะมีส่วนควบคุมที่เปรียบเสมือน นาฬิกาชีวภาพ คอยกำหนดเวลากิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการนอนหลับ การตื่นจากนอนหลับ หรือแม้แต่การกำหนดกิจวัตรประจำวันที่เราทำบ่อยๆ จะทำให้เกิดการจัดระเบียบขึ้นมาในร่างกายและการรับรู้ต่างๆ ในแต่ละวันด้วย หากมีการปรับเปลี่ยนเวลาด้วยการทำตัวขาดระเบียบมากจนเกินไปจะทำให้เกิดอาการ ที่เรียกว่า “นาฬิการวน” นั่นเอง การกู้กลับมาต้องใช้เวลาอีกพอสมควร
3. ควรจัดให้เด็กร่วมมือจัดตารางเวลาของตนเอง และนำมาให้พ่อแม่ดูว่าควรทำอะไรบ้างในช่วงปิดเทอม โดยไม่จำเป็นต้องเข้มงวดหรือมีกิจกรรมที่แน่นจนเกินไป หรือไม่มีอะไรให้ทำเลย เพราะเด็กสมัยนี้เวลาว่างมักมีปัญหาเรื่องจิตใจฟุ้งซ่าน สมาธิไม่ค่อยดี ควรจัดกิจกรรมที่เรียกสมาธิกลับมา
4. บางครอบครัวสนับสนุนให้ลูกไปฝึกงาน อาจทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น แต่ถึงแม้ไม่มีรายได้เป็นกอบเป็นกำ แต่ทำให้ได้ประสบการณ์และความภาคภูมิใจ พบว่าเด็กที่รู้จักทำงานช่วยเหลือครอบครัวตั้งแต่เด็กมักเติบโตขึ้นมาเป็น เด็กที่มีความรับผิดชอบต่อตนเอง และมีความอดทนมากกว่าเด็กที่ถูกเลี้ยงแบบตามใจอย่างชัดเจน
5. พ่อแม่ควรให้เวลากับลูกบ้างพอสมควร เนื่องจากช่วงเวลาปิดเทอมนั้นมักเป็นช่วงหน้าร้อน ซึ่งเหมาะกับการท่องเที่ยว และไม่ค่อยเหมาะกับการทำงานสักเท่าไรนัก การยอมเสียสละเวลาบ้างเพื่อลูกโดยไม่กระทบต่องานหลักที่ทำอยู่น่าจะทำให้ เด็กมีความสุขมากขึ้น อีกทั้งเป็นช่วงเวลาแห่งการกระชับความสัมพันธ์ในครอบครัวอีกด้วย การที่พ่อแม่ผู้ปกครองมีเวลาให้ลูกบ้างในช่วงปิดเทอมจะเป็นการเพิ่มความหวัง ความสุขให้ลูก ขณะเดียวกันสามารถป้องกันมิให้เด็กไปแสวงหาความสุขในช่องทางที่ไม่เหมาะสม เช่น การเสพยาเสพติด
6. พ่อแม่ที่เคยสังเกตว่าลูกมีปัญหาด้านสุขภาพต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสุขภาพกายที่ไม่เร่งด่วนหรือปัญหาสุขภาพใจที่เคยรอได้มา หลายเดือน น่าจะเป็นช่วงเวลาที่มาขอคำแนะนำ ปรึกษาและหาทางบำบัดรักษาในกรณีที่เจ็บป่วย เช่น เป็นโรคทางจิตเวช หรือสงสัยว่ามีปัญหาสุขภาพจิตบางอย่างซ่อนอยู่
อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!
- 12 กิจกรรมวันหยุดปิดเทอม สนุกสร้างสรรค์ทั้งครอบครัว
- 5 กิจกรรมสร้างเจ้าตัวเล็กมั่นใจในตัวเอง
- 4 กิจกรรม ช่วยพัฒนาสมองส่วนหน้าให้ลูกน้อย
- กิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก เพื่ออนาคตที่ดีของลูกน้อย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : women.kapook.com , www.mbklife.co.th , baby.kapook.com , www.edtguide.com