นิทาน พื้นบ้าน อ่านให้ลูกฟัง สนุก เพลิดเพลิน - Amarin Baby & Kids
นิทาน พื้นบ้าน

นิทาน พื้นบ้าน อ่านให้ลูกฟัง สนุก เพลิดเพลิน

Alternative Textaccount_circle
event
นิทาน พื้นบ้าน
นิทาน พื้นบ้าน

นิทาน พื้นบ้าน มักจะมีคติสอนใจให้แก่เด็กๆ นิทานจะสะท้อนให้เห็นถึงสังคม จารีต ประเพณี ศาสนา และประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นนั้นๆ

นิทาน พื้นบ้าน อ่านให้ลูกฟัง สนุก เพลิดเพลิน

แต่ละภาคของไทยจะมี นิทาน พื้นบ้าน ที่มีความแตกต่างกันไปตามแต่ลักษณะสำคัญของภูมิภาคนั้นๆ โดยแบ่งเป็น 4 ภาคคือ นิทานพื้นบ้านภาคกลาง นิทานพื้นบ้านภาคเหนือ นิทานพื้นบ้านภาคอีสาน และนิทานพื้นบ้านภาคใต้ วันนี้ทีมกองบรรณาธิการ ABK ขอนำเสนอ นิทานพื้นบ้านภาคกลาง จะมีเรื่องอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลยค่ะ

นิทาน พื้นบ้าน ไกรทอง
นิทาน พื้นบ้าน ไกรทอง

 

นิทาน พื้นบ้าน อ่านให้ลูกฟัง สนุก เพลิดเพลิน

 

นิทานพื้นบ้านภาคกลาง : ไกรทอง (จ.พิจิตร)

          ชาละวันเป็นจระเข้เจ้า อาศัยอยู่ในถ้ำทองใต้บาดาล ในถ้ำทองจระเข้ จะกลายร่างเป็นคนได้ ชาละวันตอนกลายร่างเป็นคนจะเป็นหนุ่มรูปงาม โดยชาละวันเองมีเมียสาวสวยเป็นนางจระเข้ 2 ตัวคือ วิมาลา และเลื่อมลายวรรณ ชาละวันเป็นหลานชายของ ท้าวรำไพ ผู้เป็นจระเข้เจ้าที่อยู่ในศีลธรรม ไม่เคยจับสัตว์หรือมนุษย์กินเป็นอาหารและจะกินแต่ซากสัตว์ที่ตายแล้วเป็นอาหารเท่านั้น ชาละวันแม้อยู่ในถ้ำทองจะอิ่มทิพย์ไม่ต้องกินเนื้อ แต่ด้วยความมีนิสัยที่เป็นอันธพาล จึงชอบมาเมืองข้างบนตามแม่น้ำลำคลอง จับคนที่เป็นชาวบ้านและสัตว์กินเพื่อความสนุกสนาน

ณ หมู่บ้านดงเศรษฐี แขวงเมืองพิจิตร มีพี่น้องฝาแฝดคู่หนึ่ง มีความงามเป็นที่เลื่องลือ ชื่อนางตะเภาแก้ว ผู้พี่ และนางตะเภาทองผู้น้อง ทั้งสองเป็นบุตรเศรษฐีคำ และคุณนายทองมา วันหนึ่งนางตะเภาแก้วและนางตะเภาทองได้ลงไปเล่นน้ำที่ท่าหน้าบ้าน ช่วงเวลานั้นเจ้าชาละวัน ซึ่งเป็นจระเข้ได้ออกมาว่ายน้ำหาเหยื่อ เมื่อได้เห็นนางตะเภาทอง ก็ลุ่มหลงในความงาม จึงโผล่ขึ้นเหนือน้ำเข้าไปคาบนางตะเภาทองแล้วดำดิ่งไปยังถ้ำทอง อันเป็นที่อยู่ของเจ้าชาละวัน

เมียของชาละวัน คือ วิมาลา และเลื่อมลายวรรณ เห็นก็ไม่พอใจแต่ก็ห้ามสามีไม่ได้ เพราะเกรงกลัวจึงต้องยอมให้ผัวมีเมียเป็นมนุษย์อีกคน เมื่อนางตะเภาทองฟื้นขึ้นมาเจ้าชาละวันก็เกี้ยวพาราสี แต่นางตะเภาทองก็ไม่สนใจ เจ้าชาละวันจึงจำต้องใช้เวทมนตร์สะกดให้นางตะเภาทองหลงรัก และยอมเป็นภรรยาตั้งแต่นั้นมา

เศรษฐีคำและคุณนายทองมาโศกเศร้าเสียใจเป็นอย่างมาก ที่นางตะเภาทองบุตรสาวคนเล็กถูกเจ้าชาละวันคาบไป และคิดว่าบุตรสาวตนคงตายไปแล้ว ด้วยความรักในบุตรสาวและความแค้นในเจ้าชาละวัน จึงประกาศออกไปว่าใครที่พบศพนางตะเภาทอง และสามารถปราบจระเข้ตัวนี้ได้จะมอบสมบัติของตนเองให้ครึ่งหนึ่ง และจะให้แต่งงานกับนางตะเภาแก้วด้วย

แต่ก็ไม่มีหมอจระเข้คนไหนสามารถปราบเจ้าชาละวันได้ นอกจากกลายเป็นเหยื่อของเจ้าชาละวันคนแล้วคนเล่า จนในที่สุดก็มีชายหนุ่มรูปงามนามว่า ไกรทอง ซึ่งได้ร่ำเรียนวิชาการปราบจระเข้จากอาจารย์คง จนมีความเก่งกล้า ได้อาสามาปราบเจ้าชาละวัน แต่อาจารย์คงรู้ว่าเจ้าชาละวันเป็นพญาจระเข้มีอำนาจมาก และหนังเหนี่ยว ฆ่าฟันไม่ตาย เนื่องจากมีเขี้ยวเพชรทำให้อยู่ยงคงกระพัน จึงได้มอบหอกสัตตโลหะ , เทียนระเบิดน้ำ เสื้อยันต์และลูกประคำปลุกเสก แก่ไกรทอง

รุ่งเช้าตั้งพิธีบวงสรวงพร้อมอ่านคาถา ทำให้เจัาชาละวันเกิดร้อนลุ่มต้องออกจาก ถ้ำขึ้นมาต่อสู้กับไกรทอง ไกรทองกระโดดขึ้นบนหลังจระเข้ และแทงด้วยหอกสัตตโลหะ ทำให้อาคมของเขี้ยวเพชรเสื่อม หอกได้ทิ่มแทงเจ้าชาละวันจนบาดเจ็บสาหัส และได้หนีกลับไปที่ถ้ำ แต่ไกรทองก็ใช้เทียนระเบิดน้ำตามไปต่อสู้อีกในถ้ำ

ระหว่างที่เข้าไปในถ้ำไกรทองก็พบกับวิมาลา เมียของชาละวัน ด้วยความเจ้าชู้จึงเกี้ยวพาราสี นางวิมาลาจนนางใจอ่อนยอมเป็นชู้ และบอกทางไปช่วยนางตะเภาทอง

ไกรทองตามมาต่อสู้กับเจ้าชาละวันในถ้ำาต่อจนเจ้าชาละวันตาย และไกรทองก็ได้พานางตะเภาทองกลับขึ้นมา เศรษฐีดีใจมากจึงจัดงานแต่งงานให้ไกรทองกับนางตะเภาแก้ว พร้อมมอบสมบัติให้ครึ่งหนึ่ง แถมนางตะเภาทองให้อีกคน ไกรทองจอมเจ้าชู้ก็รับไว้ ด้วยความยินดี

แต่ยังไม่จบแค่นั้นด้วยความเจ้าชู้ของไกรทองแม้ชาละวันตายไป ไกรทองก็ยังหลงรสรักกับนางวิมาลา จึงไปหาสู่ที่ถ้ำทอง และคิดจะพานางวิมาลาไปอยู่กินด้วย โดยทำพิธีทำให้นางยังคงเป็มมนุษย์แม้ออกนอกถ้ำทอง นางตะเภาแก้วและนางตะเภาทองจับได้ว่า สามีไปมาหาสู่นางจระเข้ จึงไปหาเรื่องกับนางในร่างมนุษย์จนนางวิมาลาทนไม่ไหวกลับร่างเป็นจระเข้และไกรทองต้องออกไปห้ามไม่ให้เมียตีกันและอำลาจากนางวิมาลาด้วยใจอาวรณ์

 

นิทานพื้นบ้านภาคกลาง : บางแม่หม้าย (จ.สุพรรณบุรี)

มีเรื่องเล่ากันว่ามีชายหนุ่มสองพี่น้องผูกสมัครรักใคร่สาวทางบ้านบางแม่หม้าย จนถึงได้สู่ขอและกำหนดนัดวันแต่งงาน เมื่อถึงกำหนดฝ่ายเจ้าบ่าวก็เคลื่อนขบวนสำเภาขันหมากมารับพวกมโหรีที่บ้านแห่งหนึ่ง เรียกว่า บ้านบางซอซึ่งวงมโหรีได้บรรเลงเพลงมาตามทางอย่างสนุกสนาน แต่ที่สนุกที่สุดก็เมื่อเดินทางมาถึงย่านน้ำอันกว้างใหญ่ อุดมไปด้วยสัตว์น้ำที่ดุร้าย คือ จระเข้ได้เกิดพายุใหญ่พัดจนสำเภาล่มจึงเรียกสถานที่แห่งนั้นว่า บ้านสำเภาล่ม หรือสำเภาทลายปัจจุบันเรียก บ้านสำเภาทอง

เมื่อเรือล่ม บางคนก็จมน้ำตาย บางคนก็ถูกจระเข้คาบไป เจ้าบ่าวถูกจระเข้คาบว่ายไปทางทิศเหนือ ถึงบ้านเจ้าสาว เมื่อพวกของเจ้าสาวเห็นก็จำได้จึงไปบอกเจ้าสาว.. เจ้าสาวเสียใจมากวิ่งตามตลิ่งตามดูเจ้าบ่าวไปจนถึงที่แห่งหนึ่ง ซึ่งไม่อาจตามไปได้ทันท่วงทีจึงได้แต่แลมองไปจนสุดสายตา ที่ที่เจ้าสาวยืนมองอยู่นี้ ต่อมาเรียกว่า วัดบ้านสุด

แม้กระนั้นนางก็มิได้ท้อถอย มุ่งหน้าติดตามไปเรื่อย ๆ จนเหนื่อยอ่อนจึงนั่งพักที่โคกแห่งหนึ่งต่อมาได้ชื่อว่า “โคกนางอ่อน” เมื่อหายเหนื่อย นางก็ตามต่อไปอีกจนถึงโพนางเซาต่อมานางได้ข่าวว่า มีจระเข้คาบคนรักไปทางทิศใต้ จึงย้อนกลับมาและพบศพ นางจึงนำศพมาฌาปนกิจที่วัด ต่อมาวันนั้นชื่อว่า “วัดศพ” ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น วัดประสบสุข และบ้านเจ้าสาวจึงได้ชื่อว่า “บางแม่หม้าย” มาจนทุกวันนี้

อ่านต่อ…นิทาน พื้นบ้าน อ่านให้ลูกฟัง สนุก เพลิดเพลิน คลิกหน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up