ตามคำเรียกร้อง เอาใจ ทั้งน้องๆ และคุณพ่อคุณแม่ เสียงตอบรับ จากงานมหกรรม “Let’s play festival เทศกาลเล่นอิสระ” ปี 2 ที่ผ่านมา ของเครือข่ายเล่นเปลี่ยนโลก ร่วมกับ สสส. สานพลัง กทม. ที่ได้เปิดพื้นที่กลางเมือง 22-24 พ.ย. 67 ไปนั้น ว่าอยากให้เครือข่ายเล่นเปลี่ยนโลก จัดกิจกรรม “เล่นอิสระ” บ่อยขึ้น หรือเป็นประจำ
วันเด็กปีที่จะถึงนี้ ไม่ควรพลาด เรายกทัพมาสร้างความสนุก สร้างความสัมพันธ์ของครอบครัว เช่นเคย เพิ่มเติมเกมส์ใหม่ๆ เปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้สัมผัสความสนุกจากกระบวนการการออกแบบ สัมผัสบทบาทของ “สถาปนิกตัวน้อย” ปลดปล่อยจินตนาการ พร้อมเติมพลังความคิดสร้างสรรค์การออกแบบเมืองในฝันของหนูที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน ผ่านทั้งการเล่นอิสระ และการเล่นแบบมีกระบวนการ โดยกระบวนกรผู้เชี่ยวชาญของเครือข่าย Let’s play more (องค์กรอิสระที่ส่งเสริมการเล่นอิสระของเด็ก (Free play)ในประเทศไทย “ให้เด็กทุกคนได้เล่น”)
เรามี 3 โซนด้วยกัน มาเริ่มกันที่
พื้นที่ “Free Play เล่นอิสระ” (บ่มเพาะ) ส่งเสริมการเล่นอิสระของเด็ก (Free play) ด้วยเครื่องเล่นมากกว่า 10 ชิ้น ดูแลโดยพี่ๆ “กลุ่มไม้ขีดไฟ”
พื้นที่ “Structure Play เล่นแบบมีกระบวนการ” (ส่งต่อ) พัฒนากระบวนความคิดสร้างสรรค์ ด้วยการฝึกทักษะการสังเกต การตั้งคำถาม การค้นหาคำตอบ จนถึงการประยุกต์ใช้งานที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตประจำวันได้ ค้นหาตัวเอง เด็ก ๆ จะได้สร้างเมืองของตัวเองในอนาคตที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติ ได้ด้วยนะ
สิ่งที่เด็กๆจะได้เรียนรู้ และลงมือทำ
1.ได้เรียนรู้ และฝึกทักษะพื้นฐานของการเป็นนักออกแบบ (รู้จักสังเกต การตั้งคำถาม การค้นหาคำตอบ จนถึงการประยุกต์ใช้)
2.เรียนรู้ ได้ทำความรู้จักบริบทพื้นที่ที่เป็นส่วนหนึ่งของวิถีของเด็ก คุณสมบัติของโครงสร้างทางธรรมชาติและองค์ประกอบของการออกแบบเมือง
3.เล่นสนุกกับธรรมชาติอย่างสร้างสรรค์
4.ได้ทำงานเป็นทีม แบ่งปันความคิดเห็น ส่งเสริมทักษะการสื่อสารและการแก้ปัญหา
กิจกรรมนี้มุ่งเน้นการสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กๆ ผ่านการออกแบบระบบนิเวศของตัวเองที่ความเชื่อมโยงกับธรรมชาติ พร้อมทั้งพัฒนาทักษะที่สำคัญในด้านความคิด การทำงานร่วมกัน และการรักษ์สิ่งแวดล้อม
ดูแลกิจกรรมโดยพี่ๆ ทีม “บ้านทอฝัน nature place”
มาในชื่อ กิจกรรม : Arch play with nature
และโซนสุดท้ายของโซนเรา
พื้นที่ “Role Play ให้ความรู้การดูแลรักษาต้นไม้ใหญ่” knowledge sharing (ดูแล) อัดกิจกรรม -เซ็คสุขภาพต้นไม้ -วิธี protection ต้นไม้ และมีรุกขกรปีนต้นไม้โชว์ด้วยค่ะ
ดูแลกิจกรรมโดยพี่ๆ ทีม “Big Trees”
พบกัน บนพื้นที่ใจกลางเมืองอีกครั้ง ซึ่งครั้งนี้เราจัดที่งาน WOW Festival 2025 ในวันที่ 11- 19 มกราคม 2568 ที่สวนเบญกิติ และห้องผังเมืองกรุงเทพฯ ภายในอาคารยาสูบ โซน WOW Playground Let’s play more เล็กเปลี่ยนโลก แล้วพบกันนะคะ
Wow PLAYGROUND
Let’s play more เล็กเปลี่ยนโลก
1.พื้นที่ “Free Play เล่นอิสระ” (บ่มเพาะ)
2.พื้นที่ “Structure Play เล่นแบบมีกระบวนการ” (ส่งต่อ)
3.พื้นที่ “Role Play ให้ความรู้การดูแลรักษาต้นไม้ใหญ่” knowledge sharing (ดูแล)
กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้สัมผัสความสนุกจากกระบวนการการออกแบบ สัมผัสบทบาทของ “สถาปนิกตัวน้อย” ปลดปล่อยจินตนาการ พร้อมเติมพลังความคิดสร้างสรรค์การออกแบบเมืองในฝันของหนูที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน ผ่านการเล่นอิสระ และการเล่นแบบมีกระบวนการ โดยกระบวนกรผู้เชี่ยวชาญของเครือข่าย Let’s play more (องค์กรอิสระที่ส่งเสริมการเล่นอิสระของเด็ก (Free play)ในประเทศไทย “ให้เด็กทุกคนได้เล่น”)
กลุ่มเป้าหมาย
เด็ก และสมาชิกครอบครัว
โดยเราจะแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วนที่เชื่อมโยงกันด้วยกลยุทธ์ “บ่มเพาะ ส่งต่อ ดูแล” ด้วยกัน ดังนี้
1.พื้นที่ “เล่นอิสระ” (บ่มเพาะ)
เป้าหมาย: ส่งเสริมการเล่นอิสระของเด็ก (Free play) ด้วยเครื่องเล่นมากกว่า 10 ชิ้น
–ดูแลโดย “กลุ่มไม้ขีดไฟ”
–กลุ่มเป้าหมาย เด็กทุกช่วงวัย และผู้ปกครอง
–เครื่องเล่น
1.1 เดินวิบาก ป่ายปีน
1.2 ตาข่ายเด้ง ขนา 6×6 เมตร
1.3 ตาข่ายปีนข้าม
1.4 เล่นน้ำ
1.5 เล่นทราย
1.6 บล๊อกไม้
1.7 วาดภาพบนพื้น
1.8 ศิลปะวาดภาพ
1.9 ลากกระเป๋า DIY
1.10 รถเข็น
1.11 และฐานอื่นๆ เปลี่ยน ทุกๆ 3 วัน
-แฟชั่น แต่งกาย
-เล่นเสียง
-เล่นต่อจิกซ์ซอร์
-เล่นลังกระดาษ
-ครัว เป็นต้น
–กำหนดการ วันและเวลา
วันที่ 11-19 มกราคม เริ่มเล่นได้ตั้งแต่ 13.00-20.00 น.
2.พื้นที่เล่น “แบบมีกระบวนการพาเล่น” (ส่งต่อ)
เป้าหมาย: พัฒนากระบวนความคิดสร้างสรรค์ ด้วยการฝึกทักษะการสังเกต การตั้งคำถาม การค้นหาคำตอบ จนถึงการประยุกต์ใช้งานที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตประจำวันได้ ภาพ output ตัวสรุปกิจกรรม เด็กสร้างเมืองของตัวเองในอนาคต
สิ่งที่เด็กๆจะได้เรียนรู้ และลงมือทำ
1.ได้เรียนรู้ และฝึกทักษะพื้นฐานของการเป็นนักออกแบบ (รู้จักสังเกต การตั้งคำถาม การค้นหาคำตอบ จนถึงการประยุกต์ใช้)
2.เรียนรู้ ได้ทำความรู้จักบริบทพื้นที่ที่เป็นส่วนหนึ่งของวิถีของเด็ก คุณสมบัติของโครงสร้างทางธรรมชาติและองค์ประกอบของการออกแบบเมือง
3.เล่นสนุกกับธรรมชาติอย่างสร้างสรรค์
4.ได้ทำงานเป็นทีม แบ่งปันความคิดเห็น ส่งเสริมทักษะการสื่อสารและการแก้ปัญหา
กิจกรรมนี้มุ่งเน้นการสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กๆ ผ่านการออกแบบระบบนิเวศของตัวเองที่ความเชื่อมโยงกับธรรมชาติ พร้อมทั้งพัฒนาทักษะที่สำคัญในด้านความคิด การทำงานร่วมกัน และการรักษ์สิ่งแวดล้อม
ดูแลกิจกรรมโดย “บ้านทอฝัน nature place”
ตารางกิจกรรม : Arch Play with nature
กลุ่มเป้าหมาย : เด็กอายุ 8-14 ปี
ระยะเวลา 1.30 ชม. ต่อรอบ
กิจกรรมเฉพาะวันเสาร์ และอาทิตย์ : 11-12 มกราคม และ 18-19 มกราคม 2568 จำนวน 4 วัน
กิจกรรมเริ่ม : 13.00-19.30 น.
จำนวนรอบต่อวัน : 3 รอบ ทั้งหมด 12 รอบ
จำนวนเด็กต่อรอบ : 30 คน ทั้งหมด 360 คน
สถานที่ : โซนห้องสมุดต้นไม้ (สวนขวามือด้านนอกอาคารยาสูบ) และห้องแสดงผังเมืองกรุงเทพ
3.พื้นที่ให้ความรู้ (knowledge sharing) การดูแลรักษาต้นไม้ใหญ่
ดูแลกิจกรรมโดย “Big Tree”
กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มวิชาชีพภูมิสถาปนิก, Developer, นักพฤษศาสตร์
กิจกรรม
-เซ็คสุขภาพต้นไม้
-วิธี protection ต้นไม้
-มีรุกขกรปีนต้นไม้โชว์
ตารางกิจกรรม จัดแสดงโชว์ทุกวัน
11-19 มกราคม 2568 ตั้งแต่เวลา 13.00-20.00 น.