ข้อสอง เด็กนักเรียนไทยเกือบทั้งประเทศไม่รู้จะเรียนอะไรต่อ
ไม่รู้ว่าโตขึ้นอยากเป็นอะไร ไม่รู้ว่าตนเองถนัดอะไร แย่กว่านี้คือไม่รู้ว่าตนเองเป็นใคร (ซึ่งสาเหตุหนึ่งเกิดจากวัฒนธรรมไม่ควรวิจารณ์ของบ้านเราเอง) นักศึกษาไทยเกือบหมดประเทศอยู่ในอาการเช่นเดียวกันคือเรียนไปเพราะเรียนตามๆ กันไป การเรียนหนังสือที่ไม่มีความชอบเป็นปฐมหรือมีความฝันเป็นฐานรองรับจะเรียนอย่างไรก็ไม่สนุก เรียนได้เท่าที่เรียนได้ ไม่มีความกระตือรือร้นที่จะไปต่อหรือรู้มากกว่าที่เรียน
ข้อแตกต่างข้อสองนี้ใหญ่หลวงมาก เด็กๆ ในประเทศที่พัฒนาแล้วมีโอกาสที่จะเรียนตามความใฝ่ฝันมากกว่า เรียกว่ามี passion ในการเรียน เหตุผลเชิงระบบคือพวกเขาไม่ต้องกังวลเรื่องเรียนจบมาจะทำอะไรกินมากเท่าเรา เรียนอะไรก็มีงานทำทั้งนั้น ค่าตอบแทนที่ได้รับพอใช้จ่ายเพราะมีสวัสดิการสังคมรองรับอีกชั้นหนึ่ง ไปจนถึงมีระบบรองรับหลังเกษียณจากการทำงาน ด้วยชีวิตที่มั่นคงระดับนี้เด็กๆ บ้านเขาจึงเรียนด้วย passion ได้เต็มที่ คนเราเวลาเรียนหนังสือด้วยความอยากกระหายใคร่รู้เสียแล้ว ติดขัดอะไรก็จะอ่าน อ่าน และอ่าน
การอ่านมิได้อยู่ลำพังด้วยตนเองดังที่เข้าใจ การอ่านต้องการการกระทำอีกหลายอย่างตามมาดังที่เล่าให้ฟัง
มากกว่านี้ คือต้องการแหล่งเรียนรู้รอบบ้านมากกว่าที่เป็นอยู่ สวนสาธารณะ พิพิธภัณฑ์ เก้าอี้ริมถนนเพื่อพบปะผู้คน เป็นต้น สำคัญที่สุดคือ “เวลา” ที่จะทำสิ่งเหล่านี้ ทั้งหมดนี้ไม่มีในวัฒนธรรมบ้านเรา
20 เคล็ดลับ สร้างลูกรักให้เป็น นักอ่านตัวน้อย
ชวนลูกอ่านหนังสือ พัฒนาสมอง ด้วยเคล็ดลับ 7 ข้อ
บทความโดย : นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ จิตแพทย์ แผนกจิตเวช โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่