แม่ท้องรับเพิ่ม ค่าฝากครรภ์ ประกันสังคม เริ่ม 1 พฤษภาคม - amarinbabyandkids
ได้เพิ่ม ค่าฝากครรภ์

แม่ท้องรับเพิ่ม ค่าฝากครรภ์ ประกันสังคม เริ่ม 1 พฤษภาคมนี้

Alternative Textaccount_circle
event
ได้เพิ่ม ค่าฝากครรภ์
ได้เพิ่ม ค่าฝากครรภ์

 เงื่อนไข สิทธิประกันสังคมของคนท้อง มีเกณฑ์อย่างไรบ้าง?

คุณแม่บางท่าน โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ อาจจะยังมีความสงสัยว่า หากเป็นผู้ประกันตน ประกันสังคม จะได้รับสิทธิประโยชน์ ค่าฝากครรภ์ ประกันสังคม อย่างไรกันบ้างค่ะ มาดูรายละเอียดกันค่ะ

หลักเกณฑ์ ในการได้รับสิทธิประโยชน์ ค่าฝากครรภ์ ประกันสังคม 

  • ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร 
  • จ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่าย กรณีคลอดบุตรให้แก่ผู้ประกันตนในอัตรา 13,000 บาท/การคลอดบุตรหนึ่งครั้ง สำหรับผู้ประกันตนหญิงมีสิทธิ์รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วันสำหรับการใช้สิทธิบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับสิทธิเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน
  • กรณีสามี และภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ให้ใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่จำกัดจำนวนบุตร/ครั้ง 

การพิจารณาสั่งจ่าย

เงินสด หรือ เช็ค (ผู้มีสิทธิ์มาขอรับด้วยตนเอง หรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทน) ส่งธนาณัติให้ผู้ประกันตน โอนเข้าบัญชีธนาคารตามบัญชีของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน

ค่าฝากครรภ์ ประกันสังคม

เอกสารประกอบการยื่นคำขอประโยชน์ทดแทน กรณีคลอดบุตร

  • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01 ผู้ประกันตนกรอกข้อความครบถ้วน พร้อมลงลายมือชื่อผู้ยื่นคำขอ
  • สำเนาสูติบัตรบุตร 1 ชุด (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)
  • สำหรับผู้ประกันตนชาย ให้แนบสำเนาทะเบียนสมรส กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส
  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอมี 11 ธนาคาร ดังนี้
  1. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)             
  2. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)             
  3. ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)             
  4. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)             
  5. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)             
  6. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)             
  7. ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)            
  8. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย                
  9. ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)           
  10. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 
  11. ธนาคารออมสิน            

หมายเหตุ  หากผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน ไม่เห็นด้วยกับการสั่งจ่าย ค่าฝากครรภ์ ประกันสังคม สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง ซึ่งคุณแม่สามารถยื่นเรื่องได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร พื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัด และสาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)

 

การฝากครรภ์สำหรับคุณแม่ สำคัญอย่างไร?

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up