สิทธิของหัวใจ ไม่อาจชนะสิทธิทางกฎหมาย" เมียน้อย-เมียเก็บ-กิ๊ก-ชู้ ระวังโดนฟ้อง

กรณีตัวอย่าง!! “สิทธิของหัวใจ ไม่อาจชนะสิทธิทางกฎหมาย” เมียน้อย-เมียเก็บ-กิ๊ก-ชู้ ระวังโดนฟ้องเรียกค่าเสียหายได้!!

Alternative Textaccount_circle
event

มีกรณีตัวอย่างมาให้คุณแม่ทั้งหลายๆ เพื่อเป็นประโยชน์เกี่ยวกับสิทธิ์ของภรรยาหลวงค่ะ!! เมื่อภรรยาน้อยมาอ้างว่ามีสิทธิของหัวใจ-สิทธิแห่งรัก ไม่อาจชนะสิทธิทางกฎหมาย” เมียน้อย-เมียเก็บ-กิ๊ก-ชู้ ระวังโดนฟ้องเรียกค่าเสียหายได้

บทความนี้เป็นเรื่องราวที่ถูกเผยจากทนายรุ่ง -รุ่งฟ้า นวลมะโน ทนายความชื่อดังของ จ. พัทลุง ซึ่งได้เปิดเผยเรื่องนี้ ผ่านทางเฟสบุ๊ค สำนักงานกฎหมาย มิตรภาพ ทนายความ มีใจความดังนี้
………………………………………………….
#สิทธิของหัวใจอ้างทวงเป็นของตนไม่ได้

ทนายเคยว่าความฟ้องหญิงชู้ หรือฟ้องเรียกค่าทดแทนจากเมียน้อย นั่นแหละค่ะ เป็นโจทก์ฟ้องนะคะ และการที่โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายนั้น ย่อมมีสิทธิทางกฎหมายเหนือกว่าผู้ที่ไม่มีทะเบียนสมรสกับสามีตน

ไม่ว่า เมียน้อยจะมาก่อนหรือมาหลัง ถ้าเมียหลวงจดทะเบียนสมรสและยิ่งถ้ามีพิธีแต่งงานตามประเพณี มีแขกเหรื่อรู้เห็นเกี่ยวกับการแต่งงานนั้นเพียงพอที่จะทำให้แสดงออกโดยทั่วกันว่า เป็นครอบครัวเดียวกันแล้ว ยิ่งมีสิทธิเต็มที่โดยชอบธรรมตามกฎหมาย

เคสนี้เมื่อถึงชั้นศาล เมียน้อยไม่ยอมไกล่เกลี่ย ศาลเจรจา เมียหลวงยอมลดค่าเสียหายให้ แต่เมียน้อยอ้างว่า ห้าหมื่นก็ไม่มีจะจ่ายให้!

ศาลจึงต้องนำสู่กระบวนการสืบพยาน …

ในการสืบพยาน ทนายนำสืบความเสียหายของครอบครัวโจทก์ จากนั้นก็ถึงการสืบเมียน้อย ทนายก็ต้องถามค้าน เมื่อถามค้านเมียน้อยไปถึงเรื่องที่ว่า เมื่อรู้ว่าเขามีลูกเมียแล้วทำไมถึงไม่เลิกกับเขา

หญิงสาวผู้เป็นจำเลยในคดีนี้ เธอช้อนสายตาสบตาทนาย แล้วตอบว่า …

“หนูก็มีสิทธิในความเป็นคนเหมือนกับโจทก์เหมือนกัน หนูมีความรู้สึก หนูมีหัวใจเหมือนกัน หนูก็มีความต้องการเหมือนกัน และต้องการแค่ว่า เขารักหนู เขาเลือกที่จะอยู่กับหนู เขาเป็นคนเลือกเอง หนูมีสิทธิของหัวใจที่จะอยู่กับผู้ชายคนนี้”

ทนายถอนใจ … พอเข้าใจอยู่หรอกนะ สิทธิของหัวใจ แต่สิทธิของหัวใจไม่ใช่สิทธิตามกฎหมายนะคะ คุณน้อง

สุดท้ายแล้ว ศาลก็ตัดสินตามกฎหมาย คดีนี้สิทธิของหัวใจก็แพ้สิทธิทางกฎหมายนะคะ ค่าเสียหายจัดให้เต็มเลยทีเดียว

ฉะนั้น ขอให้เข้าใจไว้อย่างว่า กฎหมายบัญญัติขึ้นมาเพื่อควบคุมพฤติกรรม ควบคุมความรู้สึกนึกคิด ควบคุมการแสดงออกของอารมณ์ คุณจะรัก คุณจะเกลียดใคร ก็มีสิทธิแค่คิด แต่ไม่มีสิทธิที่จะทำตามอารมณ์เพื่อละเมิดสิทธิตามกฎหมายของผู้อื่นให้เกิดความเสียหายนะคะ

 เพราะ…ในประมวลกฎหมาย ไม่มีบัญญัติไว้ในเรื่อง “สิทธิของหัวใจ” ค่ะ 

สรุปจากเหตุการณ์นี้…สามารถนำมาเป็นกรณีตัวอย่างให้คุณแม่หรือคุณผู้หญิงทั้งหลายได้รับทราบกันว่า ถึงแม้คนเราจะมีสิทธิของความเป็นมนุษย์ คือรักใครชอบใครได้ มีความรู้สึก มีหัวใจ … แต่สิทธินี้ก็ไม่สามารถเอาชนะสิทธิความเป็นเจ้าของที่ถูกต้องตามกฎหมายได้นะคะ … รักมากเพียงใดก็ต้องยอม เพราะสิ่งที่ทำนั้นมันไม่ถูกต้อง ตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้เพื่อความเป็นธรรมแก่ถูกทุกฝ่ายทุกคนนั่นเองค่ะ

อ่านต่อบทความน่าสนใจ

>> ประโยชน์ของทะเบียนสมรสที่คุณอาจไม่เคยรู้

ขอขอบคุณบทความจากทนายรุ่งฟ้า นวลมะโน ฝ่ายกฎหมายเพจ พัทลุง ทูเดย์

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up