ข่าวดี! ครม.มีมติเห็นชอบ “ให้ยกเลิกเงื่อนไข” ที่กำหนดว่า ผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด พ่อแม่ที่มีประกันสังคมก็ลงทะเบียนรับเงินอุดหนุน 600 บาทได้
โดยเมื่อต้นเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา ทำเนียบรัฐบาล นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ได้แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.มีมติเห็นชอบรายงานผลโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ประจำปี 2559 โดยมีการลงทะเบียนเกินกว่าเป้าหมายที่กำหนด
⇒ Must read : เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ปี 2560 เพิ่มเป็น 600 บาท
- โดยมีผู้มาลงทะเบียนทั้งสิ้น 371,657 คน คิดเป็นร้อยละ 83 จากเป้าหมาย 200,000 คน
- ซึ่งมีผลการเบิกจ่ายงบประมาณ ปีงบประมาณ 2559 ที่ได้รับ 282,987,600 บาท
- เบิกจ่ายจริง 277,924,600 บาท
- มีผู้มาลงทะเบียนและมีสิทธิ์ทั้งหมด 118,327 คน
- มีผู้ได้รับเงิน 90,261 คน
ขณะที่ปีงบประมาณ 2560
- ได้รับงบประมาณ 1,939,484,000 บาท
- เบิกจ่ายจริง 1,117,617,400 บาท
- มีผู้ลงทะเบียนและมีสิทธิ์ทั้งหมด 278,322 คน
- มีผู้ได้รับเงิน 228,122 คน
⇒ Must read : อัพเดท! รัฐชี้แจงแล้ว สาเหตุ เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดไม่เข้า
เด็กที่พ่อแม่อยู่ในระบบประกันสังคม
มีสิทธิได้รับ เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ในปีงบประมาณ 61
นอกจากนี้ยังเห็นชอบการยกเลิกเงื่อนไขที่กำหนด ว่า ผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดต้องไม่เป็นผู้อยู่ในระบบประกันสังคม ***โดยแก้ไขให้พ่อแม่ที่อยู่ในระบบประกันสังคมสามารถมีสิทธิ์ลงทะเบียนได้
ซึ่งสิทธิ์นั้นยกให้กับคุณพ่อคุณแม่ที่ลงทะเบียนไว้แล้วในปีงบประมาณ 2559 และให้สิทธิ์ผู้ที่มาลงทะเบียนใหม่เริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561 เป็นต้นไปด้วย…
⇒ Must read : เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด กับ เงินสงเคราะห์บุตร ต่างกันอย่างไร?
ทั้งนี้ เนื่องจากพ่อแม่ของเด็กกลุ่มนี้แม้จะมีรายได้ แต่เมื่อคำนวณรายได้ตามระเบียบการได้รับเงินอุดหนุน ปรากฏว่าผ่านเกณฑ์ความยากจนเนื่องจากต้องรับภาระเลี้ยงดูคนทั้งครอบครัวจึงควรได้รับสิทธิ์ โดยรายได้ทั้งหมดหารจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ยต่ำกว่า 3,000 บาทต่อคนต่อเดือน