แนะวิธี เช็คสิทธิ์ประกันสังคม ตรวจสอบสิทธิประกันสังคม ทั้งข้อมูลยอดการส่งเงินสมทบ การขอเบิกสิทธิประโยชน์ต่างๆ ทั้งกรณีคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ว่างงาน ต้องทำยังไงบ้างมาดูกัน
เช็คสิทธิ์ประกันสังคม มาตรา 33 39 40 ต่างกันอย่างไร?
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ทำงานบริษัทหรือห้างร้านต่างๆ ในทุกๆ เดือนจะต้องจ่าย ประกันสังคม ซึ่งเป็นสวัสดิการที่ทางรัฐมอบให้แก่ลูกจ้าง โดยลูกจ้างและนายจ้างต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมตามกฎหมาย โดยจะทำการหักเงินจากฐานเงินเดือน 5% สูงสุดไม่เกิน 750 บาท/เดือน
ถือเป็นการสร้างหลักประกันสังคมในการดำรงชีวิตของสมาชิกที่มีรายได้ ในการคุ้มครองลูกจ้างจากการเจ็บป่วย ทั้งที่เกิดขึ้นจากการทำงานและนอกเหนือจากการทำงาน โดย “ผู้ประกันตน” (ลูกจ้างหรือพนักงาน) จะต้องเลือกสถานพยาบาลที่ตนเองสะดวก ซึ่งผู้ประกันตนได้รับการดูแลและการทดแทนรายได้ เช่น เมื่อผู้ประกันตนไปหาหมอเพื่อรักษาอาการป่วย ก็สามารถใช้สิทธิประกันสังคมโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษา โดยสามารถใช้สิทธิเบิกได้ทั้งค่า รักษาพยาบาล การคลอดบุตร ทุพพลภาพ ว่างงาน สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และกรณีเสียชีวิต
คนทำงานหลายคนอาจจะยังไม่ทราบรายละเอียดที่แน่ชัดมากพอ รู้เพียงแต่ว่าในแต่ละเดือนเราต้องจ่ายค่าประกันสังคม แต่ไม่รู้ว่าทำไมเราต้องจ่าย แล้วเราจะได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้างจากการจ่ายเงินในแต่ละเดือน บางครั้งคนทำงานหลายคนจะรู้สึกว่าการจ่ายเงินประกันสังคมเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นเลย เพราะแทบจะไม่ได้ใช้สิทธิดังกล่าว การที่หลายคนคิดเช่นนั้น เป็นเพราะเขาไม่รู้ว่าเราจะได้ใช้สิทธิอะไรจากประกันสังคมบ้าง หากรู้แล้วก็จะเข้าใจระบบประกันสังคมได้ดีขึ้นอย่างแน่นอน
ผู้ประกันตนมีกี่ประเภท แตกต่างกันอย่างไร
ทั้งนี้ทางกองทุนประกันสังคม จะแบ่งผู้ประกันตนออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน ดังนี้
-
พนักงานเอกชนทั่วไป (มาตรา 33) ได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี
-
เคยเป็นพนักงานแต่ลาออก (มาตรา 39) ได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี
-
อาชีพอิสระ/แรงงานนอกระบบ (มาตรา 40) ได้รับความคุ้มครอง 3 หรือ 4 กรณี
เช็คสิทธิ์ประกันสังคม มาตรา 33 39 40 ต่างกันอย่างไร
แม้ว่าผู้ประกันตนแต่ละประเภทจะได้รับความคุ้มครองด้วยสิทธิประโยชน์ที่แตกต่างกัน แต่มีหน้าที่ที่จะต้องส่งเงินเข้ากองทุนเหมือนกัน เพื่อเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้นเพื่อให้เห็นความแตกต่างของผู้ประกันตนแต่ละประเภทอย่างชัดเจน ลองมาดูข้อสรุปของสิทธิประโยชน์ คุณสมบัติของผู้ประกันตนว่ามีอะไรบ้าง
ผู้ประกันตนภาคบังคับ มาตรา 33
สิทธิประกันสังคมมาตรา 33 ผู้ประกันตนในกลุ่มนี้ คือ ลูกจ้าง “ผู้ซึ่งทํางานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้าง” หรือ พนักงานบริษัทเอกชนทั่วไป … โดยมีสถานะเป็นลูกจ้างที่ทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่มีพนักงานตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ต้องเป็นลูกจ้างที่ไม่ได้รับการยกเว้นตามที่กำหนดไว้ใน มาตรา 4 มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี และไม่เกิน 60 ปี
ต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุน คิดเป็นสัดส่วนดังนี้ ลูกจ้าง 5% + นายจ้าง 5% + รัฐบาล 2.75% ของฐานเงินค่าจ้าง ขั้นต่ำตั้งแต่ 1,650 บาท แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
สิทธิประโยชน์ ของผู้ประกันตนมาตรา 33 จะได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี คือ
1.กรณีเจ็บป่วย
2.กรณีคลอดบุตร
3.กรณีทุพพลภาพ
4.กรณีตาย
5.กรณีสงเคราะห์บุตร
6. กรณีชราภาพ
7. กรณีว่างงาน
อ่านต่อ >> “วิธีเช็คสิทธิประกันสังคม
ผู้ประกันตนมาตรา 39 และ 40” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่