เงินสงเคราะห์บุตรประกันสังคม อัปเดตปี 2565 ปรับเพิ่มจาก 600 เป็น 800 บาทต่อคน ได้สูงสุดถึง 3 คน ผู้ประกันตน ม.33,39 รีบลงรับเลย ม.40 ทางเลือก 3 ก็ได้ด้วยนะ
รีบเลยแม่!ปรับเพิ่ม เงินสงเคราะห์บุตรประกันสังคม ปี 2565
อัปเดตมาให้แล้ว กับ เงินสงเคราะห์บุตรประกันสังคม ปี 2565 สำหรับผู้กันตนในระบบประกันสังคม มาตรา 33 มาตรา 39 และ มาตรา 40 ใครได้เท่าไหร่กันบ้าง ได้รับเงินสงเคราะห์บุตร ครบทุกคนหรือไม่ แล้วต้องลงทะเบียนอย่างไร ทีมแม่ ABK รวบรวมไว้ให้คุณพ่อคุณแม่กันแล้ว
เงินสงเคราะห์บุตร ประกันสังคม!!
เงินสงเคราะห์บุตร คือ สิทธิประโยชน์จากกองทุนหนึ่งในสำนักงานประกันสังคมเพื่อเป็นทุนใช้จ่ายให้ผู้ประกันตนซึ่งจะได้รับประโยชน์ทดแทนจากเงินที่ให้ผู้ประกันตนส่งให้ในรูปแบบเงินสมทบ ไม่ว่าจะส่งจากนายจ้าง ลูกจ้าง หรือรัฐบาลตามกฎหมาย
สำนักงานประกันสังคม ได้ระบุสิทธิประโยชน์สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่เป็นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม มาตรา 33 มาตรา 39 โดยมอบสิทธิประโยชน์สำหรับคุณพ่อ และคุณแม่ ดังต่อไปนี้
สิทธิประกันสังคม สำหรับคุณพ่อคุณแม่
ผู้ประกันตนที่กำลังจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ ได้รับสิทธิจากประกันสังคมดังนี้
1. กรณีคลอดบุตร
สิทธิคุณพ่อ ได้รับค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย 13,000 บาท มีสิทธิรับคนละไม่เกิน 2 ครั้ง
สิทธิคุณแม่ ได้รับค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย 13,000 บาท สามารถคลอดบุตรที่สถานพยาบาลใดก็ได้ มีสิทธิรับได้คนละไม่เกิน 2 ครั้ง และ เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร 50% ของค่าจ้าง 90 วัน
หลักเกณฑ์ที่จะทำให้ท่านมีสิทธิกรณีคลอดบุตร เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 7 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร มีสิทธิเบิกค่าคลอดบุตรได้ คำว่า 7 เดือน ภายใน 15 เดือน คือ เดือนที่คลอดบุตรไม่นับสิทธิ การนับจะนับย้อนหลังไป 15 เดือน (1 ปี 3 เดือน) มีเงินสมทบครบ 7 เดือน
2. กรณีเงินสงเคราะห์บุตร
สิทธิผู้ประกันตน ม. 33 หรือ ม.39 เงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่าย เดือนละ 800 บาทต่อบุตรหนึ่งคน (จากเดิม 600 บาท) และได้สูงสุด 3 คน ตั้งแต่ลูกเกิดถึงอายุ 6 ปีบริบูรณ์
สิทธิผู้ประกันตน ม.40 ทางเลือกที่ 3 (ที่จ่ายเงินสมทบเดือนละ 300 บาท) จะได้เงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่าย เดือนละ 200 บาท ต่อบุตรหนึ่งคน ตั้งแต่ลูกเกิดถึงอายุ 6 ปีบริบูรณ์
หลักเกณฑ์ที่จะทำให้ท่านมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์บุตร
- ต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือ มาตรา 39 หรือ มาตรา 40
- จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน สิทธิที่ท่านจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 800 บาทต่อบุตรหนึ่งคน
- ต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้น บุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น
- อายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน เว้นแต่ผู้ประกันตนเป็นผู้ทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตาย ในขณะที่บุตรมีอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนต่อจนอายุ 6 ปีบริบูรณ์
รีบลงทะเบียนเลย อย่ารอช้า !!
ขั้นตอนลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิขอรับ เงินสงเคราะห์บุตรประกันสังคม มีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก แค่เตรียมเอกสาร และทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ คุณพ่อคุณแม่ก็จะได้รับเงินอุดหนุนบุตรจากสิทธิผู้ประกันตนตามมาตราที่ตนเองได้ประกันตนไว้
- ผู้ประกันตนต้องกรอกแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม สปส.2-01 พร้อมลงลายมือชื่อและนำมายื่นที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา หรือยื่นขอรับทางไปรษณีย์โดยมีหลักฐานครบถ้วน (กรณีผู้ประกันตนยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรสำหรับบุตร 3 คน ในคราวเดียวกันสามารถใช้แบบคำขอฯ ชุดเดียวกันได้)
- กรณีใช้สิทธิผู้ประกันตนหญิง ยื่นพร้อมเอกสารสำเนาสูติบัตรของบุตรพร้อมตัวจริง (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)
- กรณีใช้สิทธิผู้ประกันตนชาย ยื่นสำเนาสูติบัตรบุตร พร้อมสำเนาทะเบียนสมรส หรือสำเนาทะเบียนหย่าพร้อมบันทึกแนบท้ายของผู้ประกันตน หรือสำเนาทะเบียนรับรองบุตร หรือสำเนาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย จำนวน 1 ชุด
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประกันตน หรือบัตรอื่นที่ราชการออกให้
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ จำนวน 1 ฉบับ ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน 11 ธนาคาร ดังนี้
- ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
- ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารออมสิน
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรห์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
อ่านต่อ : ใช้พร้อมเพย์รับเงินสงเคราะห์บุตร ประกันสังคมชวนลงทะเบียนง่าย ๆ
- เจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐานและพิจารณาอนุมัติ
- สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา
- พิจารณาสั่งจ่าย จ่ายเป็นรายเดือนโดยโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนที่ได้ยื่นไว้
- กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลให้แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลด้วย จำนวน 1 ชุด
- กรณีผู้ประกันตนต่างชาติขอรับประโยชน์ทดแทนให้ใช้สำเนาบัตรประกันสังคมและสำเนาหนังสือเดือนทาง (passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราวหรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ จำนวน 1 ชุด
การหมดสิทธิรับเงินกรณีสงเคราะห์บุตร
- เมื่อบุตรมีอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์
- บุตรเสียชีวิต
- ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่น
- ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
หมายเหตุ : ในกรณีที่บิดาและมารดาเป็นผู้ประกันตน ให้บิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรเพียงฝ่ายเดียว เว้นแต่เมื่อมีการจดทะเบียนหย่าหรือแยกกันอยู่ และบุตรอยู่ในความอุปการะของผู้ประกันตนฝ่ายใดให้ผู้ประกันตนฝ่ายนั้น เป็นผู้มีสิทธิได้รับ
อ่านต่อ : โหลดเลยปฎิทินจ่ายเงินเช็กเงินอุดหนุนบุตรเข้าวันไหน
เช็กเงินสงเคราะห์บุตรประกันสังคม
ปัจจุบันทางสำนักงานประกันสังคมได้อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกันตน โดยมีแอปพลิเคชั่นมาให้ได้ใช้งาน หรือหากไม่สะดวกก็มีเว็ปไซด์ของสำนักงานประกันสังคมให้ได้เลือกใช้กัน โดยมีวิธีการเช็กสิทธิง่าย ๆ ดังนี้
- ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น SSO Connect หรือเข้าเว็บไซต์ sso.go.th
- จากนั้นเข้าสู่ระบบ หากยังไม่ได้เป็นสมาชิกสามารถสมัครผ่านระบบก่อน (สมัครสมาชิก)
- ผู้ที่เข้าผ่านแอปพลิเคชั่น กดเลือกเมนู “การเบิกสิทธิประโยชน์” ส่วนผู้ที่เข้าผ่านเว็บไซต์กดเลือกเมนู “การใช้สิทธิประโยชน์ทดแทน”
- ระบบจะแสดงรายการจ่ายเงินสงเคราะห์บุตร เป็นรายเดือนไว้ให้ตามสิทธิ์ของผู้ประกันตน
รู้หรือไม่!! ปัจจุบันปี 2565 เงินสงเคราะห์บุตรประกันสังคมจะได้รับอยู่ที่ เดือนละ 800 บาท เนื่องจากผลกระทบโควิด-19 เดิมเงินสงเคราะห์บุตรจะอยู่ที่ 400 บาท/เดือนและ ปี2561 เคยปรับขึ้นแล้วเป็นเดือนละ 600 บาท ดังนั้นสำหรับผู้ที่เคยได้รับในช่วงปี 2561 นั้น จะมีการจ่ายเงินย้อนหลังเพิ่มให้เดือนละ 200 บาท ทั้งนี้ รายเก่าและรายใหม่ จะได้รับอยู่ที่ 800 บาท/เดือน โดยมีผลบังคับใช้ 1 มกราคม 2564
อ่านต่อ : เงินสงเคราะห์บุตร 800 เงินสงเคราะห์บุตรเข้าวันไหน เช็กเลย
ข้อมูลอ้างอิงจาก www.komchadluek.net/สำนักงานประกันสังคม
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
แจ้งเกิดลูก ไม่มีพ่อ ไม่ระบุชื่อพ่อได้ไหม? อนาคตจะมีปัญหาหรือไม่?
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่