แบ่งทรัพย์สินอย่างไร หากไม่ได้จดทะเบียนสมรส - Page 2 of 2 - Amarin Baby & Kids

แบ่งทรัพย์สินอย่างไร หากไม่ได้จดทะเบียนสมรส

Alternative Textaccount_circle
event

กรณีฝ่ายหญิงอยู่บ้านเลี้ยงบุตร

หากฝ่ายชายประกอบกิจการค้า ส่วนฝ่ายหญิงอยู่บ้านเลี้ยงลูก ดูแลบ้าน  ทำอาหารเลี้ยงดูครอบครัวเป็นเวลาหลายปี  มีทรัพย์สินหลายสิ่งหลายอย่างเพิ่มขึ้น  จะถือว่าการที่ฝ่ายหญิงเป็นแม่บ้านดูแลครอบครัว  เป็นการลงทุนร่วมแรงทำมาหาได้ร่วมกันกับฝ่ายชาย  จึงมีส่วนแบ่งในทรัพย์สินส่วนนี้หรือไม่  ศาลฎีกาได้เคยวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ในปี 2512  ว่า  การที่หญิงดูแลครอบครัวให้ชายเป็นการร่วมกันกับชาย  ทำมาหากินแสวงหาทรัพย์สินมาเป็นสมบัติร่วมกันแล้ว  ทั้งชายและหญิงจึงมีส่วนในทรัพย์สินดังกล่าวเท่าๆ กัน

นอกจากนี้ ยังมี คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5438/2537 ว่า ชายหญิงอยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส  มีบุตร 4 คน หญิงเป็นแม่บ้านมีหน้าที่เลี้ยงดูบุตร พฤติการณ์ย่อมถือได้ว่าชายหญิงร่วมกันทำมาหากินและมีเจตนาเป็นเจ้าของในทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน เมื่อเลิกร้างการเป็นสามีภรรยากัน ถือเป็นกรรมสิทธิ์ร่วม ต้องแบ่งคนละครึ่ง

แบ่งทรัพย์สิน ไม่ได้จดทะเบียน

กรณีต่างคนต่างทำมาหาได้แยกกัน

สำหรับทรัพย์สินที่ต่างคนต่างทำมาหาได้แยกกันนั้นเป็นสิทธิของฝ่ายนั้นผู้เดียว  อีกฝ่ายหนึ่งไม่มีส่วนแบ่งด้วยเพราะไม่ถือว่าเป็นสินสมรสตามมาตรา 1474(1) ฉะนั้น  ในกรณีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน สามีจึงไม่มีสิทธิฟ้องของแบ่งทรัพย์จากภรรยาในส่วนทรัพย์ที่สามีไม่ได้ร่วมแรงร่วมทุนทำมาหาได้กับภรรยาแต่อย่างใด

ตัวอย่างเช่น หากฝ่ายชายรับราชการได้เงินเดือนเดือนละ 15,000  บาท  เงินเดือนและค่าจ้างนี้เป็นของฝ่ายชายโดยเฉพาะ หรือหากฝ่ายหญิงได้รับมรดกเป็นที่ดิน 3 แปลง ที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวก็เป็นของหญิงแต่เพียงผู้เดียวเช่นเดียวกัน


ส่วนหนึ่งจากหนังสือ “ครอบครัว  โดย คุณประสพสุข  บุญเดช”

www.decha.com

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up