เพิ่มค่าลดหย่อน กับ มาตรการภาษีเพื่อคนมีลูก
การ เพิ่มค่าลดหย่อน หรือ มาตรการภาษีเพื่อผู้มีบุตร เป็นส่วนหนึ่งของมาตรการรองรับโครงสร้างประชากรของประเทศที่กำลังปรับเปลี่ยนเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และมีสัดส่วนของประชากรวัยแรงงานลดลง
หรือเรียกว่าเพื่อจูงใจให้คนไทยมีบุตรเพิ่มขึ้นนั่นเอง โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้มีรายได้และอยู่ในระบบภาษี และยังเป็นการสนับสนุนให้บุตรได้รับการเลี้ยงดูและเติบโตอย่างมีคุณภาพอันจะทำให้ประเทศไทยมีกำลังแรงงานที่มีคุณภาพในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศในระยะยาว รวมทั้งยังเป็นการเป็นการเตรียมพร้อมเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
ทั้งนี้มีข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่า…ไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอด มีสัดส่วนประชากรสูงอายุถึง 30% ในปี 2579 กระทรวงการคลังจึงต้องออกมาตรการดังกล่าวมาสร้างแรงจูงใจให้คนไทยมีลูกเพิ่ม โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ที่มีรายได้และอยู่ในระบบภาษี และยังช่วยสนับสนุนให้เด็กที่เกิดมาได้รับการเลี้ยงดูและเติบโตอย่างมีคุณภาพ โดยกระทรวงการคลัง คาดว่า…โครงการดังกล่าวจะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ประมาณปีละ 2,500 ล้านบาท
โดยเมื่อปี 2560 มีการปรับโครงสร้างอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนี้ ตามภาพด้านล่าง
วัตถุประสงค์ของการเพิ่มค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน และปรับปรุงอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครั้งนี้ เพื่อบรรเทาภาระภาษีให้กับผู้ที่มีเงินได้ประเภทเงินเดือน หรือที่เรียกว่า “มนุษย์เงินเดือน” โดยเน้นไปที่กลุ่มคนในระดับล่างเป็นสำคัญ หากนำข้อมูลโครงสร้างของผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีภาษี 2557 มีผู้มีเงินได้มายื่นแบบ ภ.ง.ด.90-91 ประมาณ 10 ล้านคน มาวิเคราะห์ จะเห็นว่า กลุ่มคนที่มีเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท จำนวน 6.3 ล้านคน ยังคงได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 470) พ.ศ. 2551 ต่อไป ส่วนคนที่มีเงินได้ในช่วง 150,001-300,000 บาท มีจำนวน 2 ล้านคน ได้รับสิทธิหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 70,000 บาทต่อคน รวมผู้เสียภาษีทั้ง 2 กลุ่ม ได้รับประโยชน์จากมาตรการภาษีของรัฐบาลประมาณ 8 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 80% ของผู้ที่มายื่นภาษีกับกรมสรรพากร
นอกจากนี้ ครม.ยังเห็นชอบมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์รับเลี้ยงเด็กเพื่อเป็นสวัสดิการของลูกจ้างสถานประกอบการของบริษัทเอกชน โดยกำหนดให้เอกชนที่จัดตั้งศูนย์ดังกล่าว…
สามารถนำค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งศูนย์มาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ตามจริง และสามารถหักได้เพิ่มขึ้นอีกเท่าหนึ่งตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 1 ล้านบาท
ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ใช้จริงตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2561 – 31 ธ.ค. 2563 คาดว่าการดำเนินการดังกล่าว แม้จะกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐ ไปประมาณปีละ 20 ล้านบาท แต่ก็สร้างสวัสดิการให้กับลูกจ้างได้ดียิ่งขึ้น
ทั้งนี้ จากข้อมูลของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ณ สิ้นเดือน ก.ย. 2560 พบว่า…
มีจำนวนสถานประกอบการมากกว่า 442,040 แห่ง แต่มีการจัดตั้งศูนย์ดังกล่าวอยู่เพียง 82 แห่ง ในจำนวนนี้เป็นศูนย์ที่ได้รับอนุญาตจากกรมกิจการเด็กและเยาวชนเพียง 11 แห่ง ขณะที่จำนวนเด็กปฐมวัยทั่วประเทศมีอยู่ 4 ล้านคน และศูนย์รับเลี้ยงเด็กเอกชนมีจำนวน 1,604 แห่ง สามารถรองรับเด็กปฐมวัยได้เพียง 76,502 คนเท่านั้น
อ่านต่อ >> “รายการค่าลดหย่อนที่เกี่ยวข้องกับคนมีครอบครัว ที่พ่อแม่ควรรู้!” คลิกหน้า 3
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.khaosod.co.th , www.prachachat.net
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่