เฮได้! เพิ่มค่าลดหย่อน ภาษี ลูกคนที่ 2/ฝากครรภ์/ค่าคลอด - amarinbabyandkids
เพิ่มค่าลดหย่อน

พ่อแม่เฮได้! เพิ่มค่าลดหย่อนภาษี “ลูกคนที่ 2 – ค่าฝากครรภ์ – ค่าคลอด”

event
เพิ่มค่าลดหย่อน
เพิ่มค่าลดหย่อน

เพิ่มค่าลดหย่อน

ค่าลดหย่อน เป็นหนึ่งองค์ประกอบในการคำนวณภาษีที่กฎหมายกำหนดให้นำไปหักออกจากเงินได้ได้อีกหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว โดยมีการหักลดหย่อนกรณีต่าง ๆ แตกต่างกันออกไป ซึ่งนอกจากการเพิ่มค่าลดหย่อน กับการ ลูกคนที่ 2 ค่าฝากครรภ์ ค่าคลอด สำหรับคนที่มีครอบครัวควรรู้เรื่องเกี่ยวกับค่าลดหย่อนอื่นๆ นอกเหนือจาก การเพิ่มค่าลดหย่อน ข้างต้นนี้ นั้นก็เพื่อไม่ให้เสียสิทธิไป โดยมีรายการค่าลดหย่อนที่เกี่ยวข้องกับคนมีครอบครัว ดังนี้

กรณีบุคคลธรรมดา หรือผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี

>> ผู้มีเงินได้ 60,000 บาท

>> คู่สมรส (ไม่มีเงินได้) 60,000 บาท

>> ผู้มีเงินได้หรือคู่สมรสต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ให้หักลดหย่อนรวมกันได้ ไม่เกิน 120,000 บาท

>> ลูกที่ชอบด้วยกฎหมายและลูกบุญธรรม หักค่าลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท ต้องเข้าเงื่อนไข ดังนี้

  • ลูกที่ชอบด้วยกฎหมาย หักลดหย่อนได้ไม่จำกัดจำนวน
  • ลูกบุญธรรม หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 3 คน
  • กรณีมีลูกที่ชอบด้วยกฎหมายที่มีชีวิตอยู่จำนวนตั้งแต่ 3 คน จะนำบลูกบุญธรรมมาหักอีกไม่ได้
  • กรณีมีลูกที่ชอบด้วยกฎหมายมีจำนวนไม่ถึง 3 คน ให้นำลูกบุญธรรมมาหักได้รวมกับลูกที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่รวมกันต้องไม่เกิน 3 คน

ลูกที่นำมาหักลดหย่อนต้องไม่มีเงินได้ตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป และเข้าหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

  • เป็นผู้เยาว์
  • มีอายุไม่เกิน 25 ปี และกำลังศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยหรืออุดมศึกษา
  • เป็นผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถอันอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดู

การนับจำนวนลูก ให้นับเฉพาะลูกที่มีชีวิตอยู่ตามลำดับอายุสูงสุดของลูก โดยนับรวมลูกที่อยู่ในเกณฑ์ได้รับการลดหย่อนด้วย

>> ค่าอุปการะเลี้ยงดูพ่อแม่ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ โดยพ่อแม่ต้องมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ขอหักลดหย่อนไม่เกิน 30,000 บาท หักค่าลดหย่อน คนละ 30,000 บาท และสามารถหักลดหย่อนสำหรับพ่อแม่ของคู่สมรสได้อีกคนละ 30,000 บาท

>> ค่าเบี้ยประกันชีวิต (กรมธรรม์อายุ 10 ปีขึ้นไป) ของผู้มีเงินได้หักค่าลดหย่อนและได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท ทั้งนี้ หากคู่สมรสมีการประกันชีวิต และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักลดหย่อน สำหรับเบี้ยประกันชีวิตของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท แต่หากสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้

(ก) ถ้าความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้นภาษี ให้สามีและภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริง เฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 90,000 บาท ซึ่งไม่เกินเงินได้พึงประเมินของแต่ละคนหลังจากหักค่าใช้จ่าย ตามมาตรา 42 ทวิ ถึง มาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว

(ข) ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้นภาษีและภริยาไม่ใช้สิทธิแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีตามมาตรา 57 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร ให้สามีและภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริง เฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 90,000 บาท ซึ่งไม่เกินเงินได้พึงประเมินของแต่ละคนหลังจากหักค่าใช้จ่าย ตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว

(ค) ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้นภาษีและภริยาใช้สิทธิแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามี ตามมาตรา 57 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร ให้สามีและภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริง เฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 90,000 บาท ซึ่งไม่เกินเงินได้พึงประเมินของแต่ละคนหลังจากหักค่าใช้จ่าย ตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว

>> ค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาของผู้มีเงินได้และคู่สมรส หักค่าลดหย่อนเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ทั้งนี้ บิดามารดาของผู้มีเงินได้และคู่สมรสต้องไม่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เกิน 30,000 บาท

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.rd.go.th

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up