ทั้งนี้สำหรับเรื่อง เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ผู้ที่ต้องการลงทะเบียนต้องรู้ถึงเงื่อนไข คำนิยามของ ครัวเรือนยากจนและครัวเรือนที่เสี่ยงต่อความยากจน กันก่อนนะคะ
ครัวเรือนยากจนและครัวเรือนที่เสี่ยงต่อความยากจน หมายถึง ครัวเรือนที่สมาชิกในครัวเรือน มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 3,000 บาท ต่อคน ต่อเดือน หรือต่ำกว่า 36,000 บาท ต่อคน ต่อปี โดยนำรายได้ของสมาชิกทั้งหมดในครอบครัว หารด้วยจำนวนสมาชิกทั้งหมดในครอบครัว ซึ่งรวมเด็กแรกเกิดด้วย ในความเป็นจริงการสอบถามรายได้อาจไม่ได้ข้อมูลที่ตรงกับข้อเท็จจริง จึงจาเป็นต้องใช้การประเมิน
♥ แนะนำบทความควรอ่านก่อน! : เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดไม่เข้า เพราะ งบหมด จริงหรือ?
♥ แนะนำบทความควรอ่านก่อน! : ประสบการณ์ตรง เรื่องเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด
♥ แนะนำบทความควรอ่านก่อน! : เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ปี 2560 เพิ่มเป็น 600 บาท
ความยากจนระดับครัวเรือน ด้วยข้อมูลสถานะของครัวเรือนมาประกอบการพิจารณาด้วย (แบบ ดร.02 ในกรอบขวาล่าง หน้า 23) โดยต้องมีข้อเท็จจริงข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้
1) ครอบครัวมีภาระพึ่งพิง ได้แก่ ในครอบครัวมีคนพิการ หรือผู้สูงอายุ หรือเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีหรือคนว่างงาน อายุ 15 – 65 ปี หรือเป็นพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว
2) สภาพที่อยู่อาศัย สภาพบ้านชำรุดทรุดโทรม บ้านทำจากวัสดุพื้นบ้าน เช่น ไม้ไผ่ ใบจาก หรือวัสดุเหลือใช้ หรืออยู่บ้านเช่า
3) ไม่มีรถยนต์ส่วนบุคคล รถปิกอัพ รถบรรทุกเล็ก รถตู้
4) เป็นเกษตรกรที่มีที่ดินทำกินไม่เกิน 1 ไร่
การรับรองความยากจนในแบบรับรองสถานะของครัวเรือน (แบบ ดร.02) ต้องมีผู้รับรอง 2 คน ดังนี้
ผู้รับรองคนที่ 1
- กรุงเทพมหานคร : ประธานกรรมการชุมชน หรือหัวหน้าฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคมประจำสำนักงานเขต
- เมืองพัทยา : ประธานชุมชน หรืออาสาสมัครสาธารณสุขเมืองพัทยา
- เทศบาล หรือ องค์การบริหารส่วนตำบล : อพม. หรือ อสม.
- บ้านพักเด็กและครอบครัว หรือ สถานสงเคราะห์ของรัฐ : เจ้าหน้าที่บ้านพักเด็กและครอบครัว หรือ เจ้าหน้าที่สถานสงเคราะห์
ผู้รับรองคนที่ 2
- กรุงเทพมหานคร : ผู้อำนวยการเขต หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
- เมืองพัทยา : ปลัดเมืองพัทยา หรือรองปลัดเมืองพัทยาที่ได้รับมอบหมาย
- เทศบาล หรือ องค์การบริหารส่วนตำบล : ปลัดเทศบาล หรือปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล หรือผู้ที่ปลัดมอบหมายหรือกำนัน หรือผู้ใหญ่บ้าน
- บ้านพักเด็กและครอบครัว หรือ สถานสงเคราะห์ของรัฐ : หัวหน้าบ้านพักเด็กและครอบครัว หรือ ผู้ปกครองสถานสงเคราะห์
ขอบคุณข้อมูลจาก https://csg.dcy.go.th/index.php/en/2015-09-18-03-15-53
สิทธิ์ประกันสังคม ค่าคลอดบุตร / เงินสงเคราะห์บุตร
สำหรับคุณแม่และคุณพ่อที่ส่งเงินประกันสังคมต้องทราบเลยนะคะ ว่าเราสามารถเบิกค่าคลอดบุตรและเงินสงเคราะห์บุตรได้ อย่ามัวแต่ส่งเงินอย่างเดียว ต้องคอยเช็คสิทธิ์ของเราด้วยนะคะ เพราะวางแผนว่าจะมีลูกสักคนก็ถือเป็นภาระยิ่งใหญ่ที่ทั้งพ่อและแม่จะต้องเจอ ซึ่งอันดับแรกที่ต้องคิดหน้าคิดหลังให้ดีเริ่มตั้งแต่ท้องจนถึงคลอดและเลี้ยงดูมาจนเติบโต คือเรื่องของค่าใช้จ่าย ซึ่งเงินค่าคลอดบุตรและเงินสงเคราะห์จากประกันสังคม นี้จะสามารถมาช่วยแบ่งเบาภาระของคุณแม่คุณพ่อไปได้บ้าง
ค่าคลอดบุตร
สำหรับกรณีคลอดบุตรนี้ผู้มีสิทธิ์จะต้องจ่ายเงินสมทบครบ 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนที่จะคลอด จึงจะเบิกค่าคลอดบุตรได้ ค่าคลอดบุตรให้ในอัตราเหมาจ่ายคนละ 13,000 บาท ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
นอกจากค่าคลอดบุตรแล้วผู้ประกันตนหญิงยังมีสิทธิ์ได้รับเงินสงเคราะห์จากการลาคลอดเป็นแบบเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง โดยเฉลี่ย เป็นระยะเวลา 90 วัน คิดจากฐานเงินเดือนสูงสุดที่ 15,000 บาท ในส่วนของเงินสงเคราะห์การลาคลอดนี้จะใช้สิทธิ์ได้ไม่เกิน 2 ครั้ง
ค่าสงเคราะห์บุตร
ส่วนกรณีสงเคราะห์บุตรผู้ที่ต้องการรับสิทธิ์จะต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน สิทธิ์ที่จะได้รับในกรณีสงเคราะห์บุตรเป็นการเหมาจ่ายเดือนละ 400 บาทต่อคน ใช้สิทธิ์ได้ 3 ครั้ง และจะได้เงินสงเคราะห์บุตรจนกว่าบุตรจะมีอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสิทธ์ของประกันสังคมโดยมากก็จะเขียนไว้กว้าง ๆ แต่เมื่อถึงเวลาก็จะมีคำถามหรือข้อสงสัยในรายละเอียดต่าง ๆ ของหลายกรณี ทำให้มีคำถามเพิ่มเติมมากมาย วันนี้เราจะนำมาสรุปกันเฉพาะในเรื่องของค่าคลอดบุตรและสงเคราะห์บุตรให้คลายความสงสัยกันค่ะ
อ่านต่อ >> “รวม 11 คำถามสำคัญที่คุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับเรื่องการเบิกค่าคลอดบุตรและสงเคราะห์บุตร” คลิกหน้า 3
อ่านต่อ “บทความดีๆ น่าสนใจ” คลิก!
- ต้องรู้! สิทธิประกันสังคมฟรี ที่เพิ่มมาในปี 2560
- รวม ค่าคลอด โรงพยาบาลรัฐ ปี 2560
- เบิกค่าคลอดประกันสังคม พร้อมขั้นตอนการยื่น
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่