หลายครอบครัวกำลังมีปัญหาเรื่องดอกเบี้ยส่งบ้าน อยากจะปิดให้หมดไวๆ เพื่อนำเงินมาใช้จ่ายส่วนอื่น ซึ่งวันนี้เราขอแนะนำวิธีการลดดอกเบี้ยด้วยการ “รีไฟแนนซ์” ซึ่งมีหลักการอย่างไรบ้างนั้น เรามาศึกษาไปพร้อมๆ กันค่ะ
การรีไฟแนนซ์คืออะไร?
การรีไฟแนนซ์ คือการที่เรามีสัญญาเงินกู้อยู่จำนวนหนึ่ง และต้องการที่จะเคลียร์หนี้ในส่วนนี้ เนื่องจากได้รับผลประโยชน์ หรือข้อเสนอที่ดีกว่าจากจากเงินกู้ก้อนใหม่ เช่น ดอกเบี้ยน้อยกว่าในวงเงินที่มากขึ้น จึงนำเงินที่ได้จากเงินกู้ก้อนใหม่ (ที่มีข้อเสนอที่ดีกว่า) มาเคลียร์หนี้ก้อนเก่านั่นเอง เพื่อรับผลประโยชน์ หรือสัญญาเงินกู้ฉบับใหม่ ในธนาคารหรือสถาบันการเงินเจ้าใหม่ แต่ ก็ต้องวิเคราะห์ให้ดีๆ ว่าส่วนต่างค่าประหยัด หรือดอกเบี้ยที่ลดลงจากการรีไฟแนนซ์ กับค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการรีไฟแนนซ์นั้น คุ้มค่ากันหรือไม่
ค่าใช้จ่ายสำหรับการรีไฟแนนซ์
มีด้วยกัน 6 ส่วน ได้แก่
- ค่าปรับการคืนเงินกู้ก่อน ซึ่งจะมีประมาณ 0 – 2% ของยอดหนี้ที่รีไฟแนนซ์ โดยจะจ่ายให้ผู้ให้กู้เจ้าเดิม หากรีไฟแนนซ์ทั้งก้อนก่อนครบกำหนด 3 ปี
- ค่าจัดการสินเชื่อ ประมาณ 0 – 1% ของวงเงินกู้ใหม่ โดยจ่ายให้กับผู้ให้กู้ใหม่
- ค่าธรรมเนียมสำหรับการจำนอง ประมาณ 10% ของราคาประเมินโดยจะไม่เกิน 2 แสนบาท จ่ายให้กับกรมที่ดิน และไม่จำเป็นต้องจ่ายหากรีไฟแนนซ์กับเจ้าเดิม
- ค่าประเมินราคาหลักประกัน 1,500 บาท – 0.25% ของราคาประเมิน จ่ายให้กับผู้กู้ใหม่ และอาจจะไม่จำเป็นต้องจ่ายหากรีไฟแนนซ์กับที่เดิม
- ค่าทำประกันอัคคีภัย 2,000 บาทสำหรับบ้านมูลค่า 1 ล้านบาท โดยจ่ายให้กับผู้กู้ใหม่
- ค่าอากรแสตมป์ ที่จะต้องจ่ายให้กับผู้ให้กู้ใหม่ เป็นจำนวน 0.05% ของวงเงินกู้ใหม่
ข้อดีของการทำรีไฟแนนซ์
- จากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง จะทำให้ได้เงินส่วนต่าง ทำให้มีเงินเหลือสำหรับใช้จ่ายๆ ส่วนอื่นๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังมีแผนทำธุรกิจ เพราะจะสามารถเพิ่มทุนในการหมุนเวียนในธุรกิจได้
- ในบางกรณีอาจจะทำให้ได้วงเงินกู้ที่มากขึ้นกว่ายอดค้างเดิม
- อัตราดอกเบี้ยเจ้าใหม่ที่ถูกกว่า ซึ่งจะทำให้สามารถผ่อนชำระดอกเบี้ยได้ถูกลงกว่าเดิม
- เป็นการลดภาระหนี้ของ โดยจะแบ่งเบาภาระให้จำนวนเงินที่ต้องผ่อนในแต่ละเดือนลดลงนั่นเอง
ข้อเสียของการทำรีไฟแนนซ์
- ค่อนข้างยุ่งยากในเรื่องของการเตรียมเอกสาร
- ทำให้ระยะเวลาการผ่อนชำระนานขึ้น
- เสียค่าจัดรีไฟแนนซ์ใหม่ อาจจะมีการเสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายจิปาถะอีกด้วย
ที่มา : เพจ ครอบครัวการเงิน (https://www.facebook.com/KrobKruaKarnNgern)
ภาพ : ShutterStock