เช็คเงื่อนไข! พ่อลูกอ่อน เบิกค่าคลอดบุตร ประกันสังคมได้
ในช่วงเวลาวิกฤติเศรษฐกิจอย่างนี้ หากคุณพ่อคุณแม่ มีสิทธิที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ ก็นับเป็นเรื่องที่ดีของครอบครัวนะคคะ ครั้งนี้เป็นสิทธิของคุณพ่อมือใหม่ที่เป็นผู้ประกันตนของประกันสังคมในมาตรา 33 และ 39 ที่สามารถ เบิกค่าคลอดบุตร ได้ค่ะ มีเงื่อนไข และหลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง มาติดตามกันค่ะ
เงินประกันสังคมคืออะไร?
เงินประกันสังคม หรือ “เงินสมทบกองทุนประกันสังคม” เป็นเงินที่นายจ้างและลูกจ้างต้องส่งเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน โดยรูปแบบการส่งเงินสมทบประกันสังคมในปัจจุบันสามารถแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบหลักๆ คือ
ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และ 39
ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 คือ ลูกจ้างที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ และทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง ตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป
การคำนวณเงินประกันสังคม คำนวณจากค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในแต่ละเดือน ขั้นต่ำสุดอยู่ที่ 1,650 บาท และสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท หรือหากคิดเป็นเงินสมทบรายเดือนจะมีขั้นต่ำที่ต้องจ่ายเดือนละ 83 บาท และสูงสุดเดือนละ 750 บาท
ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 คือ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ที่จ่ายเงินสมทบแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน และออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ออกจากงาน รวมถึงต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม
สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จะต้องนำส่งเงินกองทุนเดือนละ 432 บาท โดยต้องส่งเงินสมทบให้ครบทุกเดือนต่อเนื่องกัน ซึ่งหากไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน ภายในระยะเวลา 12 เดือน ก็จะถือว่าสิ้นสุดสภาพผู้ประกันตนตามมาตรานี้
คุณพ่อลูกอ่อน มาตรา 33 และ 39
- เหมาจ่าย 15,000 บาท / ครั้ง
- ได้รับเงินสงเคราะห์บุตร 800 บาท
ตั้งแต่แรกเกิด – 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน
หลักเกณฑ์ เบิกค่าคลอดบุตร มีดังนี้
- ภรรยามีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
- เป็นผู้ประกันตนม. 33 และ 39 เท่านั้น
- ผู้ประกันตนส่งเงินสมทบแล้ว ไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนภรรยาคลอดบุตร
- ผู้ประกันตนส่งเงินสมทบแล้ว ไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร
ในกรณีที่ทั้งพ่อและแม่เป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ จะสามารถเบิกได้แค่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้นต่อบุตร 1 คน
หากใช้สิทธิของแม่ที่เป็นผู้ประกันตน จะได้รับสิทธิเพิ่มในส่วนของเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายใน อัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน โดยใช้สิทธิได้ 2 ครั้ง
รับเงินสงเคราะห์บุตร
นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่ที่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือ มาตรา 39 มีสิทธิขอรับเงินสงเคราะห์บุตรเดือนละ 800 บาทได้ โดยเงินสงเคราะห์บุตรจะอยู่ภายใต้การดำเนินงานของของสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ทั้งนี้ผู้ปกครองที่สนใจสามารถสมัครรับเงินสงเคราะห์บุตรได้
ช่องทางการสมัครรับเงินสงเคราะห์บุตร
- สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่
- สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)
คุณสมบัติของผู้ปกครองที่สมัครรับเงินสงเคราะห์บุตรได้
- ต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือ มาตรา 39
- จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน สิทธิที่ท่านจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 800 บาทต่อบุตรหนึ่งคน
- ต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้น บุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น
- อายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน เว้นแต่ผู้ประกันตนเป็นผู้ทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตาย ในขณะที่บุตรมีอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนต่อจนอายุ 6 ปีบริบูรณ์
หลักฐานที่ต้องใช้ในการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร
1.แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส. 2-01)
2.กรณีผู้ประกันตนเคยยื่นใช้สิทธิแล้วและประสงค์จะใช้สิทธิสำหรับบุตรคนเดิม ให้ใช้หนังสือขอใช้สิทธิบุตรคนเดิมกรณีกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน จำนวน 1 ฉบับ
3.กรณีผู้ประกันตนหญิงใช้สิทธิ
- สำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย) จำนวน 1 ชุด
4.กรณีผู้ประกันตนชายใช้สิทธิ
- สำเนาทะเบียนสมรส หรือสำเนาทะเบียนหย่าพร้อมบันทึกแนบท้ายของผู้ประกันตนหรือสำเนาทะเบียนรับรองบุตร หรือสำเนาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย จำนวน 1 ชุด
- สำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วยจำนวน 1 ชุด)
5.กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลให้แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลด้วย จำนวน 1 ชุด
6.กรณีผู้ประกันตนต่างชาติขอรับประโยชน์ทดแทนให้ใช้สำเนาบัตรประกันสังคมและสำเนาหนังสือเดือนทาง (passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราวหรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ จำนวน 1ชุด
7.สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ จำนวน 1 ฉบับ ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน ดังนี้
- ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน)
- ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)
- ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน)
- ธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน)
- ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
- ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด(มหาชน)
8.เอกสารประกอบการยื่นคำขอฯ ที่เป็นสำเนาให้รับรองความถูกต้องของสำเนาทุกฉบับ และแสดงเอกสารที่เป็นต้นฉบับเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบ กรณีเอกสารหลักฐานสำคัญต่อการพิจารณาเป็นภาษาต่างประเทศให้จัดทำคำแปลเป็นภาษาไทยและรับรองความถูกต้องให้ครบถ้วน
ขั้นตอนการขอรับประโยชน์ทดแทน
- ผู้ประกันตนต้องกรอกแบบ สปส.2-01 พร้อมลงลายมือชื่อและนำมายื่นที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา หรือยื่นขอรับทางไปรษณีย์โดยมีหลักฐานครบถ้วน (กรณีผู้ประกันตนยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรสำหรับบุตร 3 คน ในคราวเดียวกันสามารถใช้แบบคำขอฯ ชุดเดียวกันได้)
- เจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐานและพิจารณาอนุมัติ
- สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา
- พิจารณาสั่งจ่าย จ่ายเป็นรายเดือนโดยโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน
ผู้ประกันจะไม่มีสิทธิหรือหมดสิทธิในการรับเงินสงเคราะห์บุตร มีดังต่อไปนี้
- เมื่อบุตรมีอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์
- บุตรเสียชีวิต
- ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่น
- ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสังคมได้ที่ www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
ขอบคุณข้อมูลจาก
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก