เปลี่ยน นามสกุล ลูก ใช้ เอกสาร อะไร บ้าง อัปเดตพร้อมไม่ยุ่งยาก - Page 2 of 2 - Amarin Baby & Kids
เปลี่ยน นามสกุล ลูก ใช้ เอกสาร อะไร บ้าง

เปลี่ยน นามสกุล ลูก ใช้ เอกสาร อะไร บ้าง อัปเดตพร้อมไม่ยุ่งยาก

Alternative Textaccount_circle
event
เปลี่ยน นามสกุล ลูก ใช้ เอกสาร อะไร บ้าง
เปลี่ยน นามสกุล ลูก ใช้ เอกสาร อะไร บ้าง

เอกสารในการยื่นขอเปลี่ยนนามสกุลลูก

หากพูดถึงการ เปลี่ยนนามสกุลลูก ใช้เอกสารอะไรบ้าง ในกรณีทั่ว ๆ ไปแล้วนั้น จะมีเอกสารในการขอยื่นเปลี่ยนนามสุกลไม่มาก ดังนี้

  1. สูติบัตรของบุตร
  2. สำเนาทะเบียนบ้านที่บุตรมีชื่ออยู่
  3. หลักฐานการจดทะเบียนหย่า
  4. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
  5. สำเนาทะเบียนบ้าน
  6. ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อสกุล (ขอที่เจ้าหน้าที่เพิ่มเติม)

การเปลี่ยนนามสกุลลูก ในกรณีที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ได้ทำการจดทะเบียนสมรสกัน

แบ่งออกได้เป็น 2 กรณี

กรณีที่ 1 คุณพ่อคุณแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน และคุณพ่อไม่ได้ทำการจดทะเบียนรับรองบุตร

ในกรณีนี้จะถือว่าคุณแม่เป็นผู้มีอำนาจในการปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว ดังนั้น หากคุณแม่ต้องการที่จะเปลี่ยนนามสกุลลูก ก็สามารถที่จะทำได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้เป็นพ่อ

กรณีที่ 2 คุณพ่อคุณแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส แต่คุณพ่อได้ทำการจดทะเบียนรับรองบุตรแล้วเรียบร้อยแล้ว

ในกรณีนี้จะถือว่าคุณพ่อและคุณแม่มีอำนาจร่วมกันในการปกครองบุตร ดังนั้น หากคุณพ่อหรือคุณแม่ต้องการที่จะเปลี่ยนนามสกุลลูก ก็ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายเสียก่อน

โดยขั้นตอนการเปลี่ยนนามสกุลลูก มีดังนี้

  1. ผู้ดำเนินการแทนผู้เยาว์ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ลูกมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
  2. นายทะเบียนท้องที่ตรวจสอบคำขอและชื่อสกุลที่ขอเปลี่ยนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
  3. หากได้รับการอนุมัติ นายทะเบียนท้องที่จะออกหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล (แบบ ช.2) ให้เป็นหลักฐานและเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 100 บาท
  4. เมื่อได้รับหนังสือสำคัญแล้ว ให้ดำเนินการเปลี่ยนนามสกุลลูกบนเอกสารสำคัญต่าง ๆ

"พ่อแม่หย่าร้าง

เปลี่ยนนามสกุลลูก กรณีหย่าร้างกันแล้ว (อำนาจการปกครองอยู่ที่พ่อ)

ในกรณีที่คุณพ่อคุณแม่ได้ทำการหย่าร้างกันแล้ว และอำนาจการปกครองบุตรอยู่ที่คุณพ่อ คุณแม่จะไม่สามารถยื่นคำร้องเพื่อขอเปลี่ยนนามสกุลลูกได้ นอกจากว่า จะได้รับความยินยอมจากผู้เป็นพ่อ แต่ถ้าหากอำนาจการปกครองบุตรอยู่ที่คุณแม่ คุณแม่สามรถดำเนินการยื่นคำร้องด้วยตนเองได้เลย

โดยขั้นตอนการเปลี่ยนนามสกุลลูก มีดังนี้

  1. ผู้ดำเนินการแทนผู้เยาว์ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ลูกมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
  2. นายทะเบียนท้องที่ตรวจสอบคำขอและชื่อสกุลที่ขอเปลี่ยนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
  3. หากได้รับการอนุมัติ นายทะเบียนท้องที่จะออกหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล (แบบ ช.2) ให้เป็นหลักฐานและเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 100 บาท
  4. เมื่อได้รับหนังสือสำคัญแล้ว ให้ดำเนินการเปลี่ยนนามสกุลลูกบนเอกสารสำคัญต่าง ๆ

หากเปลี่ยนนามสกุลลูก กรณีหย่าร้างกันแล้ว (อำนาจการปกครองอยู่ที่แม่)

ในกรณีที่คุณพ่อคุณแม่ได้ทำการหย่าร้างกันแล้ว และอำนาจการปกครองบุตรอยู่ที่คุณแม่ คุณพ่อจะไม่สามารถยื่นคำร้องเพื่อขอเปลี่ยนนามสกุลลูกได้ นอกจากว่าจะได้รับความยินยอมจากผู้เป็นแม่ แต่ถ้าหากอำนาจการปกครองบุตรอยู่ที่คุณพ่อ คุณพ่อก็สามารถที่จะดำเนินการยื่นคำร้องด้วยตนเองได้เลย

โดยขั้นตอนการเปลี่ยนนามสกุลลูก มีดังนี้

  1. ผู้ดำเนินการแทนผู้เยาว์ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ลูกมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
  2. นายทะเบียนท้องที่ตรวจสอบคำขอและชื่อสกุลที่ขอเปลี่ยนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
  3. หากได้รับการอนุมัติ นายทะเบียนท้องที่จะออกหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล (แบบ ช.2) ให้เป็นหลักฐานและเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 100 บาท
  4. เมื่อได้รับหนังสือสำคัญแล้ว ให้ดำเนินการเปลี่ยนนามสกุลลูกบนเอกสารสำคัญต่าง ๆ

เปลี่ยนนามสกุล ในกรณีที่ยังไม่ได้จดทะเบียนหย่า

หากพ่อแม่ยังไม่ได้จดทะเบียนหย่า มารดาสามารถใช้อำนาจปกครองทำการแทนบุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ เพื่อขอแก้ชื่อสกุลของบิดาไปใช้ชื่อสกุลของมารดาได้ โดยไม่ต้องให้บิดาไปบันทึกปากคำเพื่อบันทึกความยินยอมแต่อย่างใด โดยปฏิบัติตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท ๐๔๐๒/ว ๑๓๐๓ ลงวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๒๗

การเปลี่ยนนามสกุลลูก กรณีคุณแม่ต้องการให้เปลี่ยนนามสกุลตามสามีใหม่

ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๕๖๑ บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดาในกรณีที่บิดาไม่ปรากฏ บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของมารดา กรณีนี้ คุณแม่สามารถยื่นคำร้องขอเปลี่ยนชื่อสกุล ให้กับบุตรที่เกิดจากสามีเก่าที่มิได้จดทะเบียนสมรสกันมาใช้ชื่อสกุล

ของมารดา (นามสกุลเดิมของมารดาได้) ในกรณีที่แม่มีความประสงค์จะให้บุตรที่เกิดจากสามีเก่า ใช้ชื่อสกุลของสามีใหม่มี ๒ กรณี คือ

  1. ให้สามีใหม่รับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม
  2. การใช้ชื่อสกุลร่วมกับเจ้าของชื่อสกุล (การเป็นเจ้าของชื่อสกุลต้องมีหนังสือแสดงการจดทะเบียน ชื่อสกุล ช.๒ มาแสดงต่อหน้านายทะเบียน) มารดาสามารถยื่นคำร้อง ให้บุตรใช้ชื่อสกุลร่วมกับเจ้าของชื่อสกุลได้
พ่อแม่หย่าร้าง เปลี่ยน นามสกุล ลูก ใช้ เอกสาร อะไร บ้าง
พ่อแม่หย่าร้าง เปลี่ยน นามสกุล ลูก ใช้ เอกสาร อะไร บ้าง

การเปลี่ยนชื่อ นามสกุล ไม่สามารถเปลี่ยนนอกเขตได้ (เคล็ดลับวิธีแก้เมื่อไม่อยากกลับภูมิลำเนา)

วิธีแก้ไขการ เปลี่ยนชื่อนอกเขต

หากคุณต้องการเปลี่ยนชื่อ นามสกุล แต่มีภูมิลำเนาอยู่ไกลจากที่อาศัยในปัจจุบัน เช่น มาทำงานในกรุงเทพฯ แต่มีภูมิลำเนา ชื่อในทะเบียนบ้านที่ต่างจังหวัด ทำให้ไม่อยากเดินทางเพื่อไปขอเปลี่ยนชื่อ นามสกุล ให้เราหาเพื่อน ญาติ ครอบครัว คนรู้จัก หรือใครก็ได้ที่สามารถขอความช่วยเหลือจากเขา ให้เราย้ายทะเบียนบ้านไปยังจังหวัดที่เราสะดวกที่ต้องการเปลี่ยนชื่อ นามสกุล เพราะสามารถย้ายชื่อมาทะเบียนบ้านปลายทางได้ จากนั้นจะสามารถขอเปลี่ยนชื่อได้ที่ว่าการอำเภอนั้นทันที เมื่อเปลี่ยนชื่อเสร็จก็ให้ย้ายทะเบียนบ้านกลับไปตามเดิมได้เช่นกัน

หลักฐานที่ใช้ในการย้ายทะเบียนบ้าน

  1. บัตรประชาชน เจ้าของบ้านที่คุณจะย้ายไป + บัตรประชาชนของคุณ
  2. ทะเบียนบ้านที่จะย้ายเข้า
  3. หากเจ้าของบ้านไม่สามารถมาทำได้ สามารถทำหนังสือมอบอำนาจได้ พร้อมแนบเอกสารดังนี้
    • สำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบบอำนาจ (เจ้าบ้าน)
    • สำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
    • ค่าธรรมเนียม 20 บาท

หลังจากย้ายทะเบียนบ้านไปยังปลายทางสำเร็จแล้ว คุณสามารถแจ้งเปลี่ยนชื่อ นามสกุลได้ทันที!

ข้อมูลอ้างอิงจาก https://www.bora.dopa.go.th/https://th.wikipedia.org/https://kawtung.com/https://www.enfababy.com

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

เปลี่ยนนามสกุลลูก หลังหย่า/แยกทาง ทำได้ไหม อย่างไร?

เปลี่ยนนามสกุลลูก กลับมาใช้นามสกุลของแม่ทำอย่างไร?

สามีเป็นหมัน เธอจึงอยากหย่า แต่เมื่อรู้ความจริงถึงกับอึ้งจนพูดไม่ออก

สวนสนุก น่าเที่ยวในไทย รวมที่สุด น่าตื่นเต้นห้ามพลาด!

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up