ค่าทดแทนในการผิดสัญญาหมั้น
1.ค่าทดแทนความเสียหาย ต่อร่างกายของอีกฝ่าย
2.ค่าทดแทนความเสียหาย ต่อชื่อเสียงของอีกฝ่าย
3.ค่าทดแทนความเสียหาย ในการใช้จ่าย หรือตกเป็นลูกหนี้ เนื่องจากการเตรียมการแต่งงานตามสมควร
4.ค่าทดแทนความเสียหาย ในกรณีที่ได้จัดการทรัพย์สิน ด้วยความคาดหมายว่าจะได้แต่งงาน
5.ค่าทดแทนความเสียหาย ในการจัดการด้านต่างๆ เกี่ยวกับอาชีพ หรือการทำมาหากิน ด้วยความคาดหมายว่าจะได้แต่งงาน
ค่าทดแทนในกรณีเสมือนผิดสัญญาหมั้น
1.ชายคู่หมั้น มีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากชายอื่นที่ร่วมประเวณีกับฝ่ายหญิงคู่หมั้น โดยรู้ว่าฝ่ายหญิงนั้นมีคู่หมั้นแล้ว ซึ่งจะเรียกค่าทดแทนได้ต่อเมื่อบอกเลิกสัญญาหมั้น
2.ชายคู่หมั้น มีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากชายอื่นที่ข่มขืน หรือพยายามข่มขืนฝ่ายหญิงคู่หมั้น โดยรู้ว่าฝ่ายหญิงมีคู่หมั้นแล้ว โดยไม่จำเป็นต้องบอกเลิกสัญญาหมั้น
สัญญาหมั้นจะสิ้นสุดเมื่อ
1.ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิต
2.ถอนหมั้นโดยสมัครใจทั้ง 2 ฝ่าย โดยฝ่ายหญิงต้องคืนของหมั้น และสินสอดแก่ฝ่ายชาย แล้วแต่ตกลงกัน
3.ถอนหมั้นโดยอ้างเหตุผลตามกฎหมาย เช่น ฝ่ายชาย หรือฝ่ายหญิงไม่สมควรแต่งงานกับอีกฝ่ายหนึ่ง คู่หมั้นมีการกระทำชั่ว อย่างร้ายแรง ซึ่งได้กระทำหลังจากการหมั้น โดยกฎหมายถือว่าผิดสัญญา และกรณีเกิดจากในทางประเวณีกับฝ่ายหญิงคู่หมั้น
เครดิต: มติชนออนไลน์, มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว
อ่านเพิ่มเติม คลิก!!
กระทรวงสาธารณสุข ชวนคนไทยมีลูกเพื่อชาติ
4 กับดักชีวิตคู่ ทำลาย “ความสุข-ความสำเร็จ” ของลูก
กฎหมายภาษีฉบับใหม่ เพิ่มสิทธิลดหย่อนสามี-ภรรยา และลูก เป็น 2 เท่า
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่