เรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัวเป็นเรื่องละเอียดอ่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่าง พ่อ แม่ และลูก ซึ่งมีความสำคัญตั้งแต่แรกเกิด ก่อให้เกิด สิทธิการเลี้ยงดูลูก และหน้าที่ทั้งในทางกฎหมายและในทางปฏิบัติระหว่างกันและกันมากมาย
และที่น่าจะเป็นปัญหามากที่สุดในสังคมตอนนี้ก็ คือ สิทธิการเลี้ยงดูบุตร เนื่องจากยุคสมัยได้เปลี่ยนไปบางครอบครัวจดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมาย ในขณะเดียวกันก็มีหลายครอบครัวที่สามีภรรยาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ดังนั้น เมื่อมีลูกจึงเกิดปัญหาว่าใครเป็นผู้มีสิทธิในการดูแลลูก
สิทธิการเลี้ยงดูลูก
-
กรณีที่เกิดปัญหาเกี่ยวกับสิทธิในการดูแลบุตรมากที่สุด คือ “ในกรณีเด็กเกิดจากพ่อแม่ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน”
เมื่อคุณแม่ต้องกลายเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว กฎหมายที่นำมาบังคับใช้เกี่ยวกับเรื่องสิทธิในการดูแลบุตรได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งในกรณีนี้สิทธิของมารดากฎหมายกำหนดไว้อย่างชัดเจนในมาตรา 1546 ว่า
เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น หมายความว่า ในกรณีที่หญิงไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับชายแต่เกิดตั้งครรภ์และคลอดบุตรออกมา เด็กที่เกิดนี้ถือว่า เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้นแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น ถือเป็นหลักที่ว่าบุตรเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของมารดาเสมอไม่ว่าในกรณีใด ๆ ก็ตาม
*ตรงกันข้ามกับการเป็นบิดาของเด็กที่เกิดโดยบิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องพิสูจน์และมีปัญหายุ่งยากในการพิสูจน์
ซึ่งการทำให้เด็กที่เกิดนอกสมรสกลายเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้เป็นพ่อนั้น ตามมาตรา 1547 กำหนดว่า เด็กที่เกิดจากพ่อแม่ที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อคุณพ่อคุณแม่ได้สมรสกันในภายหลัง หรือผู้เป็นพ่อได้จดทะเบียนว่าเป็นลูก หรือศาลพิพากษาว่าเป็นลูกของตน
หมายความว่า เด็กที่เกิดจากแม่ที่ไม่ได้สมรสกับพ่อนั้นให้ถือว่า เป็นลูกที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้เป็นแม่แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น แม้พ่อจะมาอยู่กินกันฉันสามีภรรยากับแม่โดยเปิดเผยก็ไม่ถือว่าเป็นพ่อโดยชอบด้วยกฎหมาย
ผู้เป็นพ่อสามารถนำเด็กมาเลี้ยงไว้เองได้หรือไม่?
เมื่อแม่เป็นแม่ที่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนพ่อเป็นพ่อนอกกฎหมาย ดังนั้น แม่จึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองลูกได้แต่เพียงผู้เดียว มีสิทธิที่จำกำหนดที่อยู่ของลูก และสิทธิที่จะเรียกลูกคืนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิที่จะกักลูกไว้ ซึ่งรวมถึงพ่อนอกกฎหมายด้วย แต่ตามมาตรา 1566 เด็กซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของพ่อแม่ อำนาจปกครองอยู่กับพ่อหรือแม่ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) แม่หรือพ่อ เสียชีวิต
(2) ไม่แน่นอนว่าแม่หรือพ่อ มีชีวิตอยู่หรือตาย
(3) แม่ หรือ พ่อ ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
(4) แม่ หรือ พ่อ ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะจิตฟั่นเฟือน
(5) ศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่กับพ่อหรือแม่
(6) พ่อและแม่ตกลงกันตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ตกลงกันได้
และตามมาตรา 1567 ผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิ
(1) กำหนดที่อยู่ของบุตร
(2) ทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน
(3) ให้บุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป
(4) เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
แต่หากว่าผู้เป็นแม่ได้สิทธิในเลี้ยงดูบุตรโดยชอบธรรมแล้ว ต้องการฟ้องร้องเรียกค่าเลี้ยงดูจากผู้เป็นพ่อที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันนั้นจะสามารถทำได้หรือไม่อย่างไร >> คลิกอ่านต่อหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่